ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะอ้วนลงพุงของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในจังหวัดสุโขทัย

Main Article Content

Chayanit Mek-a-kat
Nithra Kitreerawutiwong
Pattanawadee Pattanathaburt

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัย ส่วนบุคคล ปัจจัยด้านพฤติกรรมสุขภาพ ปัจจัยด้านการรับรู้ภาวะอ้วนลงพุง และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่ เอื้อต่อการป้องกันภาวะอ้วนลงพุง ต่อภาวะอ้วนลงพุงของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในจังหวัดสุโขทัย กลุ่มตัวอย่าง คือ อสม. จำนวน 360 คน มีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนเก็บรวบรวม ข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพ การรับรู้ภาวะอ้วนลงพุง และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการป้องกัน ภาวะอ้วนลงพุง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติก ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะอ้วนลงพุงของ อสม. ได้แก่ อสม. เพศหญิงมีความสัมพันธ์ ต่อภาวะอ้วนลงพุงมากกว่า อสม. เพศชาย ประมาณ 25.91 เท่า (ORadj. = 25.91,95% CI: 8.35-80.41) ดัชนีมวลกาย เมื่อดัชนีมวลกายเพิ่มขึ้น 1 หน่วย มีความสัมพันธ์ต่อภาวะอ้วนลงพุงประมาณ 3.41 เท่า (ORadj. = 3.41, 95% CI: 2.55-4.56) และการรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันภาวะอ้วนลงพุงการ มีคะแนนการรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันภาวะอ้วนลงพุงเพิ่มขึ้น 1 คะแนน มีความสัมพันธ์ ต่อการเกิดภาวะอ้วนลงพุงลดลงประมาณ 0.88 เท่า (ORadj. = 0.88, 95% CI: 0.77-0.99)โดยปัจจัยทั้งสาม ร่วมทำนายโอกาสการเกิดภาวะอ้วนลงพุงของ อสม. ได้ร้อยละ 77.7อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะ คือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขควรจัดกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่มุ่งสร้างการรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันภาวะอ้วนลงพุงโดยมีการติดตามผลของกิจกรรม เกี่ยวกับดัชนีมวลกาย ซึ่งการจัดกิจกรรมนั้นจะต้องเหมาะสมกับเพศของอสม. เพื่อลดโอกาสเสี่ยงต่อ ภาวะอ้วนลงพุง

