การศึกษาผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาซ้ำภายใน 48 ชั่วโมงโดยไม่ได้นัดหมาย ของแผนกเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
รับการรักษาซ้ำ, ห้องฉุกเฉินบทคัดย่อ
บทนำ : การกลับมาตรวจรักษาซ้ำโดยไม่ได้นัดหมาย เป็นสัญญาณบ่งชี้เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ และอาจก่อให้เกิดปัญหาอื่นตามมา การทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยกลุ่มนี้เป็นหนึ่งในวิธีการประเมินคุณภาพการดูแลผู้ป่วยที่ห้องฉุกเฉิน
วัตถุประสงค์ : ศึกษาความชุก อาการนำที่พบบ่อย และสาเหตุของการตรวจรักษาซ้ำภายใน 48 ชั่วโมงโดยไม่ได้นัดหมาย ของแผนกเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช
วิธีการศึกษา : ศึกษาเชิงพรรณนาแบบเก็บข้อมูลย้อนหลัง ตั้งแต่ 1 สิงหาคม พ.ศ.2563 ถึง 31 มกราคม พ.ศ.2565 ในผู้ป่วยที่เข้ารับการตรวจรักษาที่ห้องฉุกเฉินและกลับมาตรวจรักษาซ้ำภายใน 48 ชั่วโมง
ผลการศึกษา : ผู้ป่วยที่กลับมาตรวจรักษาซ้ำภายในระยะเวลา 48 ชั่วโมงโดยไม่ได้นัดหมาย คิดเป็นร้อยละ 0.45 โดยส่วนใหญ่มาตรวจครั้งแรกนอกเวลาราชการและมากที่สุดในเวรดึก มาด้วยกลุ่มโรคระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินหายใจ และระบบประสาท และการกลับมาตรวจรักษาซ้ำส่วนใหญ่มาจากสาเหตุการดำเนินโรคที่เปลี่ยนแปลงไป
สรุป : การกลับมาตรวจรักษาซ้ำโดยไม่ได้นัดหมาย มีความเสี่ยงต่อการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ดังนั้นการลดอัตราการกลับมาตรวจรักษาซ้ำ ต้องแก้ไขปัจจัยสำคัญ ได้แก่ ปัจจัยด้านบุคลากรทางการแพทย์ ปัจจัยด้านผู้ป่วย และปัจจัยด้านระบบการบริหารจัดการห้องฉุกเฉิน เพื่อป้องกันการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์และเพิ่มคุณภาพของห้องฉุกเฉิน
คำสำคัญ : รับการรักษาซ้ำ ห้องฉุกเฉิน
References
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). เป้าหมายความปลอดภัยของผู้ป่วยของประเทศไทยพ.ศ.2561 Patient Safety Goals: SIMPLE Thailand 2018 [Internet]. 2019 [cited2022 Apr 20]. Available from: http://mrd-hss.moph.go.th/mrd1_hss/?p=402
กระทรวงสาธารณสุข.รายละเอียดตัวชี้วัดแผนกฉุกเฉิน ประจำปีงบประมาณ 2563 [Internet]. 2020 [cited2022 Apr 20]. Available from: http://49.231.15.21/deptw1/upload/files/haF25630 422115010587.pdf
แพรว โคตรรุฉิน, ฐปนวงศ์ มิตรสูงเนิน, ปริวัฒน์ ภู่เงิน, ลัดดาวัลย์ ภักดีราช. การกลับมารักษาซ้ำโดยไม่ได้นัดหมายของผู้ป่วยแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย. KKU J Med 2017;3:29-36.
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). เกณฑ์การประเมินตนเองตามมาตรฐานการรับรองเฉพาะระบบ (Program/disease specific certification) สำหรับระบบการดูแลรักษาในห้องฉุกเฉินของสถานพยาบาล ฉบับนำร่อง พ.ศ.2563 [Internet]. 2020 [cited2022 Apr 20]. Available from: http://49.231.15.21/deptw1/upload/files/haF256304221150285009.pdf
กรมการแพทย์. Guideline for ER service delivery (คู่มือแนวทางการจัดบริการห้องฉุกเฉิน). [Internet]. 2018 [cited2022 Apr 20]. Available from: http://49.231.15.21/crhfileload /upload/files/TEAF256211050831184234.pdf
Imsuwan I. Characteristics of unscheduled emergency department return visit patients within 48 hours in Thammasat University Hospital. J Med Assoc Thai 2011;94:73-80.
Sri-On J, Nithimathachoke A, Tirrell GP, Surawongwattana S, Liu SW. Revisits within 48 Hours to a Thai Emergency Department. Emerg Med Int 2016;2016.1-5.
วัฒนา นำพล. การศึกษาผู้ป่วยกลับมาตรวจซ้ำภายใน 48 ชั่วโมงที่ห้องฉุกเฉิน และรับเป็นผู้ป่วยในของโรงพยาบาลลำพูน (The Study of Revisited Patients within 24 Hours at the Emergency Room and were Admitted in Lamphun Hospital). วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมล้านนา 2558;5(2):24-9
Tangkulpanich P, Yuksen C, Kongchok W, Jenpanitpong C. Clinical Predictors of Emergency Department Revisits within 48 Hours of Discharge; a Case Control Study. Arch Acad Emerg Med 2020;9(1):e1.
Alshahrani M, Katbi F, Bahamdan Y, Alsaihati A, Alsubaie A, Althawadi D, et al. Frequency, Causes, and Outcomes of Return Visits to the Emergency Department Within 72 Hours: A Retrospective Observational Study. J Multidiscip Healthc 2020;13:2003-10.
Wu CL, Wang FT, Chiang YC. Unplanned emergency department revisits within 72 hours to a secondary teaching referral hospital in Taiwan. J Emerg Med 2010;38(4):512-7.
Loi SL, Hj Fauzi MH, Md Noh AY. Unscheduled early revisit to emergency department. Hong Kong J Emerg Med 2018;25(5):264-71.
Verelst S, Pierloot S, Desruelles D, Gillet JB, Bergs J. Short-term unscheduled return visits of adult patients to the emergency department. J Emerg Med 2014;47(2):131-9.
Abualenain J, Frohna WJ, Smith M. The prevalence of quality issues and adverse outcomes among 72-hour return admissions in the emergency department. J Emerg Med 2013;45(2):281-8.
Tsai IT, Sun CK, Chang CS, Lee KH, Liang CY, Hsu CW. Characteristics and outcomes of patients with emergency department revisits within 72 hours and subsequent admission to the intensive care unit. Ci Ji Yi Xue Za Zhi 2016;28(4):151-6.
Hutchinson CL, McCloughen A, Curtis K. Incidence, characteristics and outcomes of patients that return to Emergency Departments. An integrative review. Australs Emerg Care 2019;22(1):47–68.
Pellerin G, Gao K, Kaminsky L. Predicting 72-hour emergency department revisits. The Am J Emerg Med 2018;36(3):420–4.
Hu KW, Lu YH, Lin HJ, Guo HR, Foo NP. Unscheduled return visits with and without admission post emergency department discharge. J Emerg Med 2012;43(6):1110–8.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ก่อนเท่านั้น