ความพึงพอใจด้านเพศสัมพันธ์ของผู้ป่วยที่มีรอยโรคไขสันหลัง

Authors

  • วันรัฐ ตั้งกิจวานิชย์ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • เอกสิทธิ์ ภู่ศิริภิญโญ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ณัฐเศรษฐ มนิมนากร ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Keywords:

รอยโรคที่ไขสันหลัง, ความพึงพอใจ, ชีวิตทางเพศ, spinal cord lesion, satisfaction, sex life

Abstract

Satisfaction in Sexual Life of Patients with Spinal Cord Lesions

Tangkitwanitch W, Poosiripinyo E, Manimnakorn N.

Department of Rehabilitation Medicine, Faculty of Medicine, Khonkaen University.

Objectives: To study satisfaction in sexual life of patients with spinal cord lesions

Study design: Descriptive study

Setting: Physical Medicine and Rehabilitation (PM&R) outpatient clinic and Rehabilitation Ward at Srinagarind Hospital

Subjects: Patients with spinal cord lesion who were admitted at PM&R from February to August 2009

Methods: Sixty participants were recruited in this study. The data was collected by interview using a sexual life satisfaction questionnaire.

Results: There were 60 patients: 42 males (70%), 18 females (30%); mean age of 42.9 (SD 13.2) years. Sixty percent were paraplegia. Complete lesion was documented in 31.7% of the patients. Seventy percent of patient had spinal cord lesion within the first 5 years. Fifty five percent were married. After spinal cord lesion, 41.4% had loss of libido, 64.4% could not respond to their sexual desire. Regarding sexual satisfaction, 43.1% reported unsatisfied, followed by 32.8% of moderately satisfied and 15.5% of quite dissatisfied. Obstacles of sexual activity were muscle weakness (35%) and spasticity (10%). Urinary incontinence and neuropathic pain were equally accounted for 5% of sexual hinder. Besides, 80% of the patients did not consult medical personnel when they had sexual problems. The main reason was embarrassment (44.4%).

Conclusion: Most patients with spinal cord lesion reported unsatisfied in sexual life. They perceived that major obstacle of sexual activity was muscle weakness.

 

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความพึงพอใจด้านเพศสัมพันธ์ใน ผู้ป่วยที่มีรอยโรคไขสันหลัง

รูปแบบงานวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนา

สถานที่ทำการวิจัย: หอผู้ป่วยเวชศาสตร์ฟื้นฟู รพ.ศรีนครินทร์

กลุ่มประชากร: ผู้ป่วยที่มีรอยโรคไขสันหลังซึ่งเข้ารับการรักษา ที่หอผู้ป่วยและห้องตรวจผู้ป่วยนอกแผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู รพ.ศรีนครินทร์ ตั้งแต่กุมภาพันธ์-สิงหาคม 2552

วิธีการศึกษา: เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์โดยใช้แบบ สอบถามความพึงพอใจด้านเพศสัมพันธ์

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้งหมด 60 ราย เป็นชาย 42 คน (ร้อยละ 70) หญิง 18 คน (ร้อยละ 30) อายุเฉลี่ย 42.9 (ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน 13.2) ปี ร้อยละ 60 เป็นผู้ป่วยอัมพาตครึ่งล่าง โดยร้อยละ 31.7 เป็นอัมพาตชนิดสมบูรณ์ ร้อยละ 70 มีระยะ เวลาหลังมีรอยโรคไขสันหลังอยู่ในช่วง 5 ปีแรก ร้อยละ 55 มีสถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 41.4 ไม่มีความต้องการทางเพศ หลังจากมีรอยโรคที่ไขสันหลัง ร้อยละ 64.4 ไม่สามารถ ตอบสนองความต้องการทางเพศของตนเองได้ ทั้งนี้ การตอบ สนองทางเพศนั้นส่วนใหญ่ (ร้อยละ 43.1) อยู่ในระดับที่ไม่พอใจ ร้อยละ 32.8 อยู่ในระดับปานกลาง และร้อยละ 15.5 ค่อนข้าง ไม่พอใจ ส่วนอุปสรรคในการประกอบกิจกรรมทางเพศคือการ อ่อนแรงกล้ามเนื้อแขนขา (ร้อยละ 35) อาการเกร็งแขนขา (ร้อยละ 10) ปัญหาเรื่องควบคุมปัสสาวะไม่ได้และปวดแสบร้อน (ร้อยละ 5 เท่ากัน) เมื่อมีปัญหาทางเพศผู้ป่วย ร้อยละ 80 ไม่สามารถปรึกษาบุคลากรทางการแพทย์ได้ โดยเหตุผลหลัก คือเขินอาย (ร้อยละ 44.4)

สรุป: ความพึงพอใจในการมีเพศสัมพันธ์ของผู้ป่วยที่มีรอยโรค ที่ไขสันหลังยังอยู่ในระดับที่ไม่พอใจเป็นส่วนใหญ่ และอุปสรรค ที่สำคัญคือการอ่อนแรงกล้ามเนื้อแขนขา

 

Downloads