ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ต่อความรู้และความสามารถในการปฏิบัติตน ของมารดาหลังคลอดโรงพยาบาลกระทุ่มแบน

ผู้แต่ง

  • ดวงดี ศรีสุขวัน หน่วยงานหอผู้ป่วยพิเศษหลังคลอด โรงพยาบาลกระทุ่มแบน
  • วันทนา มาตเกตุ หน่วยงานหอผู้ป่วยพิเศษหลังคลอด โรงพยาบาลกระทุ่มแบน
  • นฤวรรณ นิไชยโยค หน่วยงานหอผู้ป่วยพิเศษหลังคลอด โรงพยาบาลกระทุ่มแบน

คำสำคัญ:

มารดาหลังคลอด, ความรู้ในการปฏิบัติตนหลังคลอด

บทคัดย่อ

บทนำ: ระยะหลังคลอดเป็นระยะที่มารดามีการปรับตัวให้เข้าสู่ภาวะปกติ เป็นระยะเปลี่ยนผ่านของชีวิต มารดาต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ซึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอาจก่อให้เกิดความสับสน และวิตกกังวลในจิตใจได้

 วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้ความรู้ต่อความรู้และความสามารถในการปฏิบัติตนของมารดาหลังคลอดในโรงพยาบาลกระทุ่มแบน 

 วัสดุและวิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบวัดก่อนและหลังหนึ่งกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา แจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย ด้วยสถิติ Paired t -test

 ผลการศึกษา: ผลวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองส่วนใหญ่ มีอายุระหว่าง 20 – 34 ปี มีจำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 60 การศึกษาระดับมัธยมศึกษามีจำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 66.7 มีอาชีพรับจ้าง จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 66.6  ลักษณะเป็นครอบครัวเดี่ยวจำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ  56.6 มีรายได้ต่อเดือน 5,000 – 10,000 บาท จำนวน 16 คน คิดร้อยละ 53.3 อาศัยอยู่นอกเขตเทศบาลจำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 40  และเป็นมารดาที่คลอดปกติ จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 60 ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ในการปฏิบัติตัวหลังคลอดของกลุ่มตัวอย่างก่อนเข้าร่วมโปรแกรมเท่ากับ 17.22 (ค่าเฉลี่ย=17.22  , ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 5.017) ภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เท่ากับ 23.70 (ค่าเฉลี่ย = 23.70 , ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน =3.687)  ซึ่งสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (p–value < 0.05)  

 สรุป: จากการค้นพบนี้ ผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพควรจัดทำโปรแกรมสุขศึกษาเกี่ยวกับความรู้ และฝึกปฏิบัติในสตรีหลังคลอดเพื่อส่งเสริมให้มารดามีความรู้ มีความสามารถในการดูแลตนเองและทารกอย่างมีประสิทธิภาพ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-01-01