ผลของโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมต่อความเครียดและความผาสุกทางจิตวิญญาณ ของผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย

Main Article Content

สรรสนีย์ จันทรมา
วรวรรณ์ ทิพย์วารีรมย์
ยุวยงค์ จันทรวิจิตร

บทคัดย่อ

ผลของโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมต่อความเครียดและความผาสุกทางจิตวิญญาณ


ของผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย


สรรสนีย์ จันทร์มา*


วรวรรณ ทิพย์วารีรมย์**


ยุวยงค์ จันทรวิจิตร**


บทคัดย่อ


              การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่ม วัดผลก่อนและหลังการทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมต่อความเครียดและความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายเพื่อลดความเครียดและเพิ่มความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสนับสนุนทางสังคมของเฮ้าส์ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลน่าน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง กลุ่มละ 30 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มควบคุม โดยกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติและกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมเป็นเวลา 12 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความผาสุกทางจิตวิญญาณผ่านการตรวจสอบความเที่ยงจากผู้ทรงคุณวุฒิ ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.85 และแบบประเมินความเครียด ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทีคู่และสถิติทีอิสระ


              ผลการวิเคราะห์ พบว่าภายหลังได้รับโปรแกรม กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความเครียดลดลงอย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และมีค่าเฉลี่ยความผาสุกทางจิตวิญญาณหลังการทดลองเพิ่มขึ้นอย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และกลุ่มทดลองมีความเครียดหลังการทดลองต่ำกว่ากลุ่มควบคุมหลังใช้โปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมอย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และมีความเผาสุกทางจิตวิญญาณหลังทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมหลังใช้โปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมอย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001


              ผลการวิจัยเสนอแนะให้นำโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมไปใช้ในการดูแลผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายเพื่อลดความเครียดและเพิ่มความผาสุกทางจิตวิญญาณ


 


คำสำคัญ: ความเครียด ความผาสุกทางจิตวิญญาณ ผู้ดูแล ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย


*นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การพยาบาลเวชปฎิบัติชุมชน) คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร


**ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

Article Details

How to Cite
จันทรมา ส., ทิพย์วารีรมย์ ว. ., & จันทรวิจิตร ย. . (2022). ผลของโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมต่อความเครียดและความผาสุกทางจิตวิญญาณ ของผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย. NU Journal of Nursing and Health Sciences, 16(3), 33–46. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/NurseNu/article/view/255638
บท
บทความวิจัย

References

Boonvas, K., Supanunt, T., Chunhabordee, A., &

Wae, N. (2017). Caregiver stress and needs

in caring disabled. The Southern College

Network Journal of Nursing and Public

Health, 4(3), 205-216. [In Thai].

House, J. S., Kahn, R. L., McLeod, J. D., & Williams,

D. (1985). Measures and concepts of social

support. In S. Cohen & S. L.

Syme (Eds.), Social support and health

(pp. 83108). New York : Academic Press.

Jansen, K. S. E. (2010). Adherence of elderly

patients to antidepressant treatment.

Master thesis. LVR-Klinikum Dsseldorf,

Department Geronto psychiatry.

Sangthongdee, J. (2020). Results of spiritual

well-being care-taking program of Infectivestage cancer patients based on Buddhist

psychology. Journal of Social Science and

Buddhistic Anthropology, 5(4), 336-350.

[In Thai].

Kinawong, S., & Lhoenpetch, P. (2016). Spiritual

happiness of cancer patients at terminal

stage. Chiangrai Medical Journal, 8(2), 1-7.

[In Thai].

Nan Province Hospital. (2020). 43 folders of

medical records. Retrieved 1 August 2018,

from http://www.nanhospital.go.th/. [In Thai].

Office of Policy and Strategy. (2017). Statistics

data of public health. Retrieved 1 August

, from http://bps.moph.go.th/ new_bps.

[In Thai].

Office of the Permanent Secretary Ministry of Public

Health. (2017). Indicators for service excellence.

Retrieved 1 August 2018, from http://bps.moph.

go.th/new_bps/. [In Thai].

Oupra, R., Griffiths, R., Pryor, J., & Mott, S. (2010).

Effectiveness of supportive educative

learning programme on the level of strain

experienced by caregivers of stroke patients

in Thailand. Health & social care in the

community, 18(1), 1020.

https://doi.org/10.1111/j.1365-2524.2009.00865.

Paksee, N., Sriapo-ngam, Y., Monkong, S., &

Leelacharas, S. (2016). Effects of a transitional

care program for stroke patients and family

caregivers on caregiver's preparedness,

stress, adaptation, and satisfaction.

Ramathibodi Nursing Journal, 22(1), 65-80.

[In Thai].

Phrombut, P., Peasue, N., & Sakulhongsophon, S.

(2014). Factors related to stress of family

caregivers of patients with stroke at home.

Ramathibodi Nursing Journal, 20(1), 82-96.

Polit, D. F., & Hungler, B. P. (1999). Nursing

research: Principles and methods.

Philadelphia: Lippincott.

Porter, L. S., Keefe, F. J., Garst, J., Baucom, D. H.,

McBride, C. M., McKee, D. C., … Scipio, C.

(2011). Caregiver-assisted coping skills

training for lung cancer: results of a

randomized clinical trial. Journal of pain and

symptom management, 41(1), 113.

Saengmanee, S., Arpanantikul, M., Sirapo-ngam, Y.

(2012). A case study: Adaptation of a

working caregiver to a stroke patient.

Ramathibodi Nursing Journal, 18(1), 119-133.

[In Thai].

Saensee, R. (2006). Caregivers' needs in providing

home care for persons with Cerebrovascular

Disease, Banthi District, Lamphun Province.

Thesis of Bachelor of Nursing, Chiang Mai

University, Chiang Mai. [In Thai].

Sangthongdee, J. (2020). Spiritual well-being

care-taking program of relatives of end-stage

cancer patient based on Buddhist Psychology.

Journal of Social Science and Buddhistic

Anthropology, 5(4), 336-350. [In Thai].

Semsarn, S., Chaiviboontham, S., & Chansriwong,

P. (2018). Effects of family caregiver training

program on family caregivers and patients

outcomes in terminal care of chronic illness

patients. Thai Journal of Nursing and Mid

wifery Practice, 5(1), 112-126. [In Thai].

Somporn, P., Kittikorn, N., & Luppana, K. (2015).

Impact of a Buddhism-based spiritual

wellbeing promotion programme on the

spiritual wellbeing of family caretakers

responsible for hospitalised advanced

gynaecological cancer patients.

Thai Journal of Nursing Council, 30(1), 16-28.

[In Thai].

Srihaklang, P., & Sasat, S. (2016). The effect of

caregiving skill development and caregiver

support group program on stress in

caregivers of older persons with terminal

stage cancer. Journal of the Police Nurses,

(1), 1-10. [In Thai].

Wonginyoo, A., Prasarnnate, R., & Wongcharee, A.

(2019). The study of stress and burden of

caregivers of stroke patients, Mueang, Udon

Thani. Nursing, Health, and Education

Journal, 2(1), 4049. [In Thai].

World Health Organization. (2017). Cancer. Retrieved

January 2019, from : http://www.who.int/

mediacentre/factsheets/fs297/en/