การรักษาทางทันตกรรมจัดฟันเพื่ออำพรางความผิดปกติของโครงสร้างกระดูกขากรรไกร ในผู้ป่วยที่มีโครงสร้างกะโหลกศีรษะและใบหน้าและการสบฟันผิดปกติประเภทที่ 3 ที่หมดการเจริญเติบโตแล้ว: รายงานผู้ป่วย

ผู้แต่ง

  • แจ่มจรัส สอนง่าย กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลท่ายาง

คำสำคัญ:

การสบฟันผิดปกติประเภทที่ 3, โครงสร้างกะโหลกศีรษะและใบหน้าประเภทที่ 3, การจัดฟันเพื่ออำพรางความผิดปกติของโครงสร้างกระดูกขากรรไกร

บทคัดย่อ

การรักษาทางทันตกรรมจัดฟันในผู้ป่วยที่มีโครงสร้างกะโหลกศีรษะและใบหน้าประเภทที่ 3 ที่หมดการเจริญเติบโตแล้วประกอบด้วย 2 วิธี คือ การจัดฟันเพื่ออำพรางความผิดปกติของโครงสร้างกระดูกขากรรไกรและการจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนตำแหน่งขากรรไกร ซึ่งการตรวจทางคลินิกวิเคราะห์และวางแผนการรักษา รวมถึงการคงสภาพฟันอย่างถูกต้องเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละรายมีความสำคัญอย่างมากต่อผลสำเร็จของการรักษา บทความนี้เป็นการนำเสนอผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 17 ปี มีโครงสร้างกะโหลกศีรษะและใบหน้าและการสบฟันผิดปกติประเภทที่ 3 ร่วมกับฟันบนซ้อนเกระดับปานกลาง ฟันหน้าสบไขว้ และผู้ป่วยสามารถกัดสบแบบปลายฟันชนกันได้ ซึ่งแผนการรักษาของผู้ป่วยรายนี้ คือ การจัดฟันเพื่ออำพรางความผิดปกติของโครงสร้างกระดูกขากรรไกรโดยไม่ถอนฟัน จากผลการรักษาพบว่าผู้ป่วยพึงพอใจ มีฟันเรียงเรียบ การสบฟันดี ใบหน้าด้านข้าง และรอยยิ้มสวยขึ้น

References

1. Ngan P, Moon W. Evolution of class III treatment in orthodontics. Am J Orthod Dentofacial Orthop 2015;148:22-36.
2. Proffit WR. Contemporary orthodontics. 4th ed. St. Louis: Mosby; 2007.
3. Uslu O, Akcam MO. Evaluation of long-term satisfaction with orthodontic treatment for skeletal class III individuals. Journal of Oral Science 2007;49:31-9.
4. Ning F, Duan Y, Huo N. Camouflage treatment in skeletal Class III cases combined with severe crowding by extraction of four premolars. Orthodontic Waves 2009;68:80–7.
5. Troy BA, Shanker S, Fields HW, Vig K, Johnston W. Comparison of incisor inclination in patients with class III malocclusion treated with orthognathic surgery or orthodontic camouflage. Am J Orthod Dentofacial Orthop 2009;135:146.e1-9.
6. Kerr WJ, Miller S, Dawber JE. Class III malocclusion: surgery or orthodontics? Br J Orthod 1992;19:21-4.
7. Musich DR. The threshold: limits of non-surgical treatment for the class III skeletal patient. The 106th AAO Annual Session; 2006 May 5-9; Las vegas, USA.
8. Mair A, Lou T. Non-surgical compensation of skeletal class III malocclusions. Oral Health Journal 2019. Available from: https://www.oralhealthgroup.com/
9. Gurkeerat S. Textbook of orthodontics. 3rd ed. New delhi: The health sciences publisher; 2015.
10. Pudyani PS, Sutantyo D, Suparwitri S. Morphological changes of alveolar bone due to orthodontic movement of maxillary and mandibulary incisors. Dent J (Maj. Ked. Gigi) 2008;41:21-4.
11. Woodeside D. Do functional appliance have an orthopedic effect? Am J Orthod Dentofacial orthop 1998;113:11-4.
12. Nanda RS, Tosun Y.S. Biomechanics in orthodontics: principles and practice. Surrey: Quintessence publishing; 2010.
13. Yamada C, Kitai N, Kakimoto N, Murukami S, Furukawa S, Takada K. Spatial relationships between the mandibular central incisor and associated alveolar bone in adults with mandibular prognathism. Angle Orthod 2007;77:766-72.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30