การประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อป้องกันการเกิด โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในพระสงฆ์ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • พิศุทธิ์ ชนะรัตน์ เวชกรรมสังคม โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ, การป้องกันโรค, โรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง, พระสงฆ์

บทคัดย่อ

บทนำ : พระสงฆ์เป็นกลุ่มเฉพาะที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมากกว่าคนทั่วไป เนื่องจากข้อจำกัดในการปฏิบัติตัว

วัตถุประสงค์ : ศึกษาผลการอบรมเกี่ยวกับการป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โดยประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในพระสงฆ์

วัสดุและวิธีการศึกษา : การวิจัยกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นพระสงฆ์จากวัดในอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 34 รูป เลือกกลุ่มตัวอย่างตามความสะดวกจากการตอบรับคำเชิญอบรมเรื่องการป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ระหว่างเดือนธันวาคม 2565 ถึง เมษายน 2566 การอบรมประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในการออกแบบ 4 กิจกรรม รวมทั้งสิ้น 12 ชั่วโมง และติดตามผล 3 เดือน เครื่องมือวิจัยอยู่ในรูปแบบสอบถาม 4 ส่วน ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป การรับรู้ภาวะคุกคาม การประเมินพฤติกรรม และการปฏิบัติตัวป้องกันโรค การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS โดยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมานเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างด้วยสถิติ Repeated Measure ANOVA และ Paired t-test

ผลการศึกษา : คะแนนการรับรู้ภาวะคุกคามและการประเมินพฤติกรรมป้องกันโรคเพิ่มขึ้นหลังการอบรมทันที และลดลงเมื่อเวลาผ่านไป 3 เดือนแต่ไม่น้อยกว่าก่อนการอบรม ส่วนการปฏิบัติตัวป้องกันโรคมีคะแนนมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ(p-value <0.001) หลังการอบรม 3 เดือน

สรุป : สามารถนำการอบรมโดยใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพเพื่อออกแบบการป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในพระสงฆ์อย่างมีประสิทธิผล

References

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี 2565 [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 16 สิงหาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/document/ file/download/paper-manual/Report2565NCDs.pdf.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานี. แผนยุทธศาสตร์สาธารณสุข จังหวัดสุราษฎร์ธานี พ.ศ. 2566-2570 [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 12 มกราคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.stpho.go.th/0_2566/07_Apr/แผนยุทธศาสตร์สาธารณสุข.pdf.

โกนิฎฐ์ ศรีทอง, ชลวิทย์ เจียรจิตต์, เบญจมาศ สุขสถิตย์, ชัยวัชร พรหมจิตติพงศ์. โครงการความรอบรู้ด้านสุขภาพ ภาวะสังคมและคุณภาพชีวิตในพระสงฆ์ [อินเตอร์เน็ต]. สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย; 2563 [เข้าถึงเมือ 11 สิงหาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://happy8workplace.thaihealth.or.th › books.

สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม มหาเถรสมาคม. มติที่ 191/2560 เรื่อง การดำเนินงานพระสงฆ์กับการพัฒนาสุขภาวะ [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 16 สิงหาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.mahathera.org/index.php?url=mati&id=7466

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. ข่าวเด่นประเด็นร้อน สถิติพระอาพาธเบาหวานพุ่ง แนะญาติโยมช่วยดูแลภัตตาหารลดเสี่ยงได้ [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 17 สิงหาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dms.go.th/Content/Select_Landding_page?contentId=27320.

Rosenstock IM. The Health Belief Model and Preventive Health Behavior. Health Education Monographs. 1974;2(4):354-86.

ชนิดาวดี สายืน, ปัญจา ชมภูธวัช, ณิชพันธุ์ระวี เพ็งพล. การเปรียบเทียบระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานด้วยการใช้สมาธิบำบัด เอส เค ที ในคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารและพัฒนาระบบสุขภาพ [อินเตอร์เน็ต]. 2563;13:532-7. [เข้าถึงเมือ 15 สิงหาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/254950.

ElSayed NA, Aleppo G, Aroda VR, Bannuru RR, Brown FM, Bruemmer D, et al. Classification and Diagnosis of Diabetes: Standards of Care in Diabetes 2023. Diabetes Care. 2022;46(Supplement_1): S19-S40.

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป

พ.ศ. 2562. พิมพ์ครั้งที่ 1. ทริค ธิงค์; 2562:16-21.

จุฬาศิกาญจน์ ใหม่แย้ม, ธวัลรัตน์ ศิริธรรม, จรินทร์ทิพย์ บุญชด, อรชนก ชูเอียด. การประยุกต์ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค ในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง อำเภอหอยโข่ง จังหวัดสงขลา. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสาธารณสุข [อินเตอร์เน็ต]. 2566;1(3):16-27. [เข้าถึงเมือ 31 สิงหาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jphri/article/view/265284.

อุมาพร นิ่มตระกูล, พระวิสิทธิ์ ฐิตฺวิสิทฺโธ. พฤติกรรมสุขภาพของพระสงฆ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพจากพระคิลานุปัฏฐากสู่พระนักสื่อสารในเขตสุขภาพที่ 1. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา [อินเตอร์เน็ต]. 2563;11(1):33-51. [เข้าถึงเมือ 22 สิงหาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/240615.

ณัฏฐินี เสือโต, แอนน์ จิระพงษ์สุวรรณ, ทัศนีย์ รวิวรกุล, มธุรส ทิพยมงคลกุ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการควบคุมความดันโลหิตในกลุ่มอายุ 35-59 ปี ที่ควบคุมความดันโลหิตสูงไม่ได้. วารสารพยาบาลสาธารณสุข [อินเตอร์เน็ต]. 2561;32(2):95-115. [เข้าถึงเมือ 2 มิถุนายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://110.164.147.155/kmhealth_new/Documment/blood/research/13.pdf.

Schmidt SK, Hemmestad L, MacDonald CS, Langberg H, Valentiner LS. Motivation and Barriers to Maintaining Lifestyle Changes in Patients with Type 2 Diabetes after an Intensive Lifestyle Intervention (The U-TURN Trial): A Longitudinal Qualitative Study. Int J Environ Res Public Health. 2020;17(20).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-29