Article Details

How to Cite
Mek-a-kat, C., Kitreerawutiwong, N., & Pattanathaburt, P. (2018). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะอ้วนลงพุงของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในจังหวัดสุโขทัย. NU Journal of Nursing and Health Sciences, 12(1S), 47–57. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/NurseNu/article/view/148850
บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรค. (2553). รายงานผลการสำรวจ
พฤติกรรมเสี่ยงโรคติดต่อและการบาดเจ็บ
พ.ศ.2553.นนทบุรี สำนักกิจการโรงพิมพ์องค์การ
สงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.
กมลวรรณ อ่อนละมัย. (2550). ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง
กับกลุ่มอาการเมแทบอลิซึมในผู้ป่วยเบาหวาน
ชนิดที่ 2 ที่โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ:
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธวัช วิเชียรประภา. (2555).ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรม
สุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำ
หมู่บ้าน จังหวัดจันทบุรี. วารสารสาธารณสุข
มหาวิทยาลัยบูรพา.7(2), 53-68.
ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์ และสมเกียรติยศ วรเดช. (2558).
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะอ้วนลงพุงใน
นิสิต มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง.
วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 10(2),
55-65.
พลอยฌญารินทร์ ราวินิจ และอดิศักดิ์ สัตย์ธรรม.
(2559). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะอ้วนลงพุงใน
ประชากรตำบลชะแมบ อำเภอวังน้อย จังหวัด
พระนครศรีอยุธยา. สมาคมสถาบันอุดมศึกษา
เอกชนแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี,
5(2), 33-47.
วิชัย เอกพลากร. (2557). รายงานการสำรวจสุขภาพ
ประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5
พ.ศ.2557.นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
สากล สีทากุล. (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับ
พฤติกรรมการป้องกันภาวะอ้วนลงพุงของ
บุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล
ส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอุบลราชธานี
(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). อุบลราชธานี:
มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.
สิทธิกร ลินลาวรรณ. (2554). อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยง
ของภาวะอ้วนลงพุงในบุคลากรโรงพยาบาล
พระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี.สืบค้น 9 สิงหาคม
2559, จาก http://www.phrachomklao.go.th/hrd/
reseaech/54/22.pdf
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย. (2558). รายงาน
ประจำปี 2558.สุโขทัย: สำนักงานสาธารณสุข
จังหวัดสุโขทัย.
สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2557). ระบบคลัง
ข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ.สืบค้นเมื่อ 20
มีนาคม 2558. จาก http://hdcservice.moph.go.
th/hdc/main/index.php.
อนวัช วิเศษบริสุทธิ์. (2556). ภาวะ Metabolic Syndrome
ในบุคลากร โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่.
วารสารสาธารณสุขล้านนา, 9(2), 61-75.
Bloom, B.S. (1971).Handbook on formative and
summative evaluation of student learning. New
York: McGraw-Hill book.
Canoy, D., Boekholdt, S. M., & Wareham, N. (2007).
Body fat distribution and risk of coronary heart
disease inmen and women in the European
prospective investigation into cancer and
nutrition in Norfolk cohort: a population-based
prospective study. Circulation, 116(25), 2933-
2943.
Chen, L., Xu, W. M., & Zhang, D. (2014). Association
of abdominal obesity, insulin resistance, and
oxidative stress in adipose tissue in women with
polycystic ovary syndrome. Fertility and
Sterility, 102(4), 1167-1174.
Daniel, W. W. (1999). Biostatistics: a foundation for
analysis in the health sciences. New York:
John Wiley & Sons.
Derraik, J. G., de Bock, M., Hofman, P. L., & Cutfield,
W. S. (2014). Increasing BMI is associated with
a progressive reduction in physical quality of
life among overweight middle-aged men.
Scientific Reports, 4(3677), doi: 10.1038/
srep03677.
Hill, J. O., Wyatt, H. R., & Peters, J. C. (2012). Energy
Balance and Obesity. Circulation, 126(1), 126-
132.
Krzysztoszek, J., Wierzejska, E., &Zieli๑ska, A.
(2015).Obesity, an analysis of epidemiological
and prognostic research.Archives of Medical
Science, 11(1), 24-33.
Moraes, A., & Falcใo, M. C. (2013). Lifestyle factors
and socioeconomic variables associated with
abdominal obesity in Brazilian adolescents.
Annals of Human Biology, 40, 1-8.
Narksawat, K., Podang, J., Punyarathabundu, P., &
Podhipak, A. (2007). Waist Circumference,
Body Mass Index and Health Risk Factors
among Middle Age Thais. Retrieved 18 June
2015from http://phep.ph.mahidol.ac.th/
Academics/RES_ABS_2007_5.html
Nourian, M., Kelishadi, R. &Najimi, A. (2017). Lifestyle
Interventions and Weight Control of Adolescents
with Abdominal Obesity: A Randomized
Controlled Trial Based on Health Belief Model.
Iran Red Crescent Medical Journal, 19(2), 1-9.
Peige Song, Jinyue Yu, Xinlei Chang, Manli Wang and
Lin An. (2016).Prevalence and Correlates of
Metabolic Syndrome in Chinese Children:
The China Health and Nutrition Survey.
Nutrients, 9(1), 79; doi:10.3390/nu9010079.
Sardinha, L. B., Santos, D. A., Silva, A. M., Coelho-e-
Silva, M. J., Raimundo, A. M., & Moreira, H.
(2012). Prevalence of Overweight, Obesity, and
Abdominal Obesity in a Representative Sample
of Portuguese Adults. PLoS ONE 7(10), e47883.
doi:47810.41371/journal.pone.0047883.
Strecher, V. J., DeVellis, B. M., Becker, M. H., &
Rosenstock, I. M. (1986). The role of selfefficacy
in achieving health behavior change.
Health Education Quartery, 13(1), 73-92.
World Health Organization. (2016). Obesity and
overweight. Retrieved 26 October 2015 from
http://www.who.int/mediacentre/factsheets/
fs311/en/