การศึกษานำร่องผลการฝึกมือและแขนของผู้ป่วยโรคหลอดเลือด สมองเรื้อรังโดยการฝึกด้วยกระจก

Authors

  • จาตุรนต์ บุญพิทักษ์ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • สยาม ทองประเสริฐ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • อภิชนา โฆวินทะ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

โรคหลอดเลือดสมอง, ทักษะการทำงานของมือและแขน, ฟื้นฟู​, stroke, upper extremities motor skills, rehabilitation

Abstract

Mirror Therapy to Improve Hand and Arm Use in Patients with Chronic Stroke: a Pilot Study

Boonpitak J, Tongpasert S, Kovindha A

Department of Rehabilitation Medicine, Faculty of Medicine, Chiang Mai University

Objectives: To evaluate the effectiveness of mirror therapy on dexterity of hand and arm of the affected side in patients with chronic stroke.

Study design: Randomized, assessor-blinded control study

Setting: Outpatient rehabilitation clinic, Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital

Subjects: Patients, more than 6 months after stroke with Brunnstrom motor recovery of arm and hand at least stage 4

Methods: Twelve patients (10 males and 2 females) were randomly allocated into 2 groups. In the control group, the affected upper extremity was trained daily with conventional program for 2 weeks; the study group received additional mirror therapy 30 minutes twice a day. Minnesota manual dexterity test (MMDT) as well as Brunnstrom stages of motor recovery, grip and pinch strength, was evaluated before and after training.

Results: In the study group, the mean of grip and pinch strength, before and after training were 14.88/6.03 and 17.11/6.30 Kg respectively (p = 0.188, p = 0.192); total MMDT time decreased from 222 to 193 sec (p = 0.133). In the control group, the mean of grip and pinch strength, before and after training were 17.17/5.83 and 18.06/6.41 Kg respectively (p = 0.309, p = 0.132); Total MMDT time also decreased from 707 to 368 sec (p = 0.127). However, the differences between pre- and post- training grip and pinch strength and the total MMDT time between the two groups were not significantly different (p = 0.771, p = 0.901, p = 0.761). No change in Brunnstrom stages of motor recovery was found in both groups.

Conclusion: There is insufficient evidence to make firm a conclusion about the effectiveness of the 2-week additional mirror therapy to improve grip and pinch strength and dexterity of the hemiparetic hand of patients with chronic stroke.

 

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินประสิทธิผลของการฝึกด้วยกระจก ต่อความสามารถใช้มือและแขนของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เรื้อรัง

รูปแบบการวิจัย: การศึกษานำร่องแบบสุ่ม โดยการพราง ผู้ประเมิน

สถานที่ทำการวิจัย: ห้องตรวจผู้ป่วยนอกเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

กลุ่มประชากร: ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเรื้อรังที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป มีอาการแสดงของโรคหลอดเลือดสมองนานมากกว่า 6 เดือน และระดับการฟื้นตัวของระบบประสาทสั่งการมือและแขน (Brunnstrom stages of motor recovery) ตั้งแต่ 4 ขึ้นไป

วิธีการศึกษา: แบ่งผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเรื้อรัง 12 คน (ชาย 10 คน หญิง 2 คน) ออกเป็น 2 กลุ่มโดยการสุ่ม กลุ่มควบคุม ได้รับการฝึกแบบดั้งเดิมนาน 2 สัปดาห์ ฝึกต่อเนื่องกันทุกวัน วันละ 2 ชั่วโมง ส่วนกลุ่มทดลองได้รับการฝึกแบบดั้งเดิมร่วมกับ ฝึกโดยใช้กระจกเพิ่มอีก 1 ชั่งโมงต่อวัน ประเมินระดับการฟื้นตัว ของระบบประสาทสั่งการมือและแขน ความแข็งแรงของมือและ นิ้วมือข้างที่อ่อนแรง (grip and pinch strength) และประเมิน ความคล่องแคล่วของการใช้มือและแขนโดย (Minnesota manual dexterity test, MMDT) ก่อนและหลังการฝึก

ผลการศึกษา: กลุ่มทดลองที่ฝึกเพิ่มด้วยกระจกมีค่าเฉลี่ย ความแข็งแรงของมือ/นิ้วมือข้างที่อ่อนแรง ก่อนและหลังการฝึก เท่ากับ 14.88/6.03 และ 17.11/6.30 กิโลกรัม ตามลำดับ (p = 0.188, p = 0.192); เวลาที่ใช้ทำ MMDT ลดลงจาก 222 เป็น 193 วินาที (p = 0.133) ส่วนกลุ่มที่ฝึกแบบดั้งเดิมมีค่าเฉลี่ย ความแข็งแรงของมือ/นิ้วมือข้างที่อ่อนแรง ก่อนและหลังการฝึก เท่ากับ 17.17/5.83 และ 18.06/6.41 กิโลกรัม ตามลำดับ (p = 0.309, p = 0.132); เวลาที่ใช้ทำ MMDT ลดลงจาก 707 เป็น 368 วินาทีเช่นกัน (p = 0.152) เมื่อเปรียบเทียบผลต่างก่อนและ หลังการฝึกพบว่า ทั้งสองกลุ่มมีความแข็งแรงของมือ/นิ้วมือ และความคล่องแคล่วของการใช้มือและแขนเพิ่มขึ้นไม่ต่างกัน (p = 0.771, p = 0.901, p = 0.761) ส่วนการฟื้นตัวของระบบ ประสาทสั่งการมือและแขนคงเดิม

สรุป: การศึกษานำร่องครั้งนี้ไม่สามารถสรุปได้ว่าการเพิ่มการ ฝึกด้วยกระจกเป็นเวลา 2 สัปดาห์ให้กับผู้ป่วยโรคหลอดเลือด สมองเรื้อรัง เพิ่มความสามารถใช้มือและแขนได้แตกต่างกับ การฝึกด้วยวิธีแบบดั้งเดิมอย่างเดียว

Downloads

Issue

Section

Original Article