ความชุกของอาการผิดปกติทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อที่เกิดจากการทำงาน ในพนักงานสำนักงาน: การประเมินโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ OSCWE

Main Article Content

ปณัฏฐา อ่านคำเพ็ชร
บุคอรี ปุตสะ

บทคัดย่อ

พนักงานสำนักงานเป็นอาชีพที่ต้องมีการนั่งทำงานโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลายาวนาน มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดอาการผิดปกติทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อที่เกิดจากงานได้ การศึกษาในครั้งนี้ เป็นการศึกษาภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความชุกของอาการผิดปกติทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อที่เกิดจากงานในพนักงานสำนักงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ เพศชายและหญิง จำนวน 86 คน ประเมินโดยใช้แบบสอบถาม Online Self-report Questionnaire on Computer Work-related Exposure (OSCWE) และวิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา ผลการศึกษา พบว่า ความชุกของอาการผิดปกติทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อในระยะ 7 วันที่ผ่านมาของพนักงานสำนักงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ คือตำแหน่ง คอ (ร้อยละ 76.8) ไหล่ (ร้อยละ 62.8) และหลังส่วนล่าง (ร้อยละ 43.1) ส่วนในระยะ 12 เดือนที่ผ่านมา คือตำแหน่งคอ (ร้อยละ 50) ไหล่ (ร้อยละ 44.2) และหลังส่วนล่าง (ร้อยละ 38.5) พนักงานใช้เวลาในการนั่งทำงานนาน 7.06 ชั่วโมงวันต่อวัน และใช้เวลาทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์นาน 7.14 ชั่วโมงต่อวัน ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้อาจใช้เป็นแนวทางในการเฝ้าระวัง วางแผน ส่งเสริมและป้องกันการเกิดอาการผิดปกติทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อในกลุ่มพนักงานสำนักงาน และสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นเพื่อใช้ในการปรับปรุงงานทางการยศาสตร์สำนักงานได้ในอนาคต

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Wu S, He L, Li J, Wang J, Wang S. Visual display terminal use increases the prevalence and risk of work-related musculoskeletal disorders among Chinese office workers: a cross-sectional study. J Occup Health. 2012; 54(1): 34‐43. doi:10.1539/joh.11-0119-oa

กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานการณ์โรคและภัยสุขภาพจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ปี 2561. 2561; หน้า 3-4 [เข้าถึงเมื่อ 19 กันยายน 2562] Available from: http://envocc.ddc.moph.go.th/contents?g=11

Bernard BP, Putz-Anderson V. Musculoskeletal disorders and workplace factors; a critical review of epidemiologic evidence for work-related musculoskeletal disorders of the neck, upper extremity, and low back. 1997.

Valipour Noroozi M, Hajibabaei M, Saki A, Memari Z. Prevalence of Musculoskeletal Disorders Among Office Workers, Jundishapur J Health Sci. 2015; 7(1):e27157. doi: 10.5812/jjhs.27157.

Kuorinka I, Jonsson B, Kilbom A, et al. Standardised Nordic questionnaires for the analysis of musculoskeletal symptoms. Appl Ergon. 1987; 18(3): 233‐237. doi: 10.1016/0003-6870(87)90010-x

Browne CD, Nolan BM, Faithfull DK. Occupational repetition strain injuries. Guidelines for diagnosis and management. Med J Aust. 1984; 140(6): 329‐332.

Mekhora K, Jalayondeja W, Jalayondeja C, Bhuanantanondh P, Dusadiisariyavong A, Upiriyasakul R, Anuraktam K. Online self-report questionnaire on computer work-related exposure (OSCWE): Validity and internal consistency. J Med Assoc Thai. 2014; 97 (Suppl.7): S80-S83

Janwantanakul P, Pensri P, Jiamjarasrangsri V, Sinsongsook T. Prevalence of self-reported musculoskeletal symptoms among office workers. Occup Med (Lond). 2008;58(6):436‐438. doi: 10.1093/occmed/kqn072

Cagnie B, Danneels L, Van Tiggelen D, De Loose V, Cambier D. Individual and work related risk factors for neck pain among office workers: a cross sectional study. Eur Spine J. 2007; 16(5): 679‐686. doi: 10.1007/s00586-006-0269-7

Ariëns GA, Bongers PM, Douwes M, et al. Are neck flexion, neck rotation, and sitting at work risk factors for neck pain? Results of a prospective cohort study. Occup Environ Med. 2001; 58(3): 200‐207. doi: 10.1136/oem.58.3.200

Wahlström J. Ergonomics, musculoskeletal disorders and computer work. Occup Med (Lond). 2005; 55(3): 168‐176. doi: 10.1093/occmed/kqi083