การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความผิดพลาดในการควบคุมหุ่นยนต์แขนกลกึ่งอัตโนมัติ ด้วยตาเปล่า
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อความผิดพลาด (mistake) ในการควบคุมหุ่นยนต์แขนกลกึ่งอัตโนมัติด้วยตาเปล่า ประกอบด้วย ระยะห่างการยืนควบคุม, ตำแหน่งการยืนควบคุม และลักษณะของชิ้นงานและ (2) ศึกษาภาระงาน (Workload) จากการควบคุมโดยมนุษย์ด้วยตาเปล่าในการปฏิบัติงานหยิบวางชิ้นงานเพื่อประกอบ (Pick and Place) การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงทดลองใช้วิธีการคัดเลือกแบบอาสาสมัครจำนวน 10 คนเลือกกลุ่มตัวอย่างจากสมาชิกที่อาสาเข้ามามีส่วนร่วมด้วยความเต็มใจ โดยให้ผู้ทดลองควบคุมหุ่นยนต์ทางเงื่อนไขและปัจจัยที่กำหนดจากนั้นประเมินภาระงานทางจิตใจด้วยประเมิน NASA-TLX ซึ่งผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่าปัจจัยที่มีผลต่อความผิดพลาดในการควบคุมหุ่นยนต์มากที่สุดคือลักษณะของชิ้นงาน รองลงมาคือระยะห่างของการควบคุม โดยผลการทดสอบได้แสดงให้เห็นว่าการหยิบวางชิ้นงานที่ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมจะเกิดความผิดพลาดในการทำงานมากที่สุดและการหยิบวางชิ้นงานที่ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมยังส่งผลให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดภาระงานทางจิตใจสูงที่สุด
Article Details
References
ภัทรวุธ สุภามา. การออกแบบระบบหุ่นยนต์เดลต้าแบบสามองศาอิสระสำหรับทำงานกำหนด ตำแหน่งหมุดร่วมกับมนุษย์ในเวลาจริง [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2554.
International Federation of Robotics (IFR). Welcome to the IFR Press Conference 24th September 2020 [Internet]. 2020 [cited 2021 June 25]. Available from: https://ifr.org/downloads/press2018/Presentation_WR_2020.pdf
GualtierI L, Rauch Erwin, Vidoni R. Emerging research fields in safety and ergonomics in industrial collaborative robotics: A systematic literature review. Robot Comput Integr Manuf 2021;67:101998.
Kagermann H, Wahlster W, Helbig J. Recommendations for implementing the strategic initiative Industrie 4.0: Final report of the Industrie 4.0 Working Group. Berlin: Forschungsunion; 2013 [cited 2021 June 25]. Available from: https://www.din.de/blob/76902/e8cac883f42bf28536e7e8165993f1fd/recommendations-for implementing-industry-4-0-data.pdf
ABB [Internet]. 2020 [cited 2021 June 25]. Available from: https://new.abb.com
บุญธรรม ภัทราจารุกุล. หุ่นยนต์อุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น; 2556.
กิตติ อินทรานนท์. การยศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2548.
Memar AH, Esfahani ET. Objective assessment of human workload in physical human-robot cooperation using brain monitoring. ACM Trans Hum-Robot Interact 2019;9(2):1-21.
Santibanez V, Kelly R. A class of nonlinear PID global regulators for robot manipulators. Proceedings. 1998 IEEE International Conference on Robotics and Automation (Cat. No.98CH36146) 1998;4:3601-6.
Liu Y, Zhang B, Fu B, Yang R. Predictive control for robot arm teleoperation. IECON 2013-39th Annual Conference of the IEEE Industrial Electronics Society. 2013:3693-8.
Alavandar S, Nigam MJ. Fuzzy PD+ I control of a six DOF robot manipulator. Industrial Robot 2008;35(2):125-32.
Chaudhary H, Panwar V, Sukavanum N, Prasad R. Fuzzy PD+ I based hybrid force/position control of an industrial robot manipulator. IFAC Proceedings Volumes 2014;47(1):429-36.
Slotine JE, Weiping L. Adaptive manipulator control: A case study. IEEE transactions on automatic control. 1988;33(11): 995-1003.
Chen CL, Lin CJ. A sliding mode control approach to robotic tracking problem. IFAC Proceedings Volumes 2002;35(1):55-9.
Braikia K, Chettouh M, Tondu B, Acco P, Hamerlain M. Improved control strategy of 2-sliding controls applied to a flexible robot arm. Adv Robot 2011;25(11-12):1515-38.
พงศกร รูปใหญ่, เบญจมาศ พนมรัตนรักษ์. การลดระยะผิดพลาดจากการเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์แขนกล SEIKO D-TRAN RT3200 โดยใช้การควบคุมแบบทำซ้ำที่ปรับปรุงใหม่. ว. วิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 2561;28(2):299-312.
Arai T, Kato R, Fujita M. Assessment of operator stress induced by robot collaboration in assembly. CIRP annals. 2010;59(1):5-8.
Hall E. The hidden dimension. New York: Garden City;1966.