ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในผู้ป่วยโรคเบาหวานและการเกิดอุบัติเหตุจราจร

ผู้แต่ง

  • พณัญญา เชื้อดำรง สถาบันเวชศาสตร์ป้องกันศึกษา กรมควบคุมโรค

คำสำคัญ:

อุบัติเหตุจราจร, โรคเบาหวาน, ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ, ความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุจราจร

บทคัดย่อ

บทนำ : อุบัติเหตุจราจรเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตของคนไทย จากการทบทวนวรรณกรรม พบว่าสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุจราจรส่วนใหญ่มาจากผู้ขับขี่ โดยความไม่พร้อมของสุขภาพร่างกายของผู้ขับขี่เป็นสาเหตุหลักที่สำคัญของปัจจัยภายในตัวผู้ขับขี่เอง  โดยเฉพาะโรคเบาหวานที่สัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุจราจรที่เพิ่มขึ้น 1.2-1.6 เท่าของคนที่ไม่เป็นโรค และภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยที่สุดในผู้ป่วยเบาหวาน โดยการมีประวัติน้ำตาลในเลือดต่ำอย่างรุนแรง ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุจราจรเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่าของคนปกติ

วัตถุประสงค์ : การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในผู้ป่วยโรคเบาหวานกับการเกิดอุบัติเหตุจราจร เพื่อนำไปต่อยอดจัดทำแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมในอนาคต

วัสดุและวิธีการศึกษา : วิธีการศึกษาเป็นแบบ Retrospective cohort มีการเก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนของผู้ป่วยเบาหวานในโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2564 ถึงเดือนพฤษภาคม 2565 แบ่งเป็นกลุ่มที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ และกลุ่มที่ไม่เคยมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ จากนั้นจึงเปรียบเทียบความสัมพันธ์ต่อการเกิดอุบัติเหตุจราจรของทั้ง 2 กลุ่ม โดยใช้สถิติ Chi square ในการวิเคราะห์ข้อมูล

ผลการศึกษา : ในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 140 คน เป็นชาย 89 คน และหญิง 51 คน อายุและดัชนีมวลกายเฉลี่ย 44.83 ปี และ 24.26 กก./ม.2 โดยไม่รวมผู้ใช้ยาอินซูลินแบบฉีดและผู้ที่มีโรคประจำตัวอื่น ผลการศึกษาวิจัยพบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เคยมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำมีความสัมพันธ์ต่อการเกิดอุบัติเหตุจราจรมากกว่าผู้ที่ไม่เคยมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ อย่างมีนัยสำคัญ (RR = 1.36, 95% CI = 1.06 – 1.74, P-value = 0.01)

สรุป : ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในผู้ป่วยเบาหวานทำให้เกิดความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุจราจร และมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุจราจรมากขึ้น ดังนั้นจึงควรมีการคัดกรองประวัติภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในผู้ป่วยโรคเบาหวานและให้คำแนะนำก่อนมีการขับขี่ยานพาหนะอย่างสม่ำเสมอ

References

ธนะพงศ์ จินวงษ์. อุบัติเหตุ ทาง ถนน “ภัย เงียบ” ที่ ยัง อันตราย และ ท้าทาย การ จัดการ. วารสาร การแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย 2564; 1(1): 71-6.

Chen S, Zhang S, Xing Y, Lu J. Identifying the factors contributing to the severity of truck-involved crashes in Shanghai River-Crossing Tunnel. International journal of environmental research and public health. 2020;17(9):3155-70.

Laberge-Nadeau C, Dionne G, Ekoé JM, Hamet P, Desjardins DE, Messier S, et al. Impact of diabetes on crash risks of truck-permit holders and commercial drivers. Diabetes Care 2000; 23(5): 612-7.

Lococo KH, Staplin L, Schultz MW, TransAnalytics LL. The effects of medical conditions on driving performance, A literature review and synthesis. Final report ed. Washington: National Highway Traffic Safety Administration; 2018.

Litwak L, Goh SY, Hussein Z, Malek R, Prusty V, Khamseh ME. Prevalence of diabetes complications in people with type 2 diabetes mellitus and its association with baseline characteristics in the multinational A1chieve study. Diabetol Metab Syndr 2013;5(1):57.

Kalra S, Mukherjee JJ, Venkataraman S, Bantwal G, Shaikh S, Saboo B, et al. Hypoglycemia: The neglected complication. Indian journal of endocrinology and metabolism 2013;17(5):819-30.

Jenkins N. Fit to drive?. Occupational Health & Wellbeing 2020;72(4):13-5.

Redelmeier DA, Kenshole AB, Ray JG. Motor vehicle crashes in diabetic patients with tight glycemic control: a population-based case control analysis. PLoS medicine 2009;6(12):e1000192.

Petrosyan L, Ghazaryan Z, Muradyan G, Aghajanova E, Brabece M, Žďárská DJ, et al. Limited knowledge of safe driving practice among drivers with diabetes in Armenia: association with greater risk of motor vehicle accidents. Journal of Diabetes Mellitus 2019;9(01):14-23.

Merickel J, High R, Smith L, Wichman C, Frankel E, Smits K, et al. At-risk driving behavior in drivers with diabetes: A neuroergonomics approach. InProceedings of the Human Factors and Ergonomics Society Annual Meeting 2017; 61(1): 1881-5.

Cox DJ, Penberthy JK, Zrebiec J, Weinger K, Aikens JE, Frier B, et al. Diabetes and driving mishaps: frequency and correlations from a multinational survey. Diabetes care 2003;26(8):2329-34.

Plows JF, Stanley JL, Baker PN, Reynolds CM, Vickers MH. The pathophysiology of gestational diabetes mellitus. International journal of molecular sciences 2018;19(11):3342.

Hutchinson MS, Joakimsen RM, Njølstad I, Schirmer H, Figenschau Y, Svartberg J, et al. Effects of Age and Sex on Estimated Diabetes Prevalence Using Different Diagnostic Criteria: The Tromsø OGTT Study. Int J Endocrinol 2013;2013:613475.

Saunders AL, Bodine C, Snell-Bergeon J, Forlenza GP, Shah VN. Higher Prevalence of Hypoglycemia and Unsafe Driving Practices in Adults With Type 1 Diabetes. Diabetes Care 2023;46(4):e92-3.

Ahmed FW, Majeed MS, Kirresh O. Non-diabetic hypoglycemia [internet]. 2023 [2023 July 17]. Available from: http://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK573079

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27