ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดูแลสุขภาพตนเองด้วยการแพทย์ทางเลือกของประชาชน จังหวัดตรัง
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัจจุบันการแพทย์ทางเลือกกลายเป็นตัวเลือกสำคัญในการดูแลสุขภาพของประชาชนจังหวัดตรัง แต่การศึกษาเกี่ยวกับการใช้การแพทย์ทางเลือกของประชาชนในจังหวัดตรังยังมีน้อย ดังนั้นการศึกษาวิจัย เชิงบรรยายแบบหาความสัมพันธ์ครั้งนี้จึงมุ่งเน้น เพื่อศึกษาการดูแลตนเองด้วยการใช้แพทย์ทางเลือก และ วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดูแลตนเองด้วยการแพทย์ทางเลือกของประชาชนในเขตอำเภอเมือง ตรัง จังหวัดตรัง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 381 คน ถูกเลือกแบบเจาะจง โดยใช้เกณฑ์ในการคัดกลุ่มตัวอย่าง คือ มีอายุระหว่าง 30-60 ปี และใช้การแพทย์ทางเลือกในการดูแลสุขภาพเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 ปี ใช้แบบ สอบถามสำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.73 วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติบรรยายไคสแควร์และสหสัมพันธ์แบบอันดับของสเปียร์แมน ผลการศึกษาพบว่า ความถี่ในใช้การแพทย์ทางเลือกของกลุ่มตัวอย่างคือ นาน ๆ ครั้ง วิธีการที่ถูกใช้ มากที่สุดคือ การสวดมนต์ การละหมาด หรือการเข้าโบสถ์ ร้อยละ 99.0 รองลงมาคือการดื่มสมุนไพร ร้อยละ 97.4 และรับประทานอาหารสมุนไพรเพื่อสุขภาพ ร้อยละ 97.1 แต่ไม่เคยใช้ฤๅษีดัดตน ร้อยละ 90.3ในการดูแลสุขภาพของตนเอง ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่าปัจจัยนำ ได้แก่เพศมีความสัมพันธ์ ระดับปานกลางกับการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์ทางเลือกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.01 (Cramer's V = .381)ในขณะที่ระดับการศึกษา (Crammer's V = .242)อาชีพ(Crammer'sV = .234) และภาวะสุขภาพใน ปัจจุบัน (Crammer's V = .230) มีความสัมพันธ์ในระดับต่ำส่วนปัจจัยนำด้านความรู้ (Spearman's Rho = .255, p <.01) และการรับรู้ประโยชน์ (Spearman's Rho = .104, p < .05) มีความสัมพันธ์กับการดูแลตนเอง ด้วยการแพทย์ทางเลือกเช่นเดียวกัน
Article Details
References
กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองด้วยการ
แพทย์แผนไทยของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏ
สวนสุนันทา.กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัย
ราชภัฏสวนสุนันทาสถาบันวิจัยและพัฒนา.
ปทิตตา จารุวรรณชัย และกฤช จรินโท. (2558).
คุณลักษณะของผู้ใช้การแพทย์ทางเลือกใน
โรงพยาบาลของรัฐ. วารสารบัณฑิตศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรม
ราชูปถัมภ์, 9(2), 73-84.
เพ็ญจันทร์ ประดับมุข-เซอร์เรอร์ และพีระพงศ์
วงศ์อุปราช. (2553). การศึกษาพฤติกรรมการใช้
การแพทย์ ทางเลือกของคนไทย. ในสำนักงาน
ข้อมูลและคลังความรู้กรมการแพทย์แผนไทย
และการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข.
รายงานสถานการณ์การแพทย์แผนไทย
การแพทย์พื้นบ้าน และ การแพทย์ทางเลือก
ประจำปี 2550-2552 (หน้า 69-82). กรุงเทพฯ:
สามเจริญพาณิชย์
เยาวภา ปฐมศิริกุล โชติรัส ชวนิชย์ และเริ่ม ใสแจ่ม.
(2557).พฤติกรรมด้านสุขภาพและปัจจัย
จิตวิทยาที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการ
ด้านสุขภาพด้วยวิธีการแพทย์ทางเลือกของ
ลูกค้าโรงพยาบาลบ้านนา จังหวัดนครนายก.
วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา
(สาขามนุษยศาสตร์แลสังคมศาสตร์), 6(11),
149-162
ศุภสิทธิ์ พรรณนารุโณทัย. (2559). การแพทย์แผนไทย
และการแพทย์ทางเลือก: ขนาดและผลกระทบ.
วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 10(2), 101-102
สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข.
(2554). การสาธารณสุขไทย 2551-2553. นนทบุรี:
โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). รายงานการสำรวจ
อนามัยและสวัสดิการ พ.ศ. 2558. กรุงเทพ
มหานคร: สำนักงานสถิติพยากรณ์.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2559). รายงานการสำรวจ
อนามัยและสวัสดิการ พ.ศ. 2558. กรุงเทพ
มหานคร: สำนักงานสถิติพยากรณ์.
สำนักวิชาการ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและ
การแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข.
(2553). รายงานการสาธารณสุขไทยด้านการ
แพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์
ทางเลือก.นนทบุรี:โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์
ทหารผ่านศึก
Chunngam, B. &Chanchalor, S. (2013). The knowledge
of Thai herbs among Thai people. IPEDR,
60(10), 44-48. doi:10.7763/IPEDR. 2013. V60.
Fan, K. W. (2005). National Center for Complementary
and Alternative Medicine Website. Journal
of the Medical Library Association, 93(3),
410-412.
Limsatchapanich, S., Sillabutra, J. &Nicharojana, L.
O. (2013). Factors related to the use of
complementary and alternative medicine
among people living with HIV/AIDS in
Bangkok, Thailand. Health Science Journal,
7(4), 436-446
Peltzer, K., Pengpid, S., Puckpinyo, A., Yi, S., & Anh,
L. V. (2016). The utilization of traditional,
complementary and alternative medicine for
non-communicable diseases and mental
disorders in health care patients in Cambodia,
Thailand and Vietnam. BMC Complementary
and Alternative Medicine, 16(92), 1-11. doi:
10.1186/s12906-016-1078-0
Sumngern, C.,Azeredo, Z., Subgranon, R., Matos,E.
&Kijjoa, A. (2011). The perception of the
benefits of herbal medicine consumption
among the Thai elderly. J Nutr Health Aging,
15(1), 59-63. doi: 10.1007/s12603-011-0013-9