การออกแบบอุปกรณ์ตรวจสอบถังดับเพลิงเคมีแห้งเพื่อลดความเสี่ยง ด้านการยศาสตร์ของผู้ตรวจสอบถังดับเพลิง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ: ถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้งจำเป็นต้องตรวจสอบความพร้อมการใช้งาน โดยในแต่ละครั้งพนักงานตรวจสอบต้องทำการยกพลิกกลับถังทุกครั้งเพื่อให้สารเคมีในตัวถังเคลื่อนตัว ป้องกันการจับตัวเป็นก้อน ซึ่งทำให้ไม่สามารถใช้งานได้เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ ถังดับเพลิงมีน้ำหนักประมาณ 12.9 กิโลกรัม การตรวจสอบโดยยกพลิกกลับถัง 2 ครั้งเป็นเวลา 2 นาที/ครั้ง/ถัง มีท่าทางการยกพลิกกลับถังขึ้นเหนือไหล่ แนบหูเพื่อฟังการไหลของสารเคมีภายในถังหรือใช้ฝ่ามือสัมผัสเพื่อรับทราบการไหลของสารเคมีภายในถัง จากแบบสำรวจและสอบถาม “The Questionnaire Know Body” ในสัดส่วนคอ และไหล่ด้านซ้ายรวมถึงคอ ไหล่ แขนท่อนบน และแขนท่อนล่างด้านขวาพบความเมื่อยล้าของพนักงานรักษาความปลอดภัยทั้ง 12 คนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ผลกระทบจากการตรวจสอบถังดับเพลิงเป็นปัญหาสุขภาพทางด้านการยศาสตร์ จึงประเมินความเสี่ยงท่าทางโดยวิธี Rapid Entire Body Assessment (REBA) พร้อมนำผลการประเมินความเสี่ยงมาพิจารณาออกแบบปรับปรุงและแก้ไขท่าทางการทำงาน ได้ “อุปกรณ์ตรวจสอบถังดับเพลิงเคมีแห้ง” เพื่อลดความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ของผู้ตรวจสอบถังดับเพลิงทดลองใช้งานและประเมินความเสี่ยงโดย REBA ซ้ำหลังการปรับปรุงมีผลจาก Risk score 13 เหลือเพียง 3 รวมถึงผลตอบรับในการทดลองใช้งาน ปรากฎว่ามีความต้องการขยายผลในการติดตั้งอุปกรณ์ใหม่นี้เพิ่มขึ้น ในการติดตั้งอุปกรณ์ใหม่นี้ประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลัก อุปกรณ์ที่ยึดติดกับผนังช่วยยึดถังให้แน่นกับผนัง รองรับน้ำหนักทั้งหมดของถังโดยไม่ต้องยกถังด้วยมือ ซึ่งจะช่วยลดการออกแรงที่ข้อมือและแขนขณะตรวจสอบถัง อุปกรณ์ที่ยึดติดกับผนังนี้เหมาะสำหรับการใช้งานได้ทั้งมือซ้ายหรือมือขวา แท่นรองรับถังใช้สำหรับการหมุนถังได้อย่างสะดวกโดยใช้แรงที่น้อยมาก ส่วนที่ล็อคตัวถังจะยึดถังให้อยู่กับที่ขณะพลิกถัง
Article Details
References
Serratos-Perez JN, Hernandez-Arellano JL, Negrete-Garcia MC. Task analysis and ergonomic evaluation in camshaft production operations. Procedia Manuf 2015;3:4244-51.
Radin Umar RZ, Ahmad N, Halim I, Lee PY, Hamid M. Design and development of an ergonomic trolley-lifter for sheet metal handling task: a preliminary study. Saf Health Work 2019;10(3):327-35.
Stuart S. Applied ergonomics handbook. Surrey: Butterworths; 1974.
Hassim M, Edwards D. Development of a methodology for assessing inherent occupational health hazards. Process Saf Environ 2006;84(5):387-90.
Enez K, Nalbantoglu S. Comparison of ergonomic risk assessment outputs from OWAS and REBA in forestry timber harvesting. Int J Ind Ergon 2019;70:51-7.
Lee YS, Kang MR, Jung H, Choi SB, Jo KW, Shim TS. Performance of REBA MTB-XDR to detect extensively drug-resistant tuberculosis in an intermediate-burden country. J Infect Chemother 2015;21(5):346-51.
Edwards K, Winkel J. A method for effect modifier assessment (EMA) in ergonomic intervention research. Appl Ergon 2018;72:113-20.
Li M, Ming X, Zheng M, He L, Xu Z. An integrated TRIZ approach for technological process and product innovation. Proc Inst Mech Eng B J Eng Manuf. 2017;231(6):1062-77.
เพลินศักดิ์ อุบลหล้า, เพ็ญสุดา พันฤทธิ์ดํา การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตรงานยกคว่ำเครื่องดับเพลิงแบบยกหิ้วชนิดผงเคมีแหง เพื่อตรวจเช็คคุณภาพผงเคมีภายในถัง. การประชุมทางวิชาการ ครั้งที่ 59 เล่มที่ 2 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2564 หน้า 224-231.