ประสิทธิผลของยา Sofosbuvir-Velpatasvir ในการรักษาผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบซี ของโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต
บทคัดย่อ
บทนำ: โรคไวรัสตับอักเสบซีเป็นสาเหตุของโรคตับแข็ง และโรคมะเร็งตับ การรักษาไวรัสตับอักเสบซีด้วยยา Sofosbuvir/Velpatasvir สัมพันธ์กับการลดความเสี่ยงของมะเร็งตับ รวมทั้งลดอัตราตาย
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลของยา Sofosbuvir/Velpatasvir เพื่อดูความปลอดภัยของของยา Sofosbuvir/Velpatasvir และเปรียบเทียบประสิทธิผลของการรักษา ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะตับแข็ง และไม่มีภาวะตับแข็ง
วัสดุและวิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา เก็บข้อมูลผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบซี ที่มีอายุ 18-70 ปี ที่โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ในช่วง 1 มกราคม 2564-31 ธันวาคม 2565 วิเคราะห์ทางสถิติด้วย Descriptive Statistics, t-test และ Mann-Whitney U test ประสิทธิผลของการรักษาดูจาก sustained virological response (SVR) ที่ 12 สัปดาห์หลังการรักษา
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้งหมด 100 ราย อายุเฉลี่ย 50.97±8.39 ปี เป็นเพศชายร้อยละ 70.0 พบภาวะตับแข็ง ร้อยละ 35.0 ผู้ป่วยร้อยละ 98 เป็นผู้ที่ได้รับการรักษาครั้งแรก และผู้ป่วยจำนวน 94 คน ได้รับยา Sofosbuvir/Velpatasvir อีก 6 คนได้รับยา Sofosbuvir/Velpatasvir ร่วมกับ Ribavirin จำนวนผู้ป่วยที่รักษาหายขาดทั้งหมด 96 ราย คิดเป็นร้อยละ 96.0 โดยในกลุ่มผู้ป่วยที่มีตับแข็งร่วมด้วยหายขาดไม่ต่างจากกลุ่มที่ไม่มีภาวะตับแข็ง SVR 12 ร้อยละ 94.3 และ 96.9 ตามลำดับ (P = 0.52) และผู้ป่วยทุกคนสามารถกินยาได้โดยไม่มีผลข้างเคียงรุนแรง
สรุป: การรักษาไวรัสตับอักเสบซีมีประสิทธิภาพที่ดีทั้งในผู้ที่มีภาวะตับแข็ง และไม่มีภาวะตับแข็ง ผู้ป่วยส่วนใหญ่ทนผลข้างเคียงได้ดี มีเพียง 1 ราย ที่มีอาการอ่อนเพลียระหว่างการรักษา
References
Thomas DL, Astemborski J, Rai RM, Anania FA, Schaeffer M, Galai N, et al. The natural history of hepatitis C virus infection: host, viral, and environmental factors. JAMA 2000; 284: 450-6.
Global hepatitis report 2017. Geneva:World health organization ; 2017.
Wasitthankasem R, Posuwan N, Vichaiwattana P, Theamboonlers A, Klinfueng S, Vuthitanachot V, et al. Decreasing Hepatitis C Virus Infection in Thailand in the Past Decade: Evidence from the 2014 National Survey. PLoS ONE 2016; (11)2:e0149362.
AASLD-IDSA HCV Guidance Panel. Hepatitis C Guidance 2022 update: AASLD-IDSA Recommendation for Testing, Managing, and Treating Hepatitis C. UpdatedAugust 27, 2020.
Afdhal N, Zeuzem S, Kwo P, Chojkier M, Gitlin N, Puoti M, et al. Ledipasvir and sofosbuvir for untreated HCV genotype 1 infection. N Engl J Med 2014;370(20):1889–98.
