ศึกษาประเด็นปัญหาผู้ป่วยโรคต้อกระจกที่ปฏิเสธการรักษา กรณีศึกษา : อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา
คำสำคัญ:
โรคต้อกระจก, การผ่าตัดต้อกระจก, ปัจจัยส่วนบุคคลบทคัดย่อ
บทนำ: จากการประเมินของ WHO พบว่าต้อกระจกเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะตาบอดของประชากรทั่วโลกคาดว่าคนตาบอดจะเพิ่มขึ้นเป็น 76 ล้านคน ในปี พ.ศ.2563 การคัดกรองโรคตาต้อกระจก ปี 2560-2562 ของโรงพยาบาลนาหม่อมพบว่าผู้สูงอายุมีสายตาผิดปกติ 566 คนซึ่งเป็นผู้ป่วยต้อกระจก 106 คน คิดเป็นร้อยละ 18 และมีผู้ป่วยที่ไม่ได้เข้ารับการผ่าตัดต้อกระจกจำนวน 41 ราย คิดเป็นร้อยละ 38.68 ทำให้ผู้วิจัยสนใจศึกษาในผู้สูงอายุที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดแต่ผู้ป่วยไม่ได้เข้ารับการผ่าตัดเพื่อทราบสาเหตุที่ผู้สูงอายุเหล่านี้ไม่ได้เข้ารับการผ่าตัดต้อกระจกซึ่งจะสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปพัฒนาและปรับปรุงการบริการต่อไป
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาสาเหตุและความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับการตัดสินใจรักษาโรคต้อกระจก
วัสดุและวิธีการ: กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจงเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่ได้เข้าร่วมโครงการคัดกรองโรคต้อกระจกของโรงพยาบาลนาหม่อม ในปี 2560-2562 เป็นโรคต้อกระจก จำนวน 106 คน เครื่องมือเป็นแบบบันทึกข้อมูลเวชระเบียนซึ่งเลือกเฉพาะข้อมูลทั่วไป ได้แก่ เพศ อายุ อาชีพ รายได้โรคประจำตัวการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างใช้ค่าความถี่ร้อยละและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับการตัดสินใจรักษาโรคต้อกระจกด้วย Chi-squere test
ผลการศึกษา:ผู้ป่วยโรคต้อกระจกส่วนใหญ่เพศหญิงร้อยละ 58.5 อายุเฉลี่ย 73 ปี อาชีพเกษตรกรร้อยละ 83.02 รายได้อยู่ในช่วง 1,000-5,000 บาท ร้อยละ 72.6 และส่วนใหญ่ไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 68.87 ผลการเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยส่วนบุคคลกับการตัดสินใจรักษาโรคต้อกระจกพบว่า อาชีพและโรคประจำตัวส่งผลต่อการรักษาโรคต้อกระจกแตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ .05
สรุป: ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีอาชีพและโรคประจำตัวต่างกันมีการตัดสินใจในการรักษาโรคต้อกระจกแตกต่างกัน
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ก่อนเท่านั้น