คุณภาพชีวิตในผู้ป่วยเด็กโรคธาลัสซีเมียที่เข้ารับเลือดเป็นประจำ ในโรงพยาบาลทุ่งสง และโรงพยาบาลเครือข่าย

ผู้แต่ง

  • เพ็ญศิริ พันธุวงศ์ โรงพยาบาลทุ่งสง

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต, ผู้ป่วยเด็ก, ธาลัสซีเมีย

บทคัดย่อ

บทนำ: โรคธาลัสซีเมีย (thalassemia) เป็นโรคติดต่อทางพันธุกรรมมีอุบัติการณ์ที่พบได้สูงสุดในประเทศไทย ซึ่งเป็นโรคโลหิตจางเรื้อรังที่เกิดจากความผิดปกติของยีนการเจ็บป่วยส่งผลกระทบต่อระดับคุณภาพชีวิตและปัญหาทางจิตใจของผู้ป่วย และครอบครัวของผู้ป่วย

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาระดับคะแนนและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับคะแนนคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียที่เข้ารับเลือดเป็นประจำในโรงพยาบาลทุ่งสงและโรงพยาบาลเครือข่าย

วัสดุและวิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางเชิงพรรณนา คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามคุณภาพชีวิตสำหรับเด็ก (PedsQLTM) รุ่นที่ 4.0 โดยแปลเป็นภาษาไทยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ t-test และ ANOVA โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

ผลการศึกษา: ผลวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่าง 47 คนเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยมีอายุเฉลี่ย 11.80 ปี ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 8-12 ปีร้อยละ 57.40และกำลังเรียนอยู่ในระดับประถมศึกษาปีที่ 1-3ถึงร้อยละ 48.90 กลุ่มโรคธาลัสซีเมียชนิด β thalassemia/HbEพบมากที่สุด ร้อยละ 76.60 ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธมากถึงร้อยละ 93.60 ด้านผู้ดูแลส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับมัธยม ร้อยละ 42.60 ประกอบอาชีพเกษตรกร ส่วนใหญ่ร้อยละ 55.30 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนส่วนใหญ่ น้อยกว่า 10,000 บาท ร้อยละ 61.70 ระดับคะแนนคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง(68.46±10.74) ด้านอารมณ์มีค่าสูงสุด (76.28±14.46) ด้านโรงเรียนมีค่าน้อยที่สุด (60.10±14.73)ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ได้แก่ เพศ ศาสนา ชนิดยาขับเหล็ก การวินิจฉัย

สรุป: คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมียอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ส่วนใหญ่มาจากพยาธิสภาพของโรคและการรักษา การปรับแผนการรักษาและการเข้าถึงบริการ ลดระยะเวลาการรับบริการการสร้างเครือข่ายสุขภาพ จะช่วยให้พัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมีย และผู้ดูแลได้

References

จิตสุดา บัวขาว, บรรณาธิการ. แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยธาลัสซีเมียในเวชปฏิบัติทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: สำนักวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2560.

จุฑารัตน์ น้อยเจริญ. ความชุกของธาลัสซีเมียและความผิดปกติของฮิโมโกลบินของผู้มารับบริการตรวจคัดกรองธาลัสซีเมีย โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา สภากาชาดไทย. วชิรเวชสารและวารสารศาสตร์เขตเมือง. 2562;1(63):55–64.

Ali T. Taher, Rayan Bou-Fakhredin, AntonisKattamis, VipViprakasit, Maria Domenica Cappellini. Improving outcomes andquality of life for patients with transfusion-dependentβ-thalassemia: recommendations for best clinical practice and the use of novel treatment strategies. Expert Review of Hematology. 2021;14(10): 897–909.

Lu Zhai, Yuhua Liu, RongruiHuo, Zhaofang Pan, Juan Bin, Zhi Li, et al. Quality of Life in Patients with β-thalassemia Major: Short-term and Long-term Effects After Haematopoietic Stem Cell Transplantation. Current Stem Cell Research & Therapy.2021;16(8):924–30.

MohemmedAjij, Harish K. Pemde, Jagdish Chandra. Quality of Life of Adolescents With Transfusion-dependent Thalassemia and Their Siblings: A Cross-sectional Study. Journal of Pediatric Hematology/Oncology.2015;37(3):200–3.

