การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันในงานผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน
คำสำคัญ:
โรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน, แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน, ผลลัพธ์การดูแลระยะเฉียบพลันบทคัดย่อ
บทนำ: โรคหลอดเลือดสมองเป็นภาวะฉุกเฉินที่พบได้บ่อย มีอุบัติการณ์การเกิดและการเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ผู้ที่รอดชีวิตก็จะมีความพิการ ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ต่ำลง การตรวจพบอาการได้อย่างรวดเร็ว ผู้ป่วยจะมีโอกาสได้รับการรักษาด้วยยาหรือการผ่าตัดได้รวดเร็วขึ้น จะสามารถลดอัตราตายหรือความพิการลงได้
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินกระบวนการปฏิบัติการพยาบาล และผลลัพธ์ในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันในงานผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช
วัสดุและวิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาภาคตัดขวาง (Cross-sectional descriptive study) กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน170 คน ที่เข้ามารับการรักษาในงานผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ในเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2558 และพยาบาลวิชาชีพผู้ให้การดูแลผู้ป่วยในแต่ละราย เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1) แบบบันทึกลักษณะของกลุ่มตัวอย่าง 2) แบบบันทึกการปฏิบัติตามแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและการบันทึกผลการปฏิบัติ และ 3) แบบเก็บข้อมูลผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วย ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา
ผลการศึกษา: พบว่ากลุ่มตัวอย่างร้อยละ 44.11 เป็นโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันประเภท Fast track มีอายุเฉลี่ย 66.30 ปี ส่วนใหญ่มีโรคประจำตัวเป็นความดันโลหิตสูงและไขมันในเลือดสูงและร้อยละ 75.88 ส่งตัวมาจากโรงพยาบาลชุมชน ผลลัพธ์เชิงกระบวนการพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติในประเด็นสำคัญและเร่งด่วนผ่านเกณฑ์เป้าหมาย แต่การบันทึกผลการปฏิบัติพบว่า บันทึกน้อยกว่าการปฏิบัติในทุกด้านโดยเฉพาะการบันทึกการเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน/ความเสี่ยงทางคลินิก พบว่ามีการบันทึกเพียงร้อยละ 35.88 ส่วนด้านผลลัพธ์การดูแล พบว่าเวลาที่ใช้ในการรักษากลุ่มตัวอย่างประเภท Fast track มาถึงห้องฉุกเฉินที่ยังไม่ผ่านค่าเป้าหมาย คือ ระยะเวลาการได้รับการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองเฉลี่ย 28.12นาที
สรุป: จากผลการศึกษา ควรมีการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ให้ครอบคลุมตั้งแต่ประชาชนทั่วไป ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง การบริการการแพทย์ฉุกเฉิน และการดูแลในโรงพยาบาล เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาอย่างรวดเร็ว สามารถลดอัตราตายและความพิการลงได้
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ก่อนเท่านั้น