การออกแบบและพัฒนาเครื่องจักรกึ่งอัตโนมัติเพื่อเพิ่มผลิตภาพในกระบวนการลนท่อหุ้มสายไฟ

Main Article Content

เกษรินทร์ พูลทรัพย์
ปรัชญาภรณ์ ด่านพงษ์
อุกฤษฎ์ ปิ่นบัญฑิตทรัพย์
วันชัย ลีลากวีวงศ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดความสูญเปล่าที่และเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการลนท่อหุ้มสายไฟรถยนต์ เนื่องจากกระบวนการลนท่อหุ้มสายไฟเป็นกระบวนการที่มีรอบเวลาในการผลิตสูงที่สุด ไม่มีมาตรฐานในการทำงาน พนักงานเกิดความเมื่อยล้าในการทำงานและมีกระบวนการทำงานที่ซ้ำซ้อน ผู้วิจัยจึงทำการวิเคราะห์ปัญหาและหาแนวทางการแก้ไขโดยการออกแบบเครื่องจักรกึ่งอัตโนมัติ เพื่อช่วยในกระบวนการลนท่อหุ้มสายไฟ โดยคำนึงถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้อง และใช้หลัก Jig and fixture design และประเมินความเสี่ยงของท่าทางในการทำงานโดยเทคนิควิธี RULA หลังการปรับปรุงโดยการใช้เครื่องจักรกึ่งอัตโนมัติในการลนท่อหุ้มสายไฟ ทำให้สามารถลดรอบเวลาการทำงานจากเดิม 23.49 นาที เป็น 19.48 นาที หรือลดลง 17.07% และสามารถเพิ่มผลิตภาพได้ 23.5% และลดความเมื่อยล้าที่เกิดขึ้นก่อนการปรับปรุง จากการวิเคราะห์การประเมินความเสี่ยงของท่าทางในแต่ละส่วนโดยใช้โปรแกรม RULA พบว่าการใช้เครื่องจักรกึ่งอัตโนมัติในการลนท่อหุ้มสายไฟสามารถทำให้ความเสี่ยงลดลงจากเดิมในระดับ 4 หรือท่าทางที่ควรตรวจสอบแก้ไขในทันที ลดลงอยู่ในระดับ 1 หรือท่าทางที่ยอมรับได้ ซึ่งแสดงว่าการใช้เครื่องจักรกึ่งอัตโนมัติในการลนท่อหุ้มสายไฟสามารถช่วยลดความเมื่อยล้าของพนักงานได้

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

กรมการขนส่งทางบก.Transportation Statistics Report [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก

https://www.m-society.go.th/article_attach/19286/20656.pdf.

กวีพล พันธุ์เพ็ง. SCB Economic Intelligence Center (EIC) [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก

https://www.scbeic.com/th/detail/file/product/1514/e6f5k0v5z9/Note_TH_Automotive%20part%20manufacturers_TR_KP_20150714_final_rev2.pdf

ประจวบ กล่อมจิตร. การประเมินและปรับปรุงงานในสถานประกอบการโดยหลักการยศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 1สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2554.

รัชต์วรรณ กาญจนปัญญาคม.การศึกษาการเคลื่อนไหวและเวลา. สำนักพิมพ์ฟิสิกส์เซ็นเตอร์; 2538.

วชิระ มีทอง. การออกแบบจิ๊กและฟิกซ์เจอร์. พิมพ์ครั้งที่ 12. สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น); 2545.