ผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการลดการสูบบุหรี่ของประชาชน อำเภอบึงสามัคคี จังหวัดกำแพงเพชร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่ม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมเสริม สร้างพลังอำนาจต่อการลดการสูบบุหรี่ของประชาชน อำเภอบึงสามัคคี จังหวัดกำแพงเพชร กลุ่มตัวอย่าง เลือกแบบเจาะจง เป็นเพศชายที่สูบบุหรี่ทุกวัน จับคุ่โดยใช้อายุ และระดับการติดสารนิโคตินแบ่งเป็น กลุ่มทดลอง 20 คน กลุ่มควบคุม 20 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจ โดยใช้กรอบ ตามแนวคิดของ กิ๊บสัน ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การค้นพบสภาพการณ์ 2) การสะท้อนคิดอย่างมี วิจารณญาณ 3) การตัดสินใจเลือกวิธีปฏิบัติกิจกรรมที่เหมาะสม 4) การคงไว้ซึ่งการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับความรู้ตามปกติ เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจ และ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความรู้ แบบประเมินพฤติกรรมการลดการสูบบุหรี่ เครื่องมือ ผ่านการตรวจสอบตความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และแบบประเมินความรู้ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .80 แบบประเมินพฤติกรรมการลดการสูบบุหรี่ มีความเชื่อมั่นเท่ากับ .72 วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบสถิติ Wilcoxon Signed Rank Test และ Mann Whitney U Test ผลการวิจัย พบว่า 1) กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ พฤติกรรมการลดการสูบบุหรี่หลังเข้าร่วม โปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม และ มีค่าเฉลี่ยจำนวนมวนบุหรี่ที่สูบต่อวันหลัง เข้าร่วมโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจต่ำกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และ 2) กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ พฤติกรรมการลดการสูบบุหรี่หลังเข้าร่วมโปรแกรมเสริมสร้าง พลังอำนาจสูงกว่ากลุ่มควบคุม และ มีค่าเฉลี่ยจำนวนมวนบุหรี่ที่สูบต่อวันหลังเข้าร่วมโปรแกรมเสริมสร้าง พลังอำนาจต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
Article Details
References
สร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรม (วิทยานิพนธ์
ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). ขอนแก่น:
มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ประกิต วาทีสาธกกิจ. (2552). 50 คำถาม สำหรับผู้สูบบุหรี่
และไม่สูบบุหรี่. กรุงเทพฯ: มูลนิธิรณรงค์
เพื่อการไม่สูบบุหรี่.
รินดา เจวประเสริฐพันธ์ (2556) ผลของโปรแกรม
การเสริมสร้างพลังอำนาจและการให้คำปรึกษา
ต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่และระดับก๊าซ
คาร์บอน มอนนอกไซด์ในลมหายใจของ
ผูสู้บบุหรี่ (วิทยานิพนธป์ ริญญาพยาบาลศาสตร
มหาบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
วันเพ็ญ สุทธิโกมินทร์, รุ่งรัศมี แก้วมั่น, และสิรินันท์
ธิติทรัพย์. (2555). การศึกษาผลการใช้
กระบวนการเสริมพลังอำนาจในการปรับ
เปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของเจ้าหน้าที่ศูนย์
อนามัยที่ 8 นครสวรรค์. . สืบค้นจาก https://www.
gotoknow.org/posts/311177
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2556). สรุปผลการสำรวจ
เบื้องต้นการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และ
การดื่มสุราของพ.ศ. 2556. กรุงเทพ: สำนักงาน
สถิติแห่งชาติ.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). สรุปผลการสำรวจ
เบื้องต้นการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่
และการดื่มสุราของพ.ศ. 2557. กรุงเทพ:
สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกำแพงเพชร (2557).
ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศด้านสาธารณสุข.
สืบค้นจาก https://mis2.kpo.go.th/mis-new/
index.php
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกำแพงเพชร (2558).
การเฝ้าระวังพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับการติด
เชื้อเอช ไอ วี กำแพงเพชร สืบค้นจาก https://
203.157.216.13/aids/BSS.htm
สมศักดิ์ โทจำปา. (2554). ผลของการใช้โปรแกรม
การเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการรับรู้อำนาจ
และพฤติกรรมการควบคุมการสูบบุหรี่ของ
พระภิกษุสงฆ์ (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาล
ศาสตรมหาบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัย
นเรศวร.
อารีย์วรรณ อ่วมตานี. (2554). การเสริมสร้างพลังอำนาจ
ในระบบบริการพยาบาล. ใน ประมวลสาระชุด
วิชาการพยาบาลศักยภาพระบบบริการพยาบาล.
51703 หน่วย 14. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัย
ธรรมาธิราช.
Bloom, B., (1964). Bloom’s taxonomy-earning domains.
Retrieved from http://www. businessballs.com/
bloomstaxonomy/oflearning
Gibson, C. H. (1995). The process of empowerment
in mothers of chronically ill children. Journal of
Advanced Nursing, 21, 1201-1210.
World health Organization. (2012). Fact sheet on
tobacco. Retrieved form https://www.who.int/
topics/tobacco/