ผลการรักษามะเร็งหลังโพรงจมูกในโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
มะเร็งหลังโพรงจมูกผลการรักษามะเร็งหลังโพรงจมูก, อัตราการรอดชีวิต, อัตราการกลับเป็นซ้ำบทคัดย่อ
บทนำ : มะเร็งหลังโพรงจมูกเป็นมะเร็งบริเวณศีรษะและคอที่พบได้มากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงประเทศไทย โดยมีอุบัติการณ์พบเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งช่องปากส่วนใหญ่รักษาด้วยวิธีฉายรังสีและให้ยาเคมีบำบัดขั้นตอนการรักษาใช้เวลานาน โดยเฉพาะเมื่อต้องส่งผู้ป่วยไปรับการฉายรังสีจากสถาบันอื่น ๆ ที่มีความพร้อมมากกว่า ปัจจุบันโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราชได้พัฒนาความพร้อมด้านการฉายรังสีจึงน่าจะได้ศึกษาผลการรักษามะเร็งหลังโพรงจมูกของสถาบัน
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลการรักษามะเร็งหลังโพรงจมูกของผู้ป่วยที่รักษาในโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช โดยพิจารณาอัตราการรอดชีวิต (Overall survival rate) และการกลับมาเป็นซ้ำของโรค (Recurrence rate) ตลอดจนปัจจัยที่มีผลต่อการรอดชีวิตและการกลับมาเป็นซ้ำของโรค
วัสดุและวิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง (Retrospective study) โดยทบทวนเวชระเบียนหรือข้อมูลจากฐานข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ของผู้ป่วยมะเร็งหลังโพรงจมูกที่รักษาในโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราชในระยะเวลา 3 ปีการคัดเลือกผู้ป่วยดังนี้ ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยโรคโดยผลการตรวจทางมิญชวิทยาจากพยาธิแพทย์ภายนอกหรือภายในโรงพยาบาล การรักษาแบ่งเป็น 4 วิธี คือ วิธีที่ 1 ฉายรังสีอย่างเดียว วิธีที่ 2 ให้ยาเคมีบำบัดร่วมกับการฉายรังสี วิธีที่ 3 ให้ยาเคมีบำบัดเป็นตามหลังฉายรังสีร่วมกับยาเคมีบำบัด วิธีที่ 4 ให้ยาเคมีบำบัดสูตรนำก่อนให้ยาเคมีบำบัดร่วมกับการฉายรังสีอาจให้ยาเคมีบำบัดหลังการฉายรังสีหรือไม่ก็ได้ เลือกวิธีรักษาโดยพิจารณาจากแนวทางมาตรฐาน NCCN (The National Comprehensive Cancer Network) บันทึกอัตราการรอดชีวิตในช่วงเวลา 3 ปี และการกลับมาเป็นซ้ำนับจากการรักษาสิ้นสุดจนจบการศึกษา ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยจะวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณา อัตราการรอดชีวิตและการกลับเป็นซ้ำวิเคราะห์ด้วย survival analysis และปัจจัยที่มีผลฯจะวิเคราะห์ด้วย Spearman correlation analysis
ผลการศึกษา: มีผู้ผ่านเกณฑ์คัดเข้าของการศึกษา 42 รายส่วนใหญ่เป็นเพศชาย(ร้อยละ 78.57) อายุเฉลี่ย 53.71 ปีผู้ป่วยครึ่งหนึ่งมีดัชนีมวลกายน้อยกว่า 23 กก/ม2การวินิจฉัยทางมิญชวิทยาส่วนใหญ่เป็นชนิด poorly differentiated squamous cell carcinoma (ร้อยละ47.62) โดยครึ่งหนึ่งอยู่ในระยะที่3อาการนำของโรคที่พบมากที่สุดคือ ต่อมน้ำเหลืองโต (ร้อยละ 54.76) ผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้รับการรักษาด้วยวิธีที่ 4 จำนวน 16 ราย (ร้อยละ 38.10) ระยะเวลาในการติดตามผลการรักษา 3 ปี พบอัตราการรอดชีวิตรวมร้อยละ 90.47 อัตราการกลับมาเป็นซ้ำของโรคร้อยละ 7.14 โดยพบว่าระยะของโรคมะเร็งมีผลต่อทั้งอัตราการรอดชีวิตและอัตราการกลับเป็นซ้ำอย่างมีนัยสำคัญ (p-value 0.028 และ 0.022 ตามลำดับ)ส่วนการมีโรคประจำตัวของผู้ป่วยมีผลต่อการกลับมาเป็นซ้ำของโรคอย่างมีนัยสำคัญ (p-value 0.033)
สรุป : ภายหลังที่โรงพยาบาลมหาราชฯ ได้พัฒนาวิธีการรักษาผู้ป่วยมะเร็งหลังโพรงจมูกครบทุกบริบท โดยเฉพาะฉายรังสีและเคมีบำบัดจึงน่าจะมีส่วนช่วยให้อัตราการรอดชีวิตและอัตราการกลับเป็นซ้ำของโรคดีขึ้น มี overall survival และ disease free survival ที่ดีใกล้เคียงกับศูนย์การรักษาทั้งในและต่างประเทศทั้งนี้ปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นซ้ำคือการมีโรคประจำตัวและระยะของโรคมะเร็ง ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อระยะเวลาการมีชีวิตรอดของผู้ป่วยคือระยะของโรคมะเร็ง
คำสำคัญ : มะเร็งหลังโพรงจมูกผลการรักษามะเร็งหลังโพรงจมูก อัตราการรอดชีวิต อัตราการกลับเป็นซ้ำ
References
Flint PW, Haughey BH, Lund VJ, Niprako JK, Robbins KT, Thomas JR, et al. Cummings otolaryngology head and neck surgery. 6thed. Philadelphia: Elsevier Inc; 2015.
