ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลกระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • กนกวรรณ อัตเศรณีย์ กลุ่มงานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลกระทุ่มแบน
  • อารีย์ ธวัชวัฒนานันท์ กลุ่มงานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลกระทุ่มแบน

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ, ความดันโลหิตสูง, แผนกผู้ป่วยนอก

บทคัดย่อ

บทนำ: โรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาสำคัญด้านสาธารณสุขของโลก จากรายงานขององค์กรอนามัยโลก พบว่าอัตราตายด้วยโรคความดันโลหิตสูงต่อประชากรแสนคน ในภาพรวมของประเทศในปี 2556-2558 เท่ากับ 8.09 18.28 และ 25.32 ตามลำดับ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลกระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร

วัสดุและวิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ นำเสนอด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน

ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 71.1,อายุ60ปีขึ้นไปร้อยละ 46.5,ระดับการศึกษาประถมศึกษาร้อยละ 64.2ไม่ได้ประกอบอาชีพร้อยละ 66.4 และมีบิดาและมารดาเคยเป็นโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 45.7เรื่องพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (  = 2.39, S.D.= 1.33)การรับรู้การสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับปานกลาง (  = 3.07, S.D.= 1.36)การสนับสนุนจากกลุ่มเพื่อนอยู่ในระดับปานกลาง (  =  2.86, S.D.=1.50) การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการควบคุมโรคความดันโลหิตสูงอยู่ในระดับมากที่สุด  (  =3.73, S.D.=1.71) และพบว่าการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

สรุป: การส่งเสริมให้ผู้ป่วย และบุคคลในครอบครัว  เข้ามามีส่วนร่วมกับทีมแพทย์ พยาบาลในการดูแลรักษาให้มีพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพที่ดีอย่างต่อเนื่อง นั้น จะทำให้เกิดความมุ่งมั่นที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ที่แตกต่างจากเดิม ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น

 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-01-01