ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ในประชาชน จังหวัดนครพนม: การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลัง

ผู้แต่ง

  • กฤษธิวัฒน์ อุดมเดชาเวทย์ นิสิตหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร
  • รัชฎาภรณ์ อึ้งเจริญ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติจังหวัดสกลนคร
  • นันทนา พรมนิต นักวิชาการสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม
  • ชไมพร ยันตะพันธ์ นักวิชาการสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม
  • ณัฐธิดา สุทธิผาย นักวิชาการสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม
  • อรยา สาหัส นักวิชาการสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม

คำสำคัญ:

การเสียชีวิต, ความครอบคลุม, ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์, วัคซีน, โรคโควิด-19

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอัตราการได้รับวัคซีนโควิดเข็มกระตุ้นและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตจากโควิด-19 ของประชาชนในจังหวัดนครพนม เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลัง ประชากรแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ผู้ป่วยโรคโควิด-19 จำนวนตัวอย่าง 20,888 คน และกลุ่มที่ 2 ผู้ที่รับวัคซีนโควิด-19 ครบ 2 เข็ม จำนวนตัวอย่าง 222,106 คน ใช้ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565 เก็บข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน โดยใช้สถิติถดถอยพหุโลจิสติกส์ นำเสนอค่า Adjusted odds ratio (AOR) และค่าความเชื่อมั่นที่ 95%
     ผลการวิจัย พบว่า จังหวัดนครพนม มีอัตราการได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นร้อยละ 31.6 ปัจจัยหลายปัจจัยมีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตจากโควิด-19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ปัจจัยด้านการรับวัคซีน พบผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีนโควิด-19 มีโอกาสเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 เป็น 15.7 เท่าของกลุ่มที่ได้รับวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 3 (AOR = 15.7, 95%CI = 4.9-50.0) ส่วนผู้ที่ได้รับวัคซีนหนึ่งเข็มมีโอกาสเสียชีวิตเป็น 16.0 เท่า (AOR = 16.0, 95%CI = 4.8-52.6) กลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป มีโอกาสเสียชีวิต 12.4 เท่าของกลุ่มอายุต่ำกว่า 60 ปี (AOR = 12.40, 95%CI = 6.83-22.52) และปัจจัยด้าน 7 โรคประจำตัวเรื้อรัง พบว่า ผู้ที่ป่วยด้วย 7 โรคประจำตัวเรื้อรังเสียชีวิต 2.95 เท่าของกลุ่มผู้ที่ไม่มี 7 โรคประจำตัวเรื้อรัง (AOR = 2.95, 95%CI = 1.68-5.17) จากการศึกษา พบว่าการได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นเป็นปัจจัยสำคัญในการลดอัตราการเสียชีวิต และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเสียชีวิตจากโควิด-19 ควรมีการเฝ้าระวังทั้งเชิงรุกและเชิงรับ เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคโควิด-19

References

Banchongcharoenlert, S. & Chumchuen, P. Case fetal rate and factors associated with deaths due to COVID-19 in DamnoenSaduak Hospital, Ratchaburi Province. Journal of Research for Health Improvement and Quality of Life. 2(1), 25-35. (in Thai)

Bruminhent, J. (2022, October 10). Covid-19 vaccine booster shots. Retrieved June 12, 2023, from https://tmc.or.th/pdf/tmc_knowlege-172.pdf (in Thai)

Chow, N., Fleming-Dutra, K., Gierke, R., Hall, A., Hughes, M., Pilishvili, T. & Ussery, E. (2020). Preliminary estimates of the prevalence of selected underlying health conditions among patients with Coronavirus Disease 2019 —United States, February 12-March 28, 2020. MMWR. Morbidity and Mortality Weekly Report, 69(13), 382-386. https://doi.org/10.15585/mmwr. mm6913e2

Deng, G., Yin, M., Chen, X., & Zeng, F. (2020). Clinical determinants for fatality of 44,672 patients with COVID-19. Critical Care, 24, 179.

Department of Disease Control (a). (2020, September 1). Standards and guidelines for surveillance, investigation, control, disease and health threat teams 2020. Retrieved September 18, 2022, from https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1119320210312043053.pdf (in Thai)

Department of Disease Control (b). (2022, December 30). The daily situation of vaccination against COVID-19. Retrieved December 30, 2022, from https://ddc.moph.go.th/vaccine-covid19/diary Report. (in Thai)

Haghpanah, F., Lin, G., Levin, S. A., & Klein, E. (2021). Analysis of the potential impact of durability, timing, and transmission blocking of COVID-19 vaccine on morbidity and mortality. EClinicalMedicine, 35, 100863. doi: 10.1016/j.eclinm.2021.100863.

Kajhonlit, B. & Panthuramphorn, B. (2020). Factors affecting the decision making on Covid-19 vaccination among population in Samutprakarn Province. (Bachelor of Business), Ramkhamhaeng University, Bangkok. (in Thai)

Kittwat, U. Ratchadaporn, U. Nuntana, P. Chamaiporn, Y. Natthida, S. & Passakorn, O. (2022). Epidemiological of COVID-19 and vaccination at Nakhon Phanom Province. In Faculty of Public Health, KhonKaen University Thailand. The 12th International Conference on Public Health among GMS Countries 2022. (107). KhonKaen. KhonKaen University.

McGoogan J. (2020). Characteristics of and important lessons from the coronavirus disease 2019 (COVID-19) outbreak in China. JAMA, 323(13), 1239-1242.

Meftahi, G. H., Jangravi, Z., Sahraei, H., Bahari, Z. (2020). The possible pathophy siology mechanism of cytokine storm in elderly adults with COVID-19 infection: thecontribution of “inflamm-aging”. Inflammation Research, 69: 825-39.

Ministry of Public Health. (2021, August 1). Guidelines for the administration of COVID-19 vaccines. Retrieved September 1, 2022, from https://ddc. moph.go.th/vaccine-covid19/getFiles/11/1628849610213.pdf. (in Thai)

Ministry of Public Health. (2022, August 15). Knowledge of COVID-19. Retrieved September 1, 2022, from https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/g_km.php. (in Thai)

MOPH Immunization Center. (2023, January 4). Covid-19 Vaccination Coverage. Retrieved January 4,2023, from https://cvp1.moph.go.th/dashboard/. (in Thai)

Mullard A. COVID- 19 vaccine development pipeline gears up. Lancet. 2020; 395(10239): 1751-1752.

Nakhonphanom Provincial Public Health Office. (2023). Manage the COVID-19 situation in Nakhon Phanom Province. The 106th Nakhon Phanom Communicable Disease Committee Meeting.

Paul, E., & Fancourt, D. (2022). Predictors of uncertainty and unwillingness to receive the COVID-19 booster vaccine: An observational study of 22,139 fully vaccinated adults in the UK. Lancet Reg Health Eur, 14, 1-13.

Poovorawan, Y. (2022, January 27). 3rd dose of vaccine is still necessary. Retrieved October 1, 2022, from https://dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=31493. (in Thai)

Thaicharoen, S. Meunrat, S. Koydul, S. & Sangsuwan, L. (2022). Risk factors for mortality of coronavirus disease 2019 (COVID-19) patients, Surat Thani province, Thailand. Weekly Epidemiological Surveilance Report, 53(7), 93-101. (in Thai)

Williamson, E. J., Walker, A. J., Bhaskaran, K., Bacon, S., Bates, C., Morton, C. E. & Goldacre, B