คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่ได้รับขาเทียมระดับเหนือเข่าและใต้เข่า

Authors

  • พัทธ์ปิยา สีระสาพร ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ณัฐเศรษฐ มนิมนากร ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • เอกสิทธิ์ ภู่ศิริภิญโญ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Keywords:

คุณภาพชีวิต, ผู้ป่วยขาขาด, ขาเทียม, Quality of life, amputee, lower limb prosthesis

Abstract

Quality of Life of Trans-femoral and Trans-tibial Amputees after Receiving Prosthesis

Sirasaporn P, Manimmanakorn N, Pusiripinyo E

Department of Physical Medicine and Rehabilitation, Faculty of Medicine, Khon Kaen University

Objectives: To study quality of life (QOL) and factors affecting QOL of trans-femoral and trans-tibial amputees after receiving prosthesis.

Study design: Cross-sectional descriptive study

Setting: Prosthetic & Orthotic Unit, Srinagarind hospital

Subjects: Fifty patients who received trans-femoral or transtibial prosthesis during June 2007 - March 2008

Methods: Subjects were interviewed with a 2-part questionnaire: demographic data and WHOQOL-BREFTHAI

Results: There were 82% males and 18% females with an average age of 42 years old (SD 14.15); 38% trans-femoral and 62% trans-tibial amputees. The average QOL scores of physical, psychological, social relationships, environmental and overall were 22.82 (SD 2.69), 20.52 (SD 2.92), 9.16 (SD 1.96), 24.36 (SD 3.12) and 82.60 (SD 7.22), respectively. These reflected the moderate level of quality of life. Besides, self income affected social relationships QOL score (p = 0.000). Amputees having income less than 5,000 baht per month had better score than those having income 5,000 – 10,000 baht per month. Furthermore, income satisfaction and cause of amputation were significantly related with environmental QOL score (p = 0.030 and 0.010 consecutively). Those with income satisfaction had a higher environmental QOL score than those without satisfaction. Those having amputation due to disease had higher environmental QOL score than those with amputation following a trauma. Those aged 56-65 years old had environmental QOL score higher than those aged 36-45 years old (p = 0.013); and those aged 46-55 years old had significantly higher score than those aged 36-45 years old (p = 0.015).

Conclusion: Trans-femoral and trans-tibial amputees had moderate QOL score which were influenced by self income, income satisfaction, cause of amputation and age.

 

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตและปัจจัยที่มีผลต่อ คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่ได้รับขาเทียมระดับเหนือเข่าและใต้เข่า

รูปแบบการวิจัย: การศึกษาเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง

สถานที่ทำการวิจัย: หน่วยกายอุปกรณ์เสริมและเทียม โรงพยาบาลศรีนครินทร์

กลุ่มประชากร: ผู้ป่วยที่ได้รับขาเทียมระดับเหนือเข่าหรือ ใต้เข่าข้างใดข้างหนึ่งจำนวน 50 คน ในช่วงเดือนมิถุนายน 2550 - มีนาคม 2551

วิธีการศึกษา: ใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูล 2 ส่วน ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป และข้อมูลด้านคุณภาพชีวิต โดยใช้ WHOQOLBREF ฉบับภาษาไทย

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยมีอายุเฉลี่ย 42 ปี (ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 14.15) ร้อยละ 82 เป็นเพศชาย 41 คน ร้อยละ 18 เป็นเพศหญิง 9 คน โดยร้อยละ 38 เป็นระดับเหนือเข่า 19 คน และร้อยละ 62 เป็นระดับใต้เข่า 31 คน ผู้ป่วยมีค่าเฉลี่ยคะแนนคุณภาพชีวิต ด้านร่างกายเท่ากับ 22.82 คะแนน (ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.69) คุณภาพชีวิตด้านจิตใจเท่ากับ 20.52 คะแนน (ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน 2.92) คุณภาพชีวิตด้านความสัมพันธ์ทางสังคมเท่ากับ 9.16 คะแนน (ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.96) คุณภาพชีวิตด้าน สิ่งแวดล้อมเท่ากับ 24.36 คะแนน (ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.12) คุณภาพชีวิตโดยรวมเท่ากับ 82.60 คะแนน (ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน 7.22) โดยคะแนนคุณภาพชีวิตทุกด้านบ่งชี้ว่าผู้ป่วยมี คุณภาพชีวิตระดับกลาง ๆ ส่วนปัจจัยด้านรายได้ตนเองมีความสัมพันธ์กับคะแนนคุณภาพชีวิตด้านสังคม (p = 0.000) โดย กลุ่มที่มีรายได้ตนเอง < 5000 บาทต่อเดือนมีคะแนนคุณภาพ ชีวิตด้านสังคมสูงกว่ากลุ่มที่มีรายได้ตนเอง 5000 - 10000 บาทต่อเดือน ส่วนปัจจัยด้านความเพียงพอต่อรายได้และ สาเหตุการตัดขามีความสัมพันธ์กับคะแนนคุณภาพชีวิตด้านสิ่ง แวดล้อม (p = 0.030 และ 0.010) โดยพบว่า กลุ่มที่รู้สึกว่า รายได้เพียงพอมีคะแนนคุณภาพชีวิตด้านสิ่งแวดล้อมสูงกว่า กลุ่มที่รู้สึกว่าไม่เพียงพอ กลุ่มที่ตัดขาจากโรคมีคะแนนคุณภาพ ชีวิตด้านสิ่งแวดล้อมสูงกว่ากลุ่มที่มีสาเหตุจากอุบัติเหตุ ส่วน ปัจจัยด้านอายุพบว่ากลุ่มอายุ 56-65 ปี มีคะแนนคุณภาพ ชีวิตด้านสิ่งแวดล้อมสูงกว่ากลุ่มอายุ 36-45 ปี (p = 0.013) และกลุ่มอายุ 46-55 ปีมีคะแนนคุณภาพชีวิตด้านสิ่งแวดล้อม สูงกว่ากลุ่มอายุ 36-45 ปี (p = 0.015)

สรุป: คะแนนคุณภาพชีวิตของผู้ที่ได้รับขาเทียมระดับเหนือเข่า และใต้เข่าอยู่ในระดับกลาง ๆ ทั้งหมด โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ คุณภาพชีวิตได้แก่ รายได้ตนเอง รายได้เพียงพอ สาเหตุการ ตัดขา และอายุ 

Downloads