พนา กล่ำคำ, รุตติ ชุมทอง, จเร เกียรติศิริชัย, สุพิชา วงษ์พูล, ไนยรัฐ ประสงค์สุข,ธีรยสถ์นิมมานนท์ และคณะ. อัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งหลังโพรงจมูกในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ระหว่าง พ.ศ. 2552-2560. เวชสารแพทย์ทหารบก 2561; 71(4): 235-43.
Stelow EB, Wenig BM. Update From The 4th Edition of the World Health Organization Classification of Head and Neck Tumours: Nasopharynx. Head and Neck Pathol 2017; 11: 16–22.
Wang W, Feng M, Fan Z, Li J, Lang J. Clinical outcome and prognostic factors of 695 nasopharyngeal carcinoma patients treated with intensity-modulated radiotherapy. Biomed Res Int 2014; 2014: 1-10.
Siti-Azrin AH, Norsaadah B, Naing NN. Prognostic factors of nasopharyngeal carcinoma patients in a tertiary referal hospital: a restrospective cohort study. BMC rest Notes 2017; 10: 705.
Pfister DG, Spencer S, Delstein DA, Adkins D, Brizel DM, Bruce JY. et al. NCCN guideline version 1.2021 Head and Neck Cancers National comprehensive cancer network. 2020.
Ch’ ng WPP, Law KB, Khoo JYY. Nasopharyngeal carcinoma: A retrospective review of outcome in asingle institution. Ann Oncol 2019; 30: ix100.
Huang TL, Tsai MH, Chuang HC, Chien CY, Lin YT, Tsai WL, et al. Quality of life and survival outcome for patients with nasopharyngeal carcinomatreated by volumetric-modulated arctherapy versus intensity-modulatedradiotherapy. Radiation Oncology 2020: 1-9.
Dou H, Hu D, Lam C, Liu Y, Wang X, Zhang W. Retrospective analysis of result of treatments for nasopharygeal carcinoma in Macao. Chin J Cancer Res 2014; 26(2): 148-58.
Clement A, Hao R, Xiaofeng W, Xue JZ, Sha L, Ping Z, et al. Retrospective Analysis of 5-Year Survival Rate of Nasopharyngeal Carcinoma:Correlation with Clinical Features and Prognosis. J Cancer Res Therap Oncol 2019; 7: 1-16.
Mäkitie A, Ruuskanen M, Bentzen J, Brun E, Gebre-Medhin M, Friesland S, et al.The management and survival outcomes ofnasopharyngeal cancer in the Nordic countries. Acta Oncologica 2018; 57(4): 557-62.
AbdElW SA, Mohammed DA, Gaballah AM, Abdallah MM. Three-Dimensional Conformal versus Intensity Modulated Radiation Therapy inTreatment of Nasopharyngeal Carcinoma. Egypt J Hosp Med 2018; 71: 3492-9.
Simo R, Robinson M, Lei M, Sibtain A, Hickey S.Nasopharyngeal carcinoma: United kingdom national multidisciplinary guidelines. The journal of laryngology&otology 2016; 130: S97-103.
Ni W, Qi W, Xu F, Cao W, XuCh, Gao Y, et al. Prognostic value of nasopharynxtumour volume in local-regional advanced nasopharyngeal carcinoma. ATM 2020; 8(5): 1-11
Farias TP, Dias FL, Lima RA, Kligerman R, Da sa GM, Barbosa MM, et al. Prognosis factor and outcome for nasopharyngeal carcinoma. Arch otolaryngol head neck surg 2003; 129: 794-9.
พรเทพ เกษมศิริ, คัททียา รองทอง, กฤติกา สุวรรณรุ่งเรือง. อัตราการรอดชีวิตในการรักษามะเร็งหลังโพรงจมูกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์: ศึกษาย้อนหลัง 10 ปี. ศรีนครินทร์เวชสาร 2558; 30(2): 80-6.
Wu L, Liu Y, Jiang N, Fan Y, Wen J, Huang Sh. Ten-year survival outcomes for patients with nasopharyngeal carcinoma receiving intensity-modulated radiotherapy: An analysis of 614 patients from a single center. Oral Oncol 2017; 69: 26-32.
Susanna HH, Daniel H, Kartika WT, Mardiah SH, Ibnu P, IbnuRI. Survival outcome and prognostic factors of patients with nasopharyngeal cancer in Yogyakarta, Indonesia: A hospital-based retrospective study. PLOS One 2021; 1-20.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ก่อนเท่านั้น