ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมในการทำงาน กับลักษณะการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลแพร่

Main Article Content

Kunchayarat Udkhammee
Laddawan Daengthern

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษา 1) สภาพแวดล้อมในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลแพร่2) ลักษณะการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลแพร่ และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมในการทำงานกับลักษณะการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพของ พยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลแพร่ กลุ่มตัวอย่างได้แก่พยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลแพร่ จำนวน 206 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายแบบไม่ใส่คืน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม 3 ส่วน ประกอบด้วย 1) ข้อมูลทั่วไป 2) สภาพแวดล้อมในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพและ 3) ลักษณะ การทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพของพยาบาลวิชาชีพ แบบสอบถามทั้งหมดผ่านการตรวจสอบความตรง ตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน มีค่าดัชนีความสอดคล้อง ระหว่าง 0.8 - 1.0 และหาค่าความเที่ยง จากสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบราคของแบบสอบถาม ส่วนที่ 2 และส่วนที่ 3 เท่ากับ 0.95 และ 0.99 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่าสภาพแวดล้อมในการทำงานโดยรวมทุกมิติอยู่ในระดับมาก ( = 3.90, SD = 0.35) ลักษณะการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพโดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก ( = 3.89, SD = 0.44) และ สภาพแวดล้อมในการทำงานมีความสัมพันธ์ทางบวกกับลักษณะการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพของ พยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลแพร่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีค่าความสัมพันธ์อยู่ในระดับ ปานกลาง (r = .689)

Article Details

How to Cite
Udkhammee, K., & Daengthern, L. (2019). ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมในการทำงาน กับลักษณะการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลแพร่. NU Journal of Nursing and Health Sciences, 12(3), 136–145. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/NurseNu/article/view/173263
บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มการพยาบาลโรงพยาบาลแพร่. ( 2559). แผนปฏิบัติการ
กลุ่มการพยาบาล2559.แพร่: โรงพยาบาลแพร่.
งานแผนการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลแพร่.
(2559).แผนปฏิบัติการโรงพยาบาลแพร่
ปี พ.ศ. 2559. โรงพยาบาลแพร่.
จารุนันท์ ศรีจันทร์ดี. Healthy Work Environment For
Nurse. สืบค้น 12 กันยายน 2560, จาก http://
www.si.mahidol.ac.th/Th/division/nursing/
NDivision/NHR/admin/download_files/
69_73_1.pdf.
นิตยา ศรีญาณลักษณ์. (2552). การบริหารการพยาบาล
(พิมพ์ครั้งที่3). นนทบุรี : บริษัท ธนาเพรส จำกัด.
ปรางทิพย์ อุจรัตน, สิริรัตน์ ฉัตรชัยสุชา และณัฐสุรางค์
บุญจันทร์. (2553). ทักษะพื้นฐานทางการพยาบาล.
พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพฯ: พิมพ์ลักษณ์การพิมพ์.
พิสมัย แจ้งสุทธิวรวัฒน์. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่าง
สภาพแวดล้อมในการทำงานพฤติกรรมการ
แสดงออกที่เหมาะสม และการทำงานเป็นทีมของ
พยาบาลประจำการ โรงพยาบาลทั่วไปเขต
ภาคกลาง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต
สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รัตน์ศิริ ทาโต. (2552). การวิจัยทางการพยาบาลศาสตร์:
แนวคิดสู่การประยุกต์ใช้ (พิมพ์ครั้งที่ 2).
กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วรางคณา สิริปูชกะ และยุพิน อังสุโรจน์. (2550).
ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัย
จูงใจ สภาพแวดล้อมในการทำงานกับการปฏิบัติ
กิจกรรมการพัฒนาตนเองของพยาบาลประจำการ
โรงพยาบาลของรัฐ เขตกรุงเทพมหานคร.
วารสารประชากรศาสตร์ 23(1):31-47.
วราภรณ์ ช่างยา. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างการ
รับรูค้ วามเสี่ยงการสนับสนุนจากหัวหนา้ หอผูป้ ว่ ย
สภาพแวดล้อมในการทำงานกับพฤติกรรม
ความปลอดภัยในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ
โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ กรุงเทพมหานคร.
วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชา
การบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย
จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
ศูนย์คุณภาพโรงพยาบาลแพร่. (2557). ข้อมูลการพัฒนา
คุณภาพโรงพยาบาลแพร่ 2557. โรงพยาบาลแพร่.
ศูนย์คุณภาพโรงพยาบาลแพร่. (2559). ข้อมูลการพัฒนา
คุณภาพโรงพยาบาลแพร่2559. โรงพยาบาลแพร่.
สภาการพยาบาล. ( 2554) . พระราชบัญญัติวิชาชีพ
การพยาบาลและผดุงครรภ์ พ.ศ. 2558 และที่
แก้ไขเพิ่มเติม. กรุงเทพ : ศิริยอดการพิมพ์.
สถาบันรับรองคุณภาพองค์การมหาชน. (2559). 17th HA
National Forum“คุณภาพทุกลมหายใจ (Enjoy
Quality Every Moment).ศูนย์การประชุม
IMPACT Forum เมืองทองธานี.
อรทัย รุ่งวชิรา. ( 2559). การบริหารจัดการพยาบาล
ในหอผู้ป่วย. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2560,
จาก www.teacher.ssru.ac.th/.../บทที่ %20
5%208/6/59
James., P. T.(2005). Managerial Implications for
Adopting and Implementing an Environmental
Health
Management System within Private Hospitals in
Bangkok. Bangkok University. Bangkok,
Thailand.
Moos, R. (1986). The human context environmental
determinants of behavior. New york: John
Wiley and Sons.
Woodcock, M. (1989). Team development manual.
2nded. Varmant: Gower.