Afdhal N, Reddy KR, Nelson DR, Lawitz E, Gordon SC, Schiff E, et al. Ledipasvir and sofosbuvir for previously treated HCV genotype 1 infection. N Engl J Med 2014;370 (16):1483–93.
Kowdley KV, Gordon SC, Reddy KR, Rossaro L, Bernstein DE, Lawitz E, et al. Ledipasvir and sofosbuvir for 8 or 12 weeks for chronic HCV without cirrhosis. N Engl J Med 2014;370(20): 1879–88.
Sulkowski MS, Gardiner DF, Rodriguez-Torres M, Reddy KR, Hassanein T, Jacobson I, et al. Daclatasvir plus sofosbuvir for previously treated or untreated chronic HCV infection. N Engl J Med 2014;370 (3):211–21.
Nelson DR, Cooper JN, Lalezari JP, Lawitz E, Pockros PJ, Gitlin N, et al. All-oral 12-week treatment with daclatasvir plus sofosbuvir in patients with hepatitis C virus genotype 3 infection: ALLY-3 phase III study. Hepatology 2015; 61(4):1127–35.
Leroy V, Angus P, Bronowicki JP, Dore GJ, Hezode C, Pianko S, et al. Daclatasvir, sofosbuvir, and ribavirin for hepatitis C virus genotype 3 and advanced liver disease: a randomized phase III study (ALLY-3+). Hepatology 2016; 63 (5):1430–41.
Feld JJ, Jacobson IM, Hezode C, Asselah T, Ruane PJ, Gruener N, et al. Sofosbuvir and Velpatasvir for HCV genotype 1, 2, 4, 5, and 6 infection. N Engl J Med 2015 ; 373 (27):2599–607.
Foster GR, Afdhal N, Roberts SK, Brau N, Gane EJ, Pianko S, et al. Sofosbuvir and Velpatasvir for HCV genotype 2 and 3 infection. N Engl J Med 2015 ; 373 (27):2608–17.
Curry MP, O'Leary JG, Bzowej N, Muir AJ, Korenblat KM, Fenkel JM, et al. Sofosbuvir and Velpatasvir for HCV in patients with decompensated cirrhosis. N Engl J Med 2015 ; 373 (27):2618–28.
แนวทางการดูแลรักษา ผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2561 Thailand Practice Guideline for Management of Chronic Hepatitis C, 2018.
แบบฟอร์มกำกับการใช้ยา Sofosbuvir/Velpatasvir และ ribavirin ตามประกาศคณะกรรมการฯ เรื่องบัญชียาหลักแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564
Backus LI, Boothroyd DB, Phillips BR, Belperio P, Halloran J, Mole LA. A sustained virologic response reduces risk of all-cause mortality in patients with hepatitis C. Clin Gastroenterol Hepatol 2011;9 (6):509–16.e1.
Van der Meer AJ, Veldt BJ, Feld JJ, Wedemeyer H, Dufour JF, Lammert F, et al. Association between sustained virological response and all-cause mortality among patients with chronic hepatitis C and advanced hepatic fibrosis. JAMA 2012 ; 308 (24):2584–93.
โชติพงษ์ ศิริพิพัฒนมงคล. ประสิทธิผลและความปลอดภัยของการรักษาผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบซีเรื้องรังด้วยยาเพ็คกิเลตเต็ด อินเตอร์ฟิรอนและไรบาไวริน และยารักษาไวรัสตับอักเสบซีชนิดใหม่ (direct acting antiviral: DAA) ในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ เชียงรายเวชสาร 2562;11(1):41-54.
Charatcharoenwitthaya P, Wongpaitoon V, Komolmit P, Sukeepaisarnjaroen W, Tangkijvanich P, Piratvisuth T, et al. Real-world effectiveness and safety of sofosbuvir and nonstructural protein 5A inhibitors for chronic hepatitis C genotype 1, 2, 3, 4, or 6: a multicentre cohort study. BMC Gastroenterology 2020;20(1):47.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ก่อนเท่านั้น