การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันในห้องฉุกเฉิน: กรณีศึกษา 2 ราย
คำสำคัญ:
โรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน, การพยาบาล, ห้องฉุกเฉินบทคัดย่อ
บทนำ: โรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน เป็นสาเหตุการตาย และการพิการเป็นอันดับต้นของโลก และอุบัติการณ์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี โรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันเป็นระยะวิกฤตที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยงแต่เนื้อสมองยังไม่ตาย ถ้าทำให้เลือดไหลเวียนได้ทันเวลาและในระดับที่เพียงพอจะทำให้เนื้อสมองบริเวณนั้นฟื้นตัวได้เร็วส่งผลให้ผู้ป่วยกลับมาเป็นปกติได้ พยาบาลห้องฉุกเฉินมีบทบาทสำคัญในการดูแลผู้ป่วยในระยะนี้ การให้การพยาบาลอย่างถูกต้อง รวดเร็ว ตามมาตรฐาน สามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ส่งผลให้ผู้ป่วยปลอดภัย ลดอัตราการพิการและเสียชีวิตลงได้
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันในห้องฉุกเฉิน : กรณีศึกษา 2 ราย
วัสดุและวิธีการศึกษา: การศึกษาเพื่อเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน ที่เข้ารับการรักษาในห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลหาดใหญ่ จำนวน 2 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูล รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบ ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน พยาธิสภาพ อาการและอาการแสดง การรักษา ปัญหาและข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล การวางแผนการจำหน่ายออกจากห้องฉุกเฉิน โดยผู้วิจัยได้ขอจริยธรรมผ่านคณะกรรมการจริยธรรม โรงพยาบาลหาดใหญ่ เพื่อดำเนินการวิจัยในครั้งนี้
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยกรณีศึกษาทั้ง 2 รายได้รับการคัดกรอง และเฝ้าระวังอาการอย่างต่อเนื่อง โดยใช้แนวปฏิบัติการคัดกรองและการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันที่เข้ารับการรักษาในห้องฉุกเฉิน กรณีศึกษารายที่ 1 อาการสำคัญเวียนศีรษะ อาเจียน อ่อนแรงทั่ว ๆ 3 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล ได้รับการประเมินและคัดกรองอย่างถูกต้อง รวดเร็ว แพทย์วินิจฉัย Ischemic stroke (Fast Track) ได้รับยาละลายลิ่มเลือด rt-PA ขณะให้ยาและขณะ Admit ไม่มีภาวะแทรกซ้อน กรณีศึกษารายที่ 2 อาการสำคัญ พูดไม่ชัด แขนขาอ่อนแรง Last seen normal 8 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล แพทย์วินิจฉัย Stroke Non Fast Track ส่งเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง ผล Lt basal ganglia hemorrhage with IVH ขณะอยู่ในห้องฉุกเฉิน ผู้ป่วยระดับความรู้สึกตัวลดลง และมีภาวะความดันโลหิตสูง แพทย์ได้ใส่ท่อช่วยหายใจและให้ยาควบคุมความดันโลหิต พยาบาลได้เฝ้าระวังและติดตามอาการอย่างต่อเนื่องใกล้ชิด และให้การพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามแนวปฏิบัติ ซึ่งพบว่า ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนขณะอยู่ในห้องฉุกเฉิน
สรุป: การศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าพยาบาลมีบทบาทสำคัญในการคัดกรองและประเมินผู้ป่วยเพื่อเฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่รวดเร็ว ผู้ป่วยปลอดภัย ลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้
References
World Health Organization. World Health Statistics 2018: Monitoring health for the SDGs, sustainable development goals. Geneva: World Health Organization
กองโรคไม่ติดต่อ. รายงานสถานการณ์โรคหลอดเลือดสมอง. กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข 2565
กองยุทธศาสตร์และแผนงานกระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2564. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2564.
นิภาพร บุตรสิงห์. การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน. วารสารสภาการพยาบาล. 2562;34(3):15-29.
บดีภัทร วรฐิติอนันต์. ระบบช่องทางด่วนโรคหลอดเลือดสมอง ณ ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลนครปฐม : ความท้าทายเข้าสู่แนวปฏิบัติที่ดีเลิศในประเทศไทย.วารสารประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย. 2562; 35(2):17-29.
ศูนย์พัฒนาข้อมูลคุณภาพโรงพยาบาลหาดใหญ่. รายงานข้อมูลสถิติผู้รับบริการโรงพยาบาลหาดใหญ่ ปี 2563-2565.
สำนักการพยาบาล กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล (ปรับปรุงครั้งที่ 2). นนทบุรี: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2551.
Appelros P, Stegmayr B, Terént A. Sex differences in stroke epidemiology: a systematic review. Stroke. 2009;40:1082-90.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานการณ์ โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยเสี่ยงที่ เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562. 2563; นนทบุรี:สำนักพิมพ์.อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.10
World Stroke Organization.Prevent Stroke.2024.[เข้าถึงเมื่อ กุมภาพันธ์ 2567].เข้าถึงได้จาก: https://www.world-stroke.org/world-stroke-day-campaign/prevent-stroke.
Rebrain-physio.com. [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ:สุรา / เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง.2022.[เข้าถึงเมื่อ กุมภาพันธ์ 2567].เข้าถึงได้จาก: https://www.rebrain-physio.com/.
ชนกนันท์ แสนสุนนท์, กฤชกันทร สุวรรณพันธุ์.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในอําเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น.วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ.2565;5(3):124-37.
สถาบันประสาทวิทยา ชมรมพยาบาลโรคระบบประสาทแห่งประเทศไทย. แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสำหรับพยาบาลทั่วไป(ปรับปรุงครั้งที่5). กรุงเทพฯ. 2567.
โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์.บทความสุขภาพ.แนวทางการรักษาโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน.[อินเตอร์เน็ต].2565.[เข้าถึงเมื่อ กุมภาพันธ์ 2567].เข้าถึงได้จาก: https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/treatment-of-stroke
ศิรินาถ ตงศิริ. บุหรี่กับโรคหลอดเลือดสมอง: ยิ่งสูบยิ่งเสี่ยง.วารสารสาธารณสุข.2556;43(3):298-312.
เพียงใจ ดาวัลย์. การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ หรืออุดตันเฉียบพลัน ที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด: กรณีศึกษา.วารสารโรงพยาบาลสิงบุรี.2562;28(1):35-42.
สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์.คู่มือในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแตก.(ฉบับครั้งที่ 1).กรุงเทพฯ. 2561.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ก่อนเท่านั้น