ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อพฤติกรรมสุขภาพ และภาวะโภชนาการ ของบุคลากรที่มีภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนโรงพยาบาลทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • พัทธ์ธิดา จินตนปัญญา กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, บุคลากร, ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน

บทคัดย่อ

บทนำ : โรคอ้วนเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขที่ต้องดูแลอย่างเร่งด่วน และเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาสุขภาพต่างๆ จากผลการตรวจสุขภาพประจำปีโรงพยาบาลทุ่งสง 3 ปีย้อนหลังพบว่า 1 ใน 3 ของบุคลากร มีภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน

วัตถุประสงค์:  เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อพฤติกรรมสุขภาพและภาวะโภชนาการ ของบุคลากรที่มีภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน โรงพยาบาลทุ่งสง

วัสดุและวิธีการศึกษา : การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรโรงพยาบาลทุ่งสงที่มีภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนจำนวน 66 ราย โดยการ  สุ่มอย่างง่ายเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 33 ราย กลุ่มควบคุมได้รับเอกสารแผ่นพับความรู้  โรคอ้วนและคู่มือการคุมอาหาร ส่วนกลุ่มทดลองจะได้รับโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก  3 อ. ที่สร้างขึ้นจากทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ร่วมกับ แรงสนับสนุนทางสังคม เป็นเวลา 12 สัปดาห์ และติดตามผลต่อเนื่องที่ 24 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคอ้วน  เจตคติต่อการลดน้ำหนัก และแบบประเมินตนเองในเรื่องพฤติกรรมสุขภาพซึ่งตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา (CVI) เท่ากับ 1  ค่าดัชนีความสอดคล้องของเครื่องมือ (Reliability) เท่ากับ 0.77, 0.71 และ 0.84 ตามลำดับ ประเมินภาวะโภชนาการโดยคำนวณค่าดัชนีมวลกายและการวัดเส้นรอบเอว  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS ใช้สถิติเชิงพรรณนา (ร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) เปรียบเทียบความแตกต่างภายในกลุ่มด้วย Paired t-test และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วย Independent sample t-test กำหนดนัยสำคัญที่ระดับ 0.05

ผลการศึกษา: หลังทดลองที่ 12 และ 24 สัปดาห์ กลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคอ้วน  เจตคติต่อการลดน้ำหนัก พฤติกรรมสุขภาพ สูงกว่าก่อนทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เส้นรอบเอว ลดลงกว่าก่อนทดลองและลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนดัชนีมวลกายลดลงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม

สรุป: สามารถนำโปรแกรมนี้มาใช้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มวัยทำงานที่มีภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนได้ เนื่องจากทำให้กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วน เจตคติต่อการลดน้ำหนักและพฤติกรรมสุขภาพที่ดีขึ้น ส่งผลให้ค่าดัชนีมวลกายและรอบเอวลดลง และยังคงพฤติกรรมสุขภาพได้ต่อเนื่องหลังสิ้นสุดโครงการ 12 สัปดาห์

คำสำคัญ: โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  บุคลากร  ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน

References

World Health Organization. Obesity and overweight; 9 June 2021[internet]. [cited 2022 April 26].Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail /obesity-and-overweight.

Nuys KV, Globe D, Mak DN, Cheung H, Sullivan J, Goldman D. The association between employee obesity and employer costs: evidence from a panel of U.S. employers. American Journal Health Promotion 2014;5:277-85.

วิชัย เอกพลากร(บก).รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ.2562-2563. พิมพ์ครั้งที่1. อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2564:169-76.

Pitayatienanan P, et al. Economic costs of obesity in Thailand: a retrospective cost-of-illness study. Pubmed. 2014;14:146.

เปรมยศ เปี่ยมนิธิกุล.ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนกับการลาป่วยของคนงานโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์แห่งหนึ่ง.[วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2556

กนกนันท์ สมนึก,กุลรัตน์ สายธิไชย, กิตติพงศ์ อ้วนแก้ว, รุ่งนภา ศิริพรไพบูลย์, อานนท์ ทองคงหาญ. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะอ้วนลงพุงในบุคลากรโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยาตากสินมหาราช. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง.2021;65:27-36.

Dankyau M, Shu'aibu JA, Oyebanji AE, Mamven OV. Prevalence and correlates of obesity and overweight in healthcare workers at a tertiary hospital. Journal of Medicine in the Tropics 2016. 18;2:55-9.

สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันและดูแลรักษาโรคอ้วน.พิมพ์ครั้งที่1.กรุงเทพ:ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย;2553

สุธรรม นันทมงคลชัย.วิจัยอนามัยครอบครัว.พิมพ์ครั้งที่2.กรุงเทพฯ;ประยูรสาส์นไทยการพิมพ์;2562.

Rosenstock IM.The health belief model and preventive health behavior.Health Education Monographs 1974;2:354-86.

House JS. Social support and social structure. Soc Forum 1987; 2(1):135-46.

Prochaska JO, DiClemente CC. Stages and processes of self-change of smoking: Toward an integrative model of change. Journal of Counseling and Clinical Psychology 1983;51:390-5.

อรรถพงษ์ ชุ่มเขียว, กาญจนา ทองบุญนาค, อุบล ชื่นสำราญ, ณัฐิยา ตันตรานนท์. ประสิทธิผลของโปรแกรมควบคุมน้ำหนักที่เน้นเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การรับประทานอาหารในนักศึกษาที่มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน. วารสารพยาบาลสาร. 2562;3:106-17.

ศุภชัย สามารถ,จุฬาภรณ์ โสตะ.ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ใช้ความสามารถตนเองร่วมกับขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อการลดน้ำหนักในกลุ่มวัยทำงานอายุ 40-49 ปีที่มีภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนตำบลหนองกุงเซิน อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น.2559;23:34-45.

นฤมล เพิ่มพูน, วนลดา ทองใบ, ลภัสรดา หนุ่มคำ. ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อพฤติกรรมสุขภาพและภาวะโภชนาการของพนักงานในสถานประกอบการที่มีภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐาน.รามาธิบดีพยาบาลสาร. 2016;22:177-91

เกรียงศักดิ์ สมบัติ สุรนาถวัชวงศ์, ไพบูลย์ พงษ์แสงพันธ์, กาญจนา พิบูลย์. ประสิทธิผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อภาวะอ้วนของบุคลากรคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. บูรพาเวชสาร.2563;7:23-38.

ทวีศักดิ์ เทพพิทักษ์.การใช้แบบจำลองKAPกับการศึกษาพฤติกรรมและทัศนคติการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ของคนประจำเรือไทย.วารสารวิทยาการจัดการ ม.ราชภัฎเชียงราย.2556;8:84-102.

อรนภา ทัศนัยนา. ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายที่มีต่อค่าดัชนีมวลกายและเปอร์เซ็นต์ไขมันของหญิงที่มีภาวะน้ำหนักเกิน. วารสารสุขศึกษา พลศึกษาและสันทนาการ.2561;44:303-17

Christensen JR, Overgaard K, Carneiro IG, Holtermann A & Sogaard K. Weight loss among female health care workers- a 1-year workplace based randomized controlled trial in the FINALE-health study. BMC Public Health.2012;12:625.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30