ความสำเร็จและภาวะแทรกซ้อนของการใส่ท่อหลอดลมคอเพื่อช่วยหายใจแบบรวดเร็วโดยใช้ยานำสลบและยาคลายกล้ามเนื้อ (Rapid sequence intubation : RSI) ในห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
การใส่ท่อหลอดลมคอ, ยานำสลบและยาคลายกล้ามเนื้อ, ความสำเร็จ, ภาวะแทรกซ้อนบทคัดย่อ
บทนำ: การใส่ท่อหลอดลมคอเพื่อช่วยหายใจเป็นหัตถการที่พบบ่อยในห้องฉุกเฉิน ซึ่งเป็นหัตถการที่เร่งด่วนและทำให้เกิดผลแทรกซ้อนได้มาก ปัจจุบันการใส่ท่อหลอดลมคอเพื่อช่วยหายใจแบบรวดเร็วโดยใช้ยานำสลบและยาคลายกล้ามเนื้อ (Rapid sequence intubation (RSI)) ได้ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งช่วยเพิ่มอัตราความสำเร็จของการใส่ท่อหลอดลมคอและลดภาวะแทรกซ้อนได้
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลสำเร็จและภาวะแทรกซ้อนของการใส่ท่อหลอดลมคอเพื่อช่วยหายใจแบบ RSI ในห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช
วัสดุและวิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา (Retrospective descriptive study) โดยการรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยที่มีการใส่ท่อหลอดลมคอเพื่อช่วยหายใจแบบ RSI ในห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช ระหว่าง 1 มกราคม พ.ศ. 2561 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 จำนวน 19 ราย มาดูผลสำเร็จและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้งหมด 19 ราย เป็นเพศชายทั้งหมด (ร้อยละ 100) อายุ 36 - 84 ปี อายุเฉลี่ย 65 ปี เป็นโรคภาวะกำเริบเฉียบพลันของโรคถุงลมโป่งพอง 12 ราย (ร้อยละ 63.2) ปอดติดเชื้อ 4 ราย (ร้อยละ 21.1) อื่น ๆ 3 ราย (ร้อยละ 15.7) ผู้ป่วยที่ใส่ท่อหลอดลมคอเพื่อช่วยหายใจแบบ RSI พบอัตราการใส่ท่อหลอดลมคอเพื่อช่วยหายใจสำเร็จในครั้งเดียว 100% และทุกรายไม่มีผลแทรกซ้อนจากการทำ RSI
สรุป: การใส่ท่อหลอดลมคอเพื่อช่วยหายใจแบบรวดเร็วโดยใช้ยานำสลบและยาคลายกล้ามเนื้อ ในโรงพยาบาลศูนย์ภายใต้ผู้เชี่ยวชาญมีความปลอดภัยและอัตราสำเร็จสูง
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ก่อนเท่านั้น