ความเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องของการเรียนการสอนหัตถการทางการแพทย์ในยุคปัจจุบัน
บทคัดย่อ
ในอดีตประเทศไทยระบบการเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์เอื้อต่อการสร้างความรู้ความสามารถทางหัตถการมาก แต่ในปัจจุบันสังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลง ประชาชนเรียกร้องสิทธิผู้ป่วย และมีการฟ้องร้องคดีทางการแพทย์มากขึ้นเรื่อยๆ อาจารย์แพทย์ที่ไม่ต้องการเสี่ยง ก็จะไม่ให้โอกาสนักศึกษาแพทย์ทำหัตถการแก่ผู้ป่วยในความดูแลของตน แต่จะทำหัตถการให้ดูแทน ทำให้แพทย์รุ่นหลังมีประสบการณ์ด้านหัตถการน้อยลง ส่งผลถึงความสามารถของแพทย์ และในที่สุดผลที่ตามมาย่อมตกถึงผู้ป่วย เพื่อแก้ไขปัญหานี้ สถาบันและบุคลากรผู้ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตแพทย์จึงต้องให้ความสำคัญ สร้างความเข้าใจด้านทุรเวชปฏิบัติและให้ความรู้ทางกฎหมายแก่นักศึกษาแพทย์ อาจารย์แพทย์ เข้าร่วมรับผิดชอบและให้ความช่วยเหลือกรณีที่เกิดผลในทางที่ไม่พึงประสงค์ขึ้นจนนำไปสู่การฟ้องร้องหรือร้องเรียนอาจารย์แพทย์ผู้สอนก็ต้องเข้าประกบในการเรียนการสอนอย่างเต็มที่ทุกวินาทีเพื่อป้องกันความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นและนำมาซึ่งการฟ้องร้องทั้งในทางแพ่งทางอาญาทางจริยธรรมและทางวินัย
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ก่อนเท่านั้น