ผลการรักษาผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมโดยการฉีดพลาสม่าที่อุดมด้วยเกล็ดเลือด ในจังหวัดนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
พลาสม่าที่อุดมด้วยเกล็ดเลือด, ข้อเข่าเสื่อมบทคัดย่อ
บทนำ: โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคอันดับ 1 ของแผนกผู้ป่วยนอกศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช การฉีดพลาสม่าที่อุดมด้วยเกล็ดเลือด (PRP)โดยตรงที่บริเวณแผลที่เกิดจากกระดูกอ่อนเป็นการรักษาซ่อมแซมผิวข้อกระดูกอ่อนเข่าด้วยวิธีใกล้เคียงธรรมชาติที่สุดใช้ส่วนประกอบหรือเซลล์ของผู้ป่วยเองทำให้ไม่มีปัญหาการแพ้ ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มในทุกกองทุนสิทธิ์การรักษาพยาบาล จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมระดับปานกลาง oxford score มากกว่า 9 และไม่มีการผิดรูปของข้อเข่า
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการรักษาผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมโดยการฉีดพลาสม่าที่อุดมด้วยเกล็ดเลือด
วัสดุและวิธีการศึกษา: คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคเข่าเสื่อมปฐมภูมิระดับปานกลาง oxford score มากกว่า 9 และยังไม่มีการผิดรูปของข้อเข่า เข้ารับการฉีดพลาสม่าที่อุดมด้วยเกล็ดเลือด (PRP) ที่เตรียมจากเลือดของผู้ป่วยเองเข้าเข่าข้างละ 5 มล.2 เข็ม แต่ละเข็มห่างกัน 1 เดือน ติดตามผลการรักษาหลังฉีดครบ 2 เข็มที่1 สัปดาห์, 3 สัปดาห์, 3 เดือน, และ 6 เดือน ประเมินผลด้วยแบบสอบถาม Modified WOMAC ฉบับภาษาไทย
ผลการศึกษา: มีผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมรับการฉีดพลาสม่าที่อุดมด้วยเกล็ดเลือด (PRP)เข้าข้อเข่า จำนวน 21 ราย อยู่ในช่วงอายุ 40-70 ปี อายุเฉลี่ย 65.5 ปี เพศชาย 6 ราย(28.57%) เพศหญิง 15 ราย(71.43%) ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) อยู่ในช่วง 28.3 – 37.5 ค่าเฉลี่ย 30.03 WOMAC score ก่อนทำการรักษามีค่าเฉลี่ย 67.9±7.3หลังฉีดครบทั้ง 2 เข็ม เปรียบเทียบWOMAC score พบว่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญที่ P-values <0.001 ทั้งหลังฉีด 1 สัปดาห์กับ 1 เดือน (67.1±7.9 กับ 43.8±8.2),1 สัปดาห์กับ 3 เดือน (67.1±7.9 กับ 34.8±6.9),1 สัปดาห์กับ 6 เดือน (67.1±7.9 กับ 38.7±6.6),1 เดือนกับ 3 เดือน (43.8±8.2 กับ 34.8±6.9),1 เดือนกับ 6 เดือน (43.8±8.2 กับ 38.7±6.6) ยกเว้น 3 เดือนกับ 6 เดือน(34.8±6.9กับ 38.7±6.6) P-values =0.003
สรุป: การฉีดพลาสม่าที่อุดมด้วยเกล็ดเลือด (PRP)เข้าข้อเข่า 2 เข็มในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมชนิดปฐมภูมิที่ oxford score มากกว่า 9 และมุมของขาวัดจากภาพถ่ายทางรังสีโก่งน้อยกว่า 10 องศา จึงเป็นการรักษาที่ได้ผลดีมากในช่วง 3 เดือนแรก และได้ผลลัพธ์ที่ดีในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน
References
2. Anitua E. Plasma rich in growth factors: pre-liminary results of use in the preparation of future sites for implants. Int J Oral Maxillofac Implants.1999;14(4):529-535.
3. Clausen C,HermundNU,DonatskyO,NielsenH,Osther K. Homologous activated platlets stimulate differentiation and proliferation of primary human bone cells.Cells,tissues, organs.2006;184(2):68-75.
4. ดารินต์ณัฏ บัวทอง, จรินทร์ บัวแก้ว, จุฑารัตน์ นักฟ้อน.Comparison of Platelet Concentrates Prepared from Platelet Rich Plasma-Platelet Concentrate and Buffy Coat Poor-Platelet Concentrate on Storage Days 1 and 5. Songklanagarind Medical Journal.2017;35(1):5-16.
5. Rahul Kadam, Ankit Agrawal, AbhayChhallani, Santosh Pandhre,Abhishek Gupta, RiteshSawant.To assess the effects of platelet rich plasma application on pain inosteoarthritis knee.Int J Res Orthop. 2017 May;3(3):436-439.
6. Marcos Edgar Fernández-Cuadros,Olga Susana Pérez-Moro,MaríaJesúsAlbaladejo- Florín, Beatriz Entrambasaguas-Estepa,RubénAlgarra-López. Effectiveness of platelet-rich plasma (PRP) on pain, function and quality of life in knee osteoarthritis patients: a before-and-after study and review of the literature. MOJ Orthopedics & Rheumatology .2018;10(3):202-208.
7. Wen-Li Dai, M.Sc., Ai-Guo Zhou, M.D., Hua Zhang, M.D., and Jian Zhang, M.D. Efficacy of Platelet-Rich Plasma in the Treatment of Knee Osteoarthritis: A Meta-analysis of Randomized Controlled Trials. The Journal of Arthroscopic and Related Surgery.2017 March;33(3):659-670.
8. Thana Turajane MD, UkritChaweewannakorn MD, VirojLarbpaiboonpongMD, Jongjate
Aojanepong MD, ThakoonThitiset PhD, SittisakHonsawek MD, PhD,Juthatip FongsarunMD,Konstantinos I Papadopoulos MD, PhD.Combination of Intra-Articular Autologous ActivatePeripheral Blood Stem Cells with Growth Factor Addition/ Preservation andHyaluronicAcid in Conjunction withArthroscopicMicrodrilling MesenchymalCellStimulationImproves Quality of Life and Regenerates Articular Cartilage in Early Osteoarthritic Knee Disease.J Med Assoc Thai2013; 96 (5):1-9.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ก่อนเท่านั้น