การติดเชื้อราสปอโรทริโคซิสแบบแพร่กระจาย ในผู้ป่วยสูงอายุที่ภูมิคุ้มกันปกติ

ผู้แต่ง

  • ปริษฎา อนุกูลกาญจน์ กลุ่มงานอายุกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

เชื้อราสปอโรทริโคซิสแบบแพร่กระจาย, ผู้ป่วยที่ภูมิคุ้มกันปกติ, ผู้ป่วยที่ไม่ได้ติดเชื้อ เอช ไอ วี

บทคัดย่อ

โรคสปอโรทริโคซิสเกิดจากเชื้อรา Sporothrix schenckii เป็นเชื้อราสองรูป ผู้ป่วยมักจะมาด้วยผื่นที่มีลักษณะรอยโรคเป็นตุ่มหลายๆตุ่ม เรียงตามแนวของระบบน้ำเหลือง ซึ่งการติดเชื้อลักษณะแพร่กระจายพบได้น้อยมาก โดยบทความนี้ มีการนำเสนอผู้ป่วยชายอายุ 62 ปี มาโรงพยาบาลด้วยเรื่องไข้ ผื่นที่ใบหน้า ลำตัว แขนขาทั้งสองข้างมา 3 สัปดาห์ ซึ่งไม่ตอบสนองต่อการให้ยาปฏิชีวนะ ตรวจร่างกายพบม้ามโต ปฏิเสธโรคประจำตัว ปฏิเสธการรับประทานยากดภูมิคุ้มกัน ปฏิเสธประวัติการเดินทาง ปฏิเสธประวัติติดเชื้อหรือประวัติที่สงสัยภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง และ ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการไม่พบการติดเชื้อเอช ไอ วี ผู้ป่วยได้รับการเอาชิ้นเนื้อจากผิวหนังส่งตรวจพบ เชื้อ Histoplasma capsulatum แต่เนื่องจากอาการแสดงที่ไม่ตรงไปตรงมา จึงได้ทำการเอาชิ้นเนื้อไปตรวจซ้ำพบยีสต์เป็นลักษณะ cigar shaped bodies และ 18S rRNA พบ Sporothrix schenckii จึงได้รับการวินิจฉัยเป็นการติดเชื้อราสปอโรทริโคซิสแบบแพร่กระจาย ส่งทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม IFN-ϒ auto-ab และ CD4/CD8 ผลปกติ พบประวัติภรรยาเลี้ยงแมวในละแวกบ้านประมาณ 8 ตัวมาเป็นเวลาเกือบ 10 ปี ซึ่งในผู้ป่วยรายนี้ ได้รับการรักษาเบื้องต้นด้วย Amphotericin B deoxycholate นาน 4 สัปดาห์ และตามด้วย itraconazole  1 ปี อาการไข้และผื่นดีขึ้นเป็นลำดับ

References

Barros MD, de Almeida Paes R, Schubach AO. 2011. Sporothrix schenckii and Sporotrichosis. Clin Microbiol Rev 2011;24(47):633-54.

Tovikkai D, Maitrisathit W, Srisuttiyakorn C, Vanichanan J, Thammahong A, Suankratay C. Sporotrichosis: The case series in Thailand and literature review in Southeast Asia. Med Mycol Case Rep 2020;27:59-33.

Reis BD, Cobucci FO, Zacaron LH, D’Acri AM, Lima RB, Martins CJ. Sporotrichosis in an unusual location: a case report. An Bras Dermatol 2015;90 (3 Suppl 1): 84-7.

Suresh MS, Sayal SK, Chattwal PK, Mehta RP, DAS AL. SPOROTRICHOSIS (A Case Report). Med J Armed Forces India 1997; 53(4):307-8.

Heidrich D, Stopiglia CD, Senter L, Vetoratto G, Valente P, Scroferneker ML. Successful treatment of terbinafine in a case of sporotrichosis. An Bras Dermatol 2011;86(4suppl1):S182-5.

Neto Rda J, Machado AA, de Castro G, Quaglio AS, Martinez R. Disseminated cutaneous sporotrichosis as the initial manifestation of acquired immunodeficiency syndrome--case report. Rev Soc Bras Med Trop 1999;32(1):57-61.

Schechtman RC, Crignis GS, Pockstaller MP, Azulay-Abulafia L, Quintella LP, Belo M. Molluscum-like lesions in a patient with sporotrichosis. An Bras Dermatol 2011;86(6):1217-9.

Cordeiro FN, Bruno CB, Paula CD, Motta Jde O. Familial occurrence of zoonotic sporotrichosis. An Bras Dermatol 2011;86(4suppl1):S121-4.

Barreiros G, Ramos-e-Silva M, Ferreira TA, Trope BM, Quintela DC. Atypical Manifestation of Disseminated Sporotrichosis in an AIDS Patient. Case Rep Dermatol 2018;10(3):231–7.

Bonifaz A, Tirado-Sánchez A. Cutaneous Disseminated and Extracutaneous Sporotrichosis: Current Status of a Complex Disease. J Fungi 2017;3(1):6.

Hassan K, Turker T, Zangeneh T. Disseminated sporotrichosis in an immunocompetent patient. Case Reports Plast Surg Hand Surg 2016;3(1):44–7.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

How to Cite

1.
อนุกูลกาญจน์ ป. การติดเชื้อราสปอโรทริโคซิสแบบแพร่กระจาย ในผู้ป่วยสูงอายุที่ภูมิคุ้มกันปกติ. MNST Med J [อินเทอร์เน็ต]. 31 ธันวาคม 2024 [อ้างถึง 1 พฤษภาคม 2025];8(2):147-53. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/MNSTMedJ/article/view/276288