ประสิทธิผลของโปรแกรมการป้องกันโรคไตเรื้อรังในชุมชน อำเภอปางศิลาทอง จังหวัดกำแพงเพชร

Main Article Content

จักรพงษ์ เฮงตระกูลเวนิช
วินัย ลีสมิทธิ์
กังสดาล หาญไพบูลย์
ภูดิท เตชาติวัฒน์

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการชะลอความเสื่อมของไตในผู้ป่วย โรคไตเรื้อรังในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและในชุมชนจัดโดยทีมสหวิชาชีพและรับการสนับสนุน จากคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอประชากรศึกษา คือผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3-4 จำนวน 936 คน ของอำเภอปางศิลาทอง จังหวัดกำแพงเพชร กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 และ 4 ของ อำเภอปางศิลาทองจังหวัดกำแพงเพชร 77 คน แบ่งออกเป็น2 กลุ่ม ได้แก่กลุ่มทดลอง เป็นผู้ป่วยโรคไต เรื้อรังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าขึ้น จำนวน 47 คน และกลุ่มควบคุม เป็นผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองหล่ม จำนวน 30 คน ระยะเวลาวิจัย 6 เดือน ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงตุลาคม 2561 กลุ่มทดลองได้รับบริการตามปกติและมีการอบรมและเยี่ยมบ้านโดยทีมสหวิชาชีพในขณะที่ กลุ่มควบคุมได้รับบริการตามปกติ เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลคือแบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและข้อมูลด้านสุขภาพ แบบทดสอบความรู้ และแบบประเมินพฤติกรรม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ paired t-test ผลการศึกษา พบว่าหลังจบการวิจัยทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม มีค่าเฉลี่ยซีรั่มคริอะตินินเฉลี่ยเพิ่มขึ้น และอัตรากรองไตลดลงอย่างไม่มีนัยทางสถิติ (p > .01) อย่างไรก็ตามกลุ่มทดลองมีช่วงการเปลี่ยนแปลงของระดับซีรั่มคริอะตินินเฉลี่ย และ อัตรากรองไตเฉลี่ยที่ลดลงน้อยกว่ากลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม มีระดับความรู้เฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (p < .01) ทั้งสองกลุ่ม กลุ่มทดลองมีพฤติกรรมป้องกันโรคไต เฉลี่ยดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (p < .01) แต่กลุ่มควบคุมพฤติกรรมการป้องกันโรคไตดีขึ้นอย่างไม่มีนัยสำคัญ (p > .01) จากการวิจัยชี้ให้เห็นว่า การอบรมและเยี่ยมบ้านในระยะสั้นยังไม่สามารถชะลอการเสื่อมไตได้อย่าง มีนัยสำคัญ แต่สามารถเพิ่มระดับความรู้และมีพฤติกรรมป้องกันโรคไตเรื้อรังให้ดีขึ้นได้

Article Details

How to Cite
เฮงตระกูลเวนิช จ. ., ลีสมิทธิ์ ว. ., หาญไพบูลย์ ก. ., & เตชาติวัฒน์ ภ. . (2019). ประสิทธิผลของโปรแกรมการป้องกันโรคไตเรื้อรังในชุมชน อำเภอปางศิลาทอง จังหวัดกำแพงเพชร. NU Journal of Nursing and Health Sciences, 13(2), 55–65. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/NurseNu/article/view/159703
บท
บทความวิจัย

References

Bhumirajanagarindra Kidney Institute. (2017). Our

kidney, we must know,how to eat faraway from

the dialysis machine for chronic kidney disease

patients predialysis period (3rd ed.). Bangkok:

Bhumirajanagarindra Kidney Institube. [In Thai].

Dell,R.B., Holleran, S., &Ramakrishnan, R. (2002).

Sample size determination. Institute for Labor

atory Animal ResearchJournal, 43(4), 207-213.

Department of Disease Control. (2016). Operating manual

for operations to reduce chronic kidney disease

indiabetic mellitus and hypertension. Bangkok:

Department of Disease Control Ministry of Health.

[In Thai].

Donald M., Kahlon B.K., Beanlands H., Straus S.,

Ronksley P., Herrington G., Tong A., …

Hemmelgarn, B. R. (2018). Self-management

interventions for adults with chronic kidney

disease: a scoping review. British Medical

Journal Open, 8(3), 1-21.

Ingsathit, A., Thakkinstian, A., Chaiprasert, A.,

Sangthawan, P., Gojaseni, P., Kiattisunthorn,

K., …Thai-SEEK Grp. (2010). Prevalence and

risk factors of chronic kidney disease in the Thai

adult population: Thai SEEK study. Nephrology

Dialysis Transplantation, 25(5), 1567-1575. https:/

/doi.org/10.1093/ndt/gfp669

Jiamjariyaporn, T., Banchuin, C., Vipattawat, K.,

Kanchanakorn, S., Saetie, A., Teerapornlertratt,

T., …Sitprija, V. (2014). Effectiveness of integrated

care on delaying chronic kidney disease

progression in rural communities of Thailand

(ESCORT study): Rationale and design of the

study. BMC Nephrology,15(1), 2-7. https://doi.

org/10.1186/1471-2369-15-99

Kidney Disease Association of Thailand.(2016). Thailand

renal replacement therapy year2014.Bangkok:

Kidney Disease Association of Thailand. [In

Thai].

Kidney Disease Association of Thailand.(2013). How

do kidney not fail.Bangkok:Srimeung Printing.

[In Thai].

Lee, S.J., &Chung, C.W. (2014).Health behaviors and

risk factors associated with chronic kidney

disease in Korean patients with diabetes: The

fourth Korean National Health and nutritional

examination survey. Asian Nursing Research,8(1),

-14. https://doi.org/10.1016/j.anr.2013.11.001

Ministry of Health.(2018). Report according to the

ministry indicators 2561:KPI CKD 2.3 delay kidney

deterioration 2561.Retrivedfromhttp://dmhc.dmh.

go.th/ hdc/reports/page_kpi.php?flag_kpi_

level=1&flag_ kpi_year=2018. [In Thai].

National Health Security Office (2016).Fund management

guide:National Health Security2016 manage

patients statements chronic kidney disease.

Bangkok:National Health Security Office.

[In Thai].

Parker, R.M., Baker, D.W., Williams, M.V.,&Nurss,

J.R. (1995).The test of functional health literacy

in adults: a new instrument for measuring

patient’s literacy skills. Journal of Internal

Medicine,10(10), 537-541.

Phuengphasook,S., Wanitkun, N., Towsakulkao, T.,

&Utriyaprasit, K. (2017). Health literacy, health

education outcomes and social influence, and

their relationships with type-2 diabetes and/

or hypertension patients’ clinical outcomes.

Thai Journal of Nursing Council, 32(2), 111-125.

[In Thai].

Polit, D. F., & Beck, C. T. (2006). The content validity

index: Are you sure you know whats being

reported? critique and recommendations. Research

in Nursing and Health 29(5), 489-497

Qobadi, M.,Besharat,M.A.,Rostami, R., &Rahiminezhad,

A. (2015).Health literacy and medical adherence

inhemodialysispatients: The mediating role of

disease-specificknowledge. Thrita, 4(1), 1-6.

Shi, J., Mo, X., &Sun, Z. (2012).Content validity index in

scale development.Journal of Central South

University. Medical Sciences,37(2),152-155.

Washington,T., Zimmerman,S., & Browne, T. (2016).

Factors associated with chronic kidney disease

self-management.Social Work in Public Health,

(2), 58-69.

Yaghmale, F. (2003).Content validity and its estimation.

Journal of Medical Education,3(1), 25-27.