อุบัติการณ์ผู้ป่วยหลอดเลือดสมองหกล้มหลังการจำหน่ายจากโรงพยาบาล

Authors

  • วีรุฒา โอชา ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ปรีดา อารยาวิชานนท์ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ณัฐเศรษฐ มนิมนากร ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Keywords:

อุบัติการณ์, โรคหลอดเลือดสมอง, การหกล้ม, incidence, stroke, falling

Abstract

Incidence of Falling in Stroke Patients after Discharge

Ocha W, Arayawichanon P, Manimanakorn N

Department of Physical Medicine and Rehabilitation, Faculty of Medicine, Khon Kaen University

Objectives: To determine the incidence and risk factors of falling in stroke patients after discharge from Srinagarind hospital

Study design: Descriptive study

Setting: Medicine and rehabilitation ward at Srinagarind Hospital.

Subjects: Stroke patients who were discharged from medicine or rehabilitation ward from 1 January 2009 to 31 May 2009.

Methods: Patients’ general clinical information, physical examination, Thai Mental State Examination (TMSE), Barthel ADL index (BAI), Hospital Anxiety and Depression Scale (HADS) and Timed Up and Go test (TUG) were assessed and collected. The patients were contacted by telephone at 3-month after discharge to report the occurrence of falling.

Results: Forty-five patients were included: 25 females (55.6%), 20 males (44.4%); average age of 64.5 (SD 12.29) years; 30 patients (66.7%) with cerebral infarction, 4 patients (8.9%) with intracerebral hemorrhage and 11 patients (24.4%) with normal study; 28 patients had right sided weakness (62.2%) and 17 patients had left sided weakness (37.8%). Eight patients fell (17.8%). Inside home is the most common place the patients fell, accounted for 62.5%. All patients fell on day time and there was no major injury reported. Causes of falling were stumbling (50%) and muscle weakness (50%). Besides, the patients who married, impaired in ADL (BAI<75) and had pets in home area had significantly high risk factors of falling (p<0.05). There was no association between falling and underlying condition, history of drug use, muscle tone, cognitive status, activities of daily living, anxiety, depression and balance status. No incidence of falling from bed or wheelchair was reported.

Conclusion: Incidence of falling in stroke patients after discharge was 17.8%. Although the incidence is not high, prevention measure is still important and should be incorporated in the pre-discharge program because of high impact after fall.

 

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อทราบอุบัติการณ์การหกล้มและปัจจัยเสี่ยง ต่อการหกล้มที่เกิดกับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ได้รับการ จำหน่ายจากโรงพยาบาลศรีนครินทร์

รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนา

สถานที่ทำการวิจัย: หอผู้ป่วยอายุรกรรมและเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลศรีนครินทร์

กลุ่มประชากร: ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ได้รับการ จำ หน่ายจากหอผู้ป่วยอายุรกรรมหรือเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในช่วงระยะ เวลาตั้งแต่ 1 ม.ค. 2552 ถึง 31 พ.ค. 2552

วิธีการศึกษา: เก็บข้อมูลจากผู้ป่วย โดยใช้แบบสอบถาม แบ่งเป็นข้อมูลทั่วไปทางคลินิก การตรวจร่างกายและแบบ ทดสอบ Thai Mental State Examination (TMSE), Barthel ADL Index (BAI), Hospital Anxiety and Depression Scale ( HADS) และ Timed Up and Go test (TUG) โดยติดตามข้อมูลการ หกล้มทางโทรศัพท์ภายใน 3 เดือนหลังการจำหน่ายผู้ป่วย กลับบ้าน

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่ทำการศึกษาทั้งหมด 45 ราย ผู้หญิง 25 ราย (ร้อยละ 55.6) ผู้ชาย 20 ราย (ร้อยละ 44.4 ) โดยอายุเฉลี่ย64.5 ปี (ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 12.29) ผลการตรวจทางรังสีเป็น สมองขาดเลือด 30 ราย (ร้อยละ 66.7) เลือดออกในสมอง 4 ราย (ร้อยละ 8.9) และไม่พบความผิดปกติ 11 ราย (ร้อยละ 24.4) มีอาการอ่อนแรงซีกขวา 28 ราย (ร้อยละ 62.2) อ่อนแรงซีกซ้าย 17 ราย (ร้อยละ 37.8) มีผู้ป่วยหกล้มจำนวน 8 ราย (ร้อยละ 17.8) โดยหกล้มนอกบ้านร้อยละ 37.5 หกล้มในบ้านร้อยละ 62.5 ทุกรายหกล้มเวลากลางวันและได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย เช่น มีแผลถลอก โดยร้อยละ 50 มีสาเหตุจากสะดุดสิ่งกีดขวาง และร้อยละ 50 เป็นผลจากกล้ามเนื้ออ่อนแรง นอกจากนี้ สถานภาพคู่ ความสามารถดำเนินชีวิตประจำวันด้วยตัวเองได้ น้อยถึงปานกลาง (คะแนน BAI น้อยกว่า 75) และการมี สัตว์เลี้ยงภายในบริเวณบ้าน เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการหกล้ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)

สรุป: ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีอุบัติการณ์การหกล้มหลัง จากจำหน่ายจากโรงพยาบาลร้อยละ 17.8 แม้อุบัติการณ์การ หกล้มไม่สูงนัก แต่ยังมีความจำเป็นที่ผู้ป่วยต้องได้รับความรู้ เกี่ยวกับแนวทางการป้องกันการหกล้มก่อนจำหน่ายผู้ป่วยออก จากโรงพยาบาล

Downloads

Issue

Section

Original Article