เปรียบเทียบอุณหภูมิกายด้วยวิธีวัดอุณหภูมิแกนทางจมูก ผิวหนังและทางหู ในผู้ป่วยผ่าตัดที่ได้รับการระงับความรู้สึกแบบทั่วไป

ผู้แต่ง

  • นลพรรณ ณ สงขลา กลุ่มงานวิสัญญี โรงพยาบาลตรัง

คำสำคัญ:

อุณหภูมิแกนทางจมูก, อุณหภูมิผิวหนัง, อุณหภูมิทางหู, ผู้ป่วยผ่าตัด

บทคัดย่อ

บทนำ : สถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ผ่านมา การสอดใส่เครื่องวัดอุณหภูมิชนิดใส่ในจมูกเพื่อวัดอุณหภูมิในผู้ป่วยที่รับผ่าตัดนั้นเสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อ การวัดอุณหภูมิร่างกายโดยวิธีไม่สัมผัสร่างกายจึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการติดตามอุณหภูมิกายของผู้ป่วยระหว่างผ่าตัด

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบอุณหภูมิกายด้วยวิธีวัดอุณหภูมิแกนทางจมูก ผิวหนังและทางหู

วัสดุและวิธีการศึกษา : วิจัยกึ่งทดลองในผู้ป่วยผ่าตัดที่ได้รับการระงับความรู้สึกแบบทั่วไปจำนวน 216 คน ใช้เครื่องมือวิจัยคือ 1) เครื่องมือที่ใช้ทดลอง คือ เครื่องวัดอุณหภูมิกายชนิดสายใส่ในจมูก เครื่องวัดอุณหภูมิบริเวณหน้าผากและเครื่องวัดอุณหภูมิบริเวณช่องหูชนิดอินฟราเรด และ2) แบบบันทึกข้อมูล โดยทำการวัดอุณหภูมิทั้ง 3 วิธีพร้อมกันและอ่านค่า

ผลการศึกษา :  อุณหภูมิแกนทางจมูก ผิวหนังและทางหูในผู้ป่วยผ่าตัดที่ได้รับการระงับความรู้สึกแบบทั่วไปในนาทีที่ 1 และ 30 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณาอุณหภูมิรายคู่ระหว่างการวัดอุณหภูมิแกนทางจมูกกับทางหู พบว่าอุณหภูมิเฉลี่ยไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ             (p = .787) ในขณะที่อุณหภูมิรายคู่ระหว่างการวัดอุณหภูมิทางจมูกและผิวหนัง อุณหภูมิทางหูและผิวหนัง พบว่าอุณหภูมิเฉลี่ยแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p <0.001 )

สรุป : การวัดอุณหภูมิทางหูในผู้ป่วยผ่าตัดที่ได้รับการระงับความรู้สึกแบบทั่วไปสามารถวัดอุณหภูมิได้ใกล้เคียงกับการวัดอุณหภูมิทางโพรงจมูกที่ใช้กันทั่วไปกับผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัด

คำสำคัญ :  อุณหภูมิแกนทางจมูก อุณหภูมิผิวหนัง อุณหภูมิทางหู ผู้ป่วยผ่าตัด

References

Hymczak H, Gołąb A, Mendrala K, Plicner D, Darocha T, Podsiadło P, et al. Core Temperature Measurement-Principles of Correct Measurement, Problems, and Complications. Int J Environ Res Public Health 2021;18(20): 1-8.

Poveda VdB, Nascimento AdS. Intraoperative body temperature control: esophageal thermometer versus infrared tympanic thermometer. Rev Esc Enferm USP 2016;50:946-52.

Yeoh WK, Lee JKW, Lim HY, Gan CW, Liang W, Tan KK. Re-visiting the tympanic membrane vicinity as core body temperature measurement site. Plos One 2017;12(4):e0174120.

ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย [อินเตอร์เน็ต]. ประกาศราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย ปี พ.ศ.๒๕๖๒ เรื่อง แนวทางพัฒนาการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการระงับความรู้สึก [สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2565] เข้าถึงจาก http://www.anesthai.org/public/rcat/Documents /document/ 1571131341 %B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%81% E0%B8%B1%E0%B8%9A %E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3.pdf

มนสิชา สมจิตร, นรินทร์ พลายละหาร, อัครวัฒน์ สินเกื้อกูลกิจ, วิลาวัลย์ สมดี, วิริยา ถิ่นชีลอง, พุ่มพวง สาระพาณิชย์. การศึกษาเปรียบเทียบอุณหภูมิแกนของผู้ป่วยที่ใช้ Forced-Air Warming ด้วยวิธี Modified Lower-Body Cover กับ Commercial Lower-Body Cover ในระหว่างการผ่าตัดช่องท้องขนาดใหญ่. ศรีนครินทร์เวชสาร 2564;36(4):401-8.

Yang F, Wang J, Cui J, Zhuan J, Hu X, Chen S. An Overview of the Implications for Perianesthesia Nurses in terms of Intraoperative Changes in Temperature and Factors Associated with Unintentional Postoperative Hypothermia. J Healthc Eng 2022;6955870. Published online 2022 Apr 11 doi: 10.1155/2022/6955870.

Mogensen CB, Wittenhoff L, Fruerhøj G, Hansen S. Forehead or ear temperature measurement cannot replace rectal measurements, except for screening purposes. BMC Pediatr 2018;18(1):15. doi: 10.1186/s12887-018-0994-1.

Ramirez-GarciaLuna JL, Bartlett R, Arriaga-Caballero JE, Fraser RDJ, Saiko G. Infrared Thermography in Wound Care, Surgery, and Sports Medicine: A Review. Front Physiol 2022;13:838528. doi: 10.3389/fphys.2022.838528.

Wang L, Yin H, Di Y, Liu Y, Liu J. Human local and total heat losses in different temperature. Physiol Behav 2016;157:270-6.

Hine K, Hosono S, Kawabata K, Miyabayashi H, Kanno K, Shimizu M, Takahashi S. Nasopharynx is well-suited for core temperature measurement during hypothermia therapy. Pediatr Int 2016;59(1):29-33.

Wan L, Shen PY, Zhang SX, Wang LZ. Agreement of infrared ear temperature with nasopharyngeal temperature and diagnostic performance on hypothermia in general anesthetized patients. J Chin Med Assoc 2022;85(11):1093-7.

Songlin Y, Hailiang Z, Wei W, Zhe W, editors. A novel infrared forehead thermometer with ambient temperature compensation for body temperature measurement in low-temperature environment. 5th Optics Young Scientist Summit 2022;12448. https://doi.org/10.1117/12.2626262

Bräuer A, Fazliu A, Brandes IF, Vollnhals F, Grote R, Menzel M. Evaluation of the Temple Touch Pro™ noninvasive core-temperature monitoring system in 100 adults under general anesthesia: a prospective comparison with esophageal temperature. J Clin Monit Comput 2023;37(1):29-36.

Machin G, Brettle D, Fleming S, Nutbrown R, Simpson R, Stevens R, et al. Is current body temperature measurement practice fit-for-purpose? J Med Eng Technol 2021;45(2):136-44.

Fletcher T, Whittam A, Simpson R, Machin G. Comparison of non-contact infrared skin thermometers. J Med Eng Technol 2018;42(2):65-71.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30