การประเมินมาตรการสถานศึกษาปลอดบุหรี่ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 11 ปี 2561
คำสำคัญ:
มาตรการ, สถานศึกษาปลอดบุหรี่, เขตสุขภาพที่ 11บทคัดย่อ
บทนำ: บุหรี่ เป็นปัญหาทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตเพราะบุหรี่ถึงปีละ 42,000 ราย วันละ 115 คน ชั่วโมงละ 4.7 คน ส่งผลกระทบด้านสุขภาพ ร่างกาย ก่อให้เกิดโรคต่างๆมากมาย เช่น NCDs มะเร็ง และสุขภาพช่องปาก ด้านจิตใจ ก่อให้เกิดโรคปัญหาซึมเศร้า และสุขภาพจิต ด้านครอบครัว และคนที่ไม่สูบบุหรี่
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินการดำเนินงานตามมาตรการสถานศึกษาปลอดบุหรี่ 7 มาตรการ ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 11 ปี 2561
วัสดุและวิธีการศึกษา: โดยคัดเลือกสถานศึกษาที่ในเขตสุขภาพที่ 11 จำนวน 7 แห่ง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบประเมินมาตรการสถานศึกษาปลอดบุหรี่สำนักควบคุมการบริโภคยาสูบ กรมควบคุมโรค และการสัมภาษณ์วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา
ผลการศึกษา: พบว่า สถานศึกษาผ่านเกณฑ์มาตรการที่ 1- 4 ทั้ง 7 แห่ง แต่ในมาตรการที่ 5 ผ่านเกณฑ์ 4 แห่ง มาตรการที่ 6 ผ่านเกณฑ์ 3 แห่ง มาตรการที่ 7 ผ่านเกณฑ์ 4 แห่ง
สรุป: สรุปได้ว่าสถานศึกษาไม่สามารถดำเนินการได้สำเร็จใน มาตรการที่ 5, 6 และ 7 ซึ่งเป็นมาตรการที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องนอกสถานศึกษา ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานเกิดความความสำเร็จ มาตรการที่ 5 ต้องให้เด็กนักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษาปลอดบุหรี่ มาตรการที่ 6 และมาตรการที่ 7 ทุกภาคส่วนจะต้องให้ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมกับสถานศึกษาโดยกระบวนการทำงานแบบทีมเครือข่ายสร้างความร่วมมือ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนตลอดจนชุมชน
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ก่อนเท่านั้น