ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบันทึกทางการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

Pornthip Kochhirun
Laddawan Daengthoen
Laddawan Daengthoen

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรู้ ทักษะ และทัศนคติในการบันทึกทางการพยาบาล ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดพิษณุโลก กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 116 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบันทึกทางการพยาบาล และแบบสอบถามความรู้ทักษะ และทัศนคติในการบันทึกทางการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรง และความเที่ยงโดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า1. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบันทึกทางการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ คือ ด้านนโยบาย ด้านการนิเทศงาน ด้านอัตรากำลัง และด้านการมอบหมายงาน อยู่ในระดับมาก ( = 4.12, SD. = 0.94, = 4.10,SD. = 0.85, = 4.01, SD. = 0.80, = 3.58, SD. = 1.05 ตามลำดับ)2. ความรู้และทักษะในการบันทึกทางการพยาบาล อยู่ในระดับมาก ( = 16.97, SD. = 6.64และ = 3.79, SD. = 0.69 ตามลำดับ) ส่วนทัศนคติในการบันทึกทางการพยาบาล อยู่ในระดับมากที่สุด( = 4.52, SD. = 0.64)3. ปัจจัยที่มีอิทธิพล ต่อความรู้ ทักษะ และทัศนคติในการบันทึกทางการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ ได้แก่ ปัจจัยด้านนโยบาย สามารถพยากรณ์ ทักษะและทัศนคติในการบันทึกทางการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ
ได้ร้อยละ 9, 13 ตามลำดับ (R2 = .097 , R2 = .133) ปัจจัยด้านการมอบหมายงาน สามารถพยากรณ์ ความรู้ใน การบันทึกทางการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ ได้ร้อยละ 3 ( R2 = .035 )

Article Details

How to Cite
Kochhirun, P., Daengthoen, L., & Daengthoen, L. (2018). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบันทึกทางการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดพิษณุโลก. NU Journal of Nursing and Health Sciences, 11(3), 26–34. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/NurseNu/article/view/112167
บท
บทความวิจัย

