อาการแสดงทางผิวหนังของผู้ป่วยโรคลูปัสในเพศชายเทียบกับเพศหญิงในช่วงอายุเดียวกัน ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช ในช่วงระยะเวลา 10 ปีย้อนหลัง

ผู้แต่ง

  • สศิษฎ์ ฟุ้งตระกูล กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

ผื่นลูปัสแบบเฉียบพลันในลักษณะคล้ายผื่นแพ้ยารุนแรง, โรคลูปัส, อาการชัก

บทคัดย่อ

บทนำ : โรคลูปัสเป็นโรคแพ้ภูมิตนเองที่เกี่ยวข้องกับหลายระบบ จากเกณฑ์การวินิจฉัยล่าสุด หากแพทย์ทราบความชุกของอาการแสดงทางผิวหนัง อาการระบบอื่นๆ และผลตรวจทางห้องปฏิบัติการณ์ย่อมมีประโยชน์ไม่มากก็น้อย

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาเปรียบเทียบอาการแสดงทางผิวหนังโรคลูปัสในเพศชายและหญิงในช่วงอายุเดียวกัน รวมทั้งอาการระบบอื่นๆ และผลตรวจทางห้องปฏิบัติการณ์

วัสดุและวิธีการศึกษา : การศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา (Retrospective descriptive study) ในผู้ป่วยโรคลูปัส อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่มาติดตามการรักษาที่โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2555 - 31 ธันวาคม 2564

ผลการศึกษา : ผู้ป่วยโรคลูปัสเพศหญิงและเพศชายอย่างละ 41 ราย ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างทั้งสองเพศ ทั้งอาการแสดงทางผิวหนัง อาการแสดงทางระบบอื่นๆ และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการณ์ อย่างไรก็ดีผู้ป่วยโรคลูปัสเพศชาย มีแนวโน้มพบอาการชัก คิดเป็นร้อยละ 12.2 มากกว่าในเพศหญิง ซึ่งพบร้อยละ 2.4 (P = 0.09) และในกลุ่มผู้ป่วยผื่นลูปัสแบบเฉียบพลัน พบผื่นลูปัสแบบเฉียบพลันในลักษณะคล้ายผื่นแพ้ยารุนแรง ถึงร้อยละ 30 ในผู้ป่วยเพศชาย

สรุป :  แพทย์ควรเฝ้าระวังอาการชัก และเพิ่มความตระหนักในการวินิจฉัยแยกโรคผื่นลูปัสแบบเฉียบพลันกับผื่นแพ้ยารุนแรงในผู้ป่วยโรคลูปัสเพศชาย

คำสำคัญ : โรคลูปัส ผื่นลูปัสแบบเฉียบพลันในลักษณะคล้ายผื่นแพ้ยารุนแรง อาการชัก

References

Wallace D, Hahn B. Dubois' lupus erythematosus and related syndromes. 9thed. Philadelphia: Elsevier Saunders; 2018.

Renau AI, Isenberg DA. Male versus female lupus: a comparison of ethnicity, clinical features, serology and outcome over a 30 year period. Lupus 2012;21:1041-8.

Murphy G, Isenberg D. Effect of gender on clinical presentation in systemic lupus erythematosus. Rheumatology (Oxford) 2013;52:2108-15.

Crosslin KL, Wiginton KL. Sex differences in disease severity among patients with systemic lupus erythematosus. Gend Med 2011;8:365-71.

Sherif Z. Yacoub W. Gender Differences in Systemic Lupus Erythematosus. Gend Med 2004;1:12-7.

Kanda N, Tsuchida T, Watanabe T, Tamaki K. Clinical features of systemic lupus erythematosus in men. Characteristics of the cutaneous manifestations. Dermatology 1996;193:6-10.

Deesomchok U, Tumrasvin T. Clinical features of systemic lupus erythematosus in Thai males and females. J Med Assoc Thai 1992;75:133-40.

Mongkoltanatus J, Wangkaew S, Kasitanon N, Louthrenoo W. Clinical features of Thai male lupus: an age-matched controlled study. Rheumatol Int 2008;28:339-44.

Tangtanatakul P, Thumarat C, Satproedprai N, Kunhapan P, Chaiyasung T, Klinchanhom S, et al. Meta-analysis of genome-wide association study identifies FBN2 as a novel locus associated with systemic lupus erythematosus in Thai population. Arthritis Res Ther 2020;22:185.

Satapornpong P, Jinda P, Jantararoungtong T, Koomdee N, Chaichan C, t Pratoomwun J, et al. Genetic Diversity of HLA Class I and Class II Alleles in Thai Populations: Contribution to Genotype-Guided Therapeutics. Front Pharmacol 2020;11:78.

Aringer M, Costenbader K, Daikh D, Brinks R, Mosca M, Ramsey-Goldman R, et al. 2019 European League Against Rheumatism/American College of Rheumatology Classification Criteria for Systemic Lupus Erythematosus. Ann Rheum Dis 2019;78:1151-9.

Johnson SR, Brinks R, Costenbader KH, Daikh D, Mosca M, Goldman RR, et al. Performance of the 2019 EULAR/ACR classification criteria for systemic lupus erythematosus in early disease, across sexes and ethnicities. Ann Rheum Dis 2020;79:1333-9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30