ผลของการใช้โปรแกรมการสอนงานสำหรับพยาบาลที่ปฏิบัติงานห้องผ่าตัด โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี
คำสำคัญ:
โปรแกรมการสอนงานห้องผ่าตัด, ทักษะการปฏิบัติงาน, ความพึงพอใจบทคัดย่อ
บทนำ: ห้องผ่าตัดโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานีมีพยาบาลที่จบใหม่และพยาบาลย้ายเข้ามาทุกปี ซึ่งพยาบาลที่รับผิดชอบงานสอนยังขาดแนวทางการสอนงานในห้องผ่าตัดที่เป็นมาตรฐานเดียวกันสำหรับกลุ่มพยาบาลใหม่ ดังนั้นการใช้โปรแกรมการสอนงานพยาบาลห้องผ่าตัด จึงจำเป็นเพื่อเพิ่มทักษะปฏิบัติงานของกลุ่มพยาบาลใหม่ในห้องผ่าตัด
วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมการสอนงานสำหรับพยาบาลจบใหม่และพยาบาลที่ย้ายเข้าปฏิบัติงานในห้องผ่าตัดโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี
วัสดุและวิธีการศึกษา: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง โดยประชากร ได้แก่ พยาบาลจบใหม่ และพยาบาลที่ย้ายมาปฏิบัติงานห้องผ่าตัดในปี พ.ศ.2560-2563 จำนวน 23 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Wilcoxon Signed Ranks Test วิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจใช้สถิติเชิงพรรณนาเป็นค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา: พยาบาลทั้งหมดเป็นเพศหญิงจำนวน 23 คนอายุระหว่าง 22 ถึง 25 ปี เป็นพยาบาลจบใหม่จำนวน 18 คน และย้ายมาจากที่อื่นจำนวน 5 คน การประเมินก่อนการใช้โปรแกรมการสอนทั้ง 2 กลุ่มเท่ากับ 0.63 และพบว่าคะแนนทักษะการปฏิบัติงาน 15 ขั้นตอนอยู่ในระดับน้อยร้อยละ 94 และหลังจากใช้โปรแกรมการสอนพบว่า กลุ่มพยาบาลใหม่ทั้งหมดมีค่าคะแนนทักษะสัมพันธ์กับเนื้อหาการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.001) ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจการใช้โปรแกรมการสอนงานในระดับมากที่สุด
สรุป: โปรแกรมการสอนงานเป็นกระบวนการถ่ายทอดความรู้ที่ดี มีประสิทธิภาพสูงซึ่งผลที่ประจักษ์คือพยาบาลใหม่ในห้องผ่าตัดมีทักษะในการปฏิบัติงานถูกต้อง แม่นยำซึ่งมีประสิทธิผลในการดูแลผู้ป่วยสูงขึ้นอีกทั้งความพึงพอใจในรูปแบบการสอนมีผลตอบรับสูง
คำสำคัญ: โปรแกรมการสอนงานห้องผ่าตัด ทักษะการปฏิบัติงาน ความพึงพอใจ
References
2. ปราโมทย์ บุญเจียร. การพัฒนาระบบบริการเครือข่ายปฐมภูมิอำเภอเมือง จังหวัดเลย. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย. 2559; 6(1): 38-48.
3. สุพัตรา ศรีวนิชชากร. การพัฒนาและให้รางวัลคุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ. สำนักงานวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน (สพช). นนทบุรี: นโม พริ้นติ้งแอนพับลิชชิ่ง; 2555: 5-12.3.
4. ชูหงส์ มหรรทัศนพงศ์.ความสำเร็จโดยการเพิ่มขึ้นของอัตราการตอบกลับเยี่ยมบ้านจากการใช้โปรแกรมสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการดูแลต่อเนื่องในชุมชน. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิกโรงพยาบาลพระปกเกล้า 2561;35(4): 355-362.
5. ประภัสสร งานรุ่งเรือง. ผลของการพัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องจากโรงพยาบาลถึงบ้านจังหวัดอุดรธานี (online). 2557 พฤษภาคม 3. วันที่สืบค้นข้อมูล 2561 มิถุนายน15. สืบค้นจาก:URL:http://www.r2rthailand.org/knowledge/1515
6.อินทิรา อมรวงศ์, จุลีพร ขุมทอง, และมงคล อาจนิยม. ผลการใช้โปรแกรม Thai COC ในงานเยี่ยมบ้าน (online). วันที่สืบค้นข้อมูล 2561สิงหาคม 2, สืบค้นจากเวปไซด์ : http://www.amno.moph.go.th/amno_new/files/098-61.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ก่อนเท่านั้น