Does a Prototype of an Automatic Mattress Turning Device Work with Various Types of Hospital Mattresses?

ต้นแบบอุปกรณ์เสริมเตียงผู้ป่วยเพื่อช่วยพลิกตัวอัตโนมัติสามารถใช้งานได้กับที่นอนชนิดต่าง ๆ ที่ใช้อยู่จริงในโรงพยาบาลได้หรือไม่?

Authors

  • ณรงค์รัตน์ สวัสติกานนท์
  • กัญญาลักษณ์ อุตรชน
  • อภิชนา โฆวินทะ

Keywords:

ที่นอน, อุปกรณ์พลิกตัว, อุปกรณ์ช่วย, แผลกดทับ, การป้องกัน

Abstract

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการใช้ต้นแบบอุปกรณ์เสริมเตียงผู้ป่วยเพื่อช่วยพลิกตัวอัตโนมัติที่หนุนยกด้านหนึ่งของที่นอนชนิดต่าง ๆ ให้เอียงขึ้นทำมุมเอียง 30 องศา

รูปแบบงานวิจัย: การวิจัยเชิงการทดลองเบื้องต้น

สถานที่ทำการวิจัย: หอผู้ป่วยฟื้นฟูสภาพ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

กลุ่มประชากร: อาสาสมัคร 1 คน ที่มีดรรชนีมวลกาย 20.52 กก./ม2

วิธีการศึกษา: ใช้ต้นแบบอุปกรณ์เสริมเตียงผู้ป่วยทดสอบกับที่นอน 10 ผืน (6 ผืน ทำจากฟองน้ำหรือโพลียูรีเทน และ 4 ผืน ที่ทำจากฟองน้ำ) และใยมะพร้าว) วางส่วนที่เป็นถุงลมของอุปกรณ์ใต้ที่นอนและตั้งค่าเป่าลมเข้า 15 นาที เพื่อให้ถุงลมพองตัวแล้วยกด้านหนึ่งของที่นอนขึ้นเป็นมุมเอียงอย่างน้อย 30 องศาให้อาสาสาสมัครนอนบนที่นอน ใช้แอพพลิเคชั่นในโทรศัพท์มือถือวัดมุมเอียงบนที่นอนบริเวณไหล่และสะโพก นำค่ามุมที่ได้จากการทดสอบกับที่นอนแต่ละผืนมาวิเคราะห์ใช้ Mann-Whitney U test เปรียบเทียบน้ำหนักและความหนาของที่นอน ระหว่างกลุ่มที่มุมเอียงเท่ากับหรือมากกว่า 30 องศา และกลุ่มที่มุมเอียงน้อยกว่า 30 องศา รายงานผลและข้อจำกัด

ผลการศึกษา: ที่นอนทั้งหมดถูกยกขึ้นได้โดยมีค่ามัธยฐานมุมเอียงเท่ากับ 34.0 องศา (พิสัยควอไทล์ 9.88) น้ำหนักที่นอนต่ำสุดคือ 4.4 กก. สูงสด 21.7 กก.ค่ามัธยฐานเท่ากับ 9.25 กก. (พิสัยควอไทล์ 9.23) โดยที่นอนหนัก  21.7 กก. ถูกยกขึ้นได้มุมเอียงน้อยที่สุดคือ 22 องศา ส่วนที่นอนหนัก 4.4 กก. ได้มุมเอียงมากที่สุดคือ 41.5 องศา เมื่อเปรียบระหว่างกลุ่มพบว่ากลุ่มที่มุมเอียงเท่ากับหรือมากกว่า 30 องศา (7 ผืน) มีน้ำหนักที่นอนเฉลี่ยน้อยกว่ากลุ่มที่มุมเอียงน้อยกว่า 30 องศา (3 ผืน) อย่างมีนัยสำคัญ (8.4 กก. และ 7.1 กก., p =0.033) ส่วนความหนาไม่แตกต่างกันระหว่างกลุ่ม

สรุป: ต้นแบบอุปกรณ์เสริมเตียงผู้ป่วยเพื่อช่วยพลิกตัวอัตโนมัติมี ประสิทธิภาพในการยกด้านหนึ่งของที่นอนขึ้นได้มุมเอียงประมาณ 30 องศา ทั้งนี้ ผู้ใช้ต้องตระหนักถึงน้ำหนักที่นอนที่จำกัดประสิทธิภาพในการพลิกตัวผู้ป่วยเพื่อป้องกันแผลกดทับขณะนอน

References

1. Kammuang-lue P, Kovindha A. A 3-year retrospective study on total admission charge of spinal cord injured patients with pressure ulcer at Rehabilitation Ward, Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital. J Thai Rehabil Med. 2012;22:58-63.
2. Kovindha A, Kammuang-Lue P, Prakongsai P, Wongphan T. Prevalence of pressure ulcers in Thai wheelchair users with chronic spinal cord injuries. Spinal Cord. 2015;53:767-71.
3. Kovindha A. Spinal cord injuries in Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital: 5 years retrospective study. Chiang Mai Med Bull. 1985;24:179-85.
4. Kovindha A. A retrospective study of spinal cord injuries at Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital during 1985-1991. Chiang Mai Med Bull. 1993;32:85-92.
5. Exton-Smith AN, Sherwin RW. The prevention of pressure sores: significance of spontaneous bodily movements. Lancet. 1961; 278:1124-6.
6. National Pressure Ulcer Advisory Panel, European Pressure Ulcer Advisory Panel and Pan Pacific Pressure Injury Alliance. Prevention and treatment of pressure ulcers: quick reference guide. In: Haesler E, editor. Osborne Park: Cambridge Media; 2014.
7. Sawattikanon N, Uttrarachon K, Pongvuthithum R, Sucharitakul T, Rangsri W. A prototype of automatic mattress turning device for pressure ulcer prevention Short technical report. J Assoc Med Sci. 2019;52:88-91.
8. Uttrarachon K, Sawattikanon N, Kovindha A. A new automatic mattress turning device: a study on interface pressure at bony prominences in normal subjects. Abtract book poster presentation. The 57th ISCOS conference; 13-15 September 2018; ICC Sydney, Australia; 2018. p. 308.

Downloads

Published

2018-12-26