References

กฤษดา แสวงดี. (2558). การวัดภาระงานเพื่อการ
จัดอัตรากำลังทางการพยาบาล. สืบค้นเมื่อ 28
สิงหาคม 2558, จาก http://210.1.58.173/usa1/
myjoomla/ acrobat/know/workload.pdf.
กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2545). การบริหารหอผู้ป่วย.
(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ปิ่นเกล้าการพิมพ์.
จรัญญาณี ภูวสันติ. (2548). การพัฒนาการบันทึก
ทางการพยาบาลของพยาบาลประจำการ
แผนกผู้ป่วยในและงานห้องคลอด โรงพยาบาล
ชุมแพ จังหวัดขอนแก่น. การศึกษาอิสระ พย.ม.
การบริหารการพยาบาล. มหาวิทยาลัยขอนแก่น,
ขอนแก่น.
จริดาภรณ์ ธนบัตร และยุพิน อังสุโรจน์. (2543).
ผลการใช้แบบบันทึกการพยาบาลผ่าตัดโดยใช้
กระบวนการพยาบาลต่อประสิทธิภาพการ
บันทึกและการรับรู้คุณค่าของวิชาชีพพยาบาล.
วารสารพยาบาลศาสตร์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย,
13(2), 47-56.
ณิภา แสงกิตติไพบูลย์. (2554). ปัญหาของระบบบันทึก
ทางการพยาบาล ศูนย์มะเร็ง ลพบุรี ใน เอกสาร
การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา
มสธ. ครั้งที่ 1. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2558,
จาก www.stou.ac.th/thai/grad_study/masters.
ดอกเอื้อง แสนสีระ. (2551). การพัฒนากระบวนการ
นิเทศการบันทึกการพยาบาลของโรงพยาบาล
โนนสัง. การศึกษาอิสระ พย.ม., มหาวิทยาลัย
ขอนแก่น, ขอนแก่น.
ธารินี ศิริวัลย์. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่าง
พฤติกรรมการนิเทศการพยาบาลของหัวหน้า
หอผู้ป่วยกับประสิทธิผลการบันทึกการพยาบาล
โรงพยาบาลชุมชนเขต ตรวจราชการสาธารณสุข
ที่ 17. วิทยานิพนธ์ พย.ม., มหาวิทยาลัยสุโขทัย
ธรรมาธิราช, นนทบุรี.
เนตรพัณณา ยาวิราช. (2552). ภาวะผู้นำและผู้นำเชิง
กลยุทธ์. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ : ทริปเพิ้ล กรุ๊ป.
พรศิริ พันธสี. (2553). กระบวนการพยาบาล & แบบแผน
สุขภาพ : การประยุกตใ์ ชท้ างคลินิก. (พิมพค์ รั้งที่ 4).
กรุงเทพฯ: พิมพ์อักษร.
มลฤดี ประสิทธิ์. (2548). ความสัมพันธ์ระหว่างการนิเทศ
การบันทึกการพยาบาลของหัวหน้าหอผู้ป่วย
กับคุณภาพการบันทึกการพยาบาลของพยาบาล
ประจำการ โรงพยาบาลศรีนครินทร์. วิทยานิพนธ์
พย.ม.,มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
รภิญญา วิเชียรพักตร์. (2551). องค์ประกอบปัจจัยในการ
บันทึกพยาบาลที่มีคุณภาพของพยาบาลวิชาชีพ
โรงพยาบาลชุมชน เขต 11. วิทยานิพนธ์ พย.ม.,
มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
เรณู พุกบุญมี. (2552). มายาคติกับการบันทึกทางการ
พยาบาล ใน รายงานการประชุมวิชาการเรื่อง
“บันทึกทางการพยาบาล: สมรรถนะที่สำคัญของ
วิชาชีพ” รุ่นที่ 5. กรุงเทพฯ
วรรณฤดี ภู่ทอง. (2551). การบริหารการพยาบาล.
กรุงเทพฯ : พิทักษ์การพิมพ์.
สภาการพยาบาล. (2552). มาตรฐานการพยาบาลและ
การผดุงครรภ์ 2540. สืบค้นเมื่อ10 กันยายน
2558, จาก http://www.tnc.or.th/law/page-6.html.
สุรีย์ ธรรมิกบวร. (2540). การบันทึกทางการพยาบาล.
(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: นิวเวฟพัฒนา.
สุรีย์ ธรรมิกบวร. (2554). การบันทึกทางการพยาบาล:
คุณภาพของการพยาบาล. สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน
2558, จาก http://www. nurse.ubu.ac.th/sub/
knowledgedetail.
เสาวลักษณ์ จิรธรรมคุณ. (2552). ถามและตอบ : การบริหาร
หอผู้ป่วย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : ฮายาบุสะ
กราฟฟิก.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก. (2558). รายงาน
การประชุมคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพบริการ
พยาบาล จังหวัดพิษณุโลก. พิษณุโลก: สำนักงาน
สาธารณสุขจังหวัด.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สภาการพยาบาล
และสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล
(องค์การมหาชน). (2557). คู่มือแนวทางการ
บันทึกและตรวจประเมินคุณภาพการบันทึก
เวชระเบียน(Medical Record Audit Guideline).
กรุงเทพฯ: ศรีเมืองการพิมพ์.
อารี ชีวเกษมสุข. (2551). กระบวนการพยาบาลและ
การประเมินภาวะสุขภาพ: ทฤษฎีและการปฏิบัติ.
(พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย
สุโขทัยธรรมาธิราช.
Wolter, P. (2011). What factors influence the
prevalence and accuracy of nursing diagnoses
documentation in clinical practice? A
systematic literature review. Journal of Clinical
Nursing, Doi: 10.1111/j, 1-18.