การปรับตัวทางเพศและความสัมพันธ์กับคู่ในมุมของคู่ชีวิตของ ผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา

Authors

  • รัชวรรณ สุขเสถียร กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
  • เยาวลักษณ์ ไชยพันธ์ กลุ่มการพยาบาล หอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกและข้อ-ฟื้นฟู โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

Keywords:

พฤติกรรมทางเพศ, บาดเจ็บไขสันหลัง, กิจกรรมทางเพศ, คุณภาพชีวิต, ชีวิตคู่, Sexual behavior, spinal cord injuries, quality of life, marriage, spouses

Abstract

Sexual Adjustment and Intimate Relationship of Partners of Spinal Cord Injured Persons in Maharat Nakhon Ratchasima Hospital

Suksathien R and Chaiyaphan Y

*Department of Rehabilitation Medicine,

** Department of Nursing, Rehabilitation Ward; Maharat Nakhon Ratchasima Hospital

Objectives: To assess the sexual adjustment, intimate relationship and factors correlated with sexual activities and satisfaction of partners of spinal cord injured persons.

Study design: Descriptive cross-sectional study

Setting: Out-patient department and rehabilitation ward, Maharat Nakhon Ratchasima hospital

Subjects: Twenty-eight partners of spinal cord injured patients for more than 6 months with stable partner relationship and were in rehabilitation service of Maharat Nakhon Ratchasima hospital during 1st January 2008 to 30th June 2009.

Methods: Questionnaires including sociodermographic data, sexual activity and satisfaction, sexual function, sexual behavior, psychosocial aspect and couple relationship were completed. Quality of life was collected from Thai version of the brief form of the WHO quality of life assessment instrument (WHOQOL-BREF-THAI). The description about spinal cord lesion, complications and bladder-bowel management data were completed by the physiatrists.

Results: Of 28 partners, 96% were main caregivers, 44.4% had no sexual activity after injury, 25.9% engaged in sexual activity at least once a week, 29.2% engaged in intercourse, 70.8% expressed their affection in other ways, 92.3% reported lower sexual desire than before injury, 50% never experienced orgasm, 90% reported that partners had erection problem and 25% had vaginal lubricant problem, 75% considered their partner had lower sexually attractive. Less than half of the subjects (37%) considered sex an important part of their lives, 46.4% concerned their partner sexual enjoyment and 39.3% reported that they had the perception that their partners enjoyed their sexual activities. However, 57.7% satisfied sexual relationship, 88.9% considered their overall relationship to be satisfactory and 76.9% could easily talk about sex with their partners. Only 20% had an idea of getting divorced or separation. The quality of life of the study group was at a medium level in overall and individual domains.

Conclusion: Most of the partners of spinal cord injured patients had problems in sexual adjustment and activities. However, they considered their sexual and overall relationship to be satisfactory. The sexual part seems like less important in the study group.

 

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์:เพื่อศึกษาการปรับตัวทางเพศ ความสัมพันธ์ กับคู่ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับกิจกรรมทางเพศและความ พึงพอใจของคู่ชีวิตของผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง

รูปแบบการวิจัย: การศึกษาเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง

สถานที่ทำการวิจัย: ห้องตรวจผู้ป่วยนอกและ หอผู้ป่วย เวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

กลุ่มประชากร: คู่ชีวิตของผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังจำนวน 28 รายเป็นชาย 6 ราย หญิง 22 ราย ที่มีประวัติเจ็บป่วยไม่น้อยกว่า 6 เดือนและยังใช้ชีวิตคู่ ที่เข้ารับการรักษาที่กลุ่มงานเวชกรรม ฟื้นฟูระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2551 – 30 มิถุนายน 2552

วิธีการศึกษา: เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป กิจกรรมทางเพศและความพึงพอใจ สมรรถภาพ ทางเพศ พฤติกรรมทางเพศ เรื่องที่เกี่ยวข้องกับจิตใจและสังคม ความสัมพันธ์กับคู่ และประเมินคุณภาพชีวิตโดยใช้เครื่องชี้วัด คุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อฉบับภาษาไทย (WHOQOL-BREF-THAI) ส่วนรายละเอียดของการบาด เจ็บไขสันหลัง ภาวะแทรกซ้อน และการดูแลระบบปัสสาวะ รวบรวมจากการประเมินของแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู

ผลการศึกษา: ร้อยละ 96 เป็นผู้ดูแลหลักของผู้ป่วยบาดเจ็บ ไขสันหลัง ร้อยละ 44.4 ไม่มีกิจกรรมทางเพศภายหลังการ เจ็บป่วยของคู่ชีวิต มีเพียงร้อยละ 25.9 ที่มีกิจกรรม ทางเพศอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง กลุ่มศึกษา ร้อยละ 29.2 มีเพศสัมพันธ์ ส่วนร้อยละ 70.8 แสดงออกซึ่งความรักโดยวิธีอื่น ร้อยละ 92.3 มีความต้องการทางเพศลดลง ร้อยละ 50 ไม่เคยถึง จุดสุดยอด ร้อยละ 90 รายงานว่าผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง มีปัญหาอวัยวะเพศชายแข็งตัว ในขณะที่ผู้ป่วยหญิงมีปัญหา น้ำหล่อลื่นช่องคลอดเพียงร้อยละ 25 ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 75) คิดว่าผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังมีเสน่ห์ดึงดูดทางเพศลดลง ภายหลังการบาดเจ็บ ร้อยละ 37 คิดว่าเรื่องเพศเป็นเรื่องสำคัญ ในชีวิต ร้อยละ 46.4 ที่คำนึงถึงความสุขทางเพศของคู่ และ ร้อยละ 39.3 คิดว่าคู่มีความสุขในการมีกิจกรรมทางเพศ อย่างไรก็ตามร้อยละ 57.7 พอใจกับความสัมพันธ์ทางเพศ และร้อยละ 88.9 พอใจกับความสัมพันธ์โดยรวม ร้อยละ 76.9 สามารถพูดคุยเรื่องเพศกับคู่ได้ มีเพียงร้อยละ 20 ที่มีความคิด หย่าร้างหรือแยกกันอยู่ กลุ่มศึกษามีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับ กลาง ๆ ทั้งคะแนนรวมและแยกตามองค์ประกอบ

สรุป: คู่ชีวิตของผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังส่วนใหญ่มีปัญหา การปรับตัวและกิจกรรมทางเพศ อย่างไรก็ตามความสัมพันธ์ ทางเพศและความสัมพันธ์โดยรวมอยู่ในเกณฑ์พอใจ กลุ่มศึกษาส่วนใหญ่คิดว่าเรื่องเพศมีความสำคัญน้อย

Downloads

Issue

Section

Original Article