Mehran Khodashenas, Parham Mardi, NooshinTaherzadeh-Ghahfarokhi, Bahareh Tavakoli-Far, MahnazJamee, NiloofarGhodrati. Quality of Life and Related Paraclinical Factors in Iranian Patients with Transfusion-Dependent Thalassemia. Amir Radfar, Ed. Journal of Environmental and Public Health. 2021;2021:1–6.

James W. Varni, Michael Seid, Cheryl A. Rode. The PedsQLTM: Measurement Model for the Pediatric Quality of Life Inventory: Medical Care.1999;37(2):126–39.

James W. Varni, Michael Seid, Tara Smith Knight, Karen Uzark, Ilona S. Szer. The PedsQL 4.0 Generic Core Scales: sensitivity, responsiveness, and impact on clinical decision-making. Journal of Behavioral Medicine. 2002;25(2):175–93.

Varni JW, Seid M, Kurtin PS. PedsQLTM 4.0: Reliability and Validity of the Pediatric Quality of Life InventoryTM Version 4.0 Generic Core Scales in Healthy and Patient Populations: Medical Care. 2001;39(8):800–12.

Varni JW, Burwinkle TM, Seid M, Skarr D. The PedsQLTM 4.0 as a Pediatric Population Health Measure: Feasibility, Reliability, and Validity. Ambulatory Pediatrics. 2003;3(6):329–41.

Sritipsukho P, Wisai M, Thavorncharoensap M. Reliability and validity of the Thai version of the Pediatric Quality of Life Inventory 4.0. Quality of Life Research. 2013;22(3):551–7.

รัชดาพร ปุยนุเคราะห์. การศึกษาคุณภาพชีวิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมียในโรงพยาบาลหนองคาย. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2565;19(2):113–26.

ประกริต รัชวัตร์, นัยนา ภูลม. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตเด็กธาลัสซีเมีย. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2565;15(1):334–49.

Asrul Akmal Shafie, Irwinder Kaur Chhabra, Jacqueline Hui Yi Wong, Noor Syahireen Mohammed, HishamshahMohd Ibrahim, Hamidah Alias. Health-related quality of life among children with transfusion-dependent thalassemia: A cross-sectional study in Malaysia. Health Qual Life Outcomes. 2020;18(141):1-11.

พชรพรรณ สาริสุต. คุณภาพชีวิตและความชุกของภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยเด็กโรคธาลัสซีเมีย ในศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน. วารสารสาธารณสุขศาสตร์. 2562;49(2):200–9.

รุ่งฤดี วงศ์ชุม, รัตน์เกล้า ปราบสมรชัย, ดวงนภา ทุบแป้น. การศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเด็กโรคธาลัสซีเมียที่มารับเลือดในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลลำพูน. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม. 2564;22(43):21–34.

KooroshEtemad, Parisa Mohseni, Mohammad Aghighi, Ayad Bahadorimonfared, RaziehHantooshzadeh, NiloufarTaherpour,et al. Quality of Life and Related Factors in β-Thalassemia Patients. Hemoglobin. 2021;45(4):245–9.

ธนิดา ทีปะปาล. ผลการทำกลุ่มช่วยเหลือตนเองต่อคุณภาพชีวิตด้านจิตใจของผู้ป่วยเด็กวัยรุ่นโรคมะเร็ง [วิทยานิพนธ์]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2557.

Zeze TH. Atwa, Wafaa Y. Abdel Wahed. The impact of illness perception and socio‐clinico‐demographic factors on perceived quality of life in children and adolescents with thalassemia intermedia. Pediatric Blood & Cancer. 2019;66(7):e27735.

Humaira Yasmeen, Shahida Hasnain. Quality of Life of Pakistani Children with β-Thalassemia Major. Hemoglobin. 2018;42(5–6):320–5.

วิปร วิประกษิต. แนวทางเวชปฏิบัติในการรักษาภาวะเหล็กเกินด้วยยาดีเฟอริโฟรน.พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: องค์การเภสัช; 2552.

รัชนีกร กุตระแสง. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการครอบครัวต่อการจัดการของมารดาและภาวะสุขภาพของเด็กวัยเรียนที่ป่วยด้วยโรคธาลัสซีเมีย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2559.

Nagiria VR, Vince JD, Duke T. Living with thalassaemia in Papua New Guinea, the experience of children, adolescents and their families. Journal of Pediatrics and Child Health. 2021;57(10):1589–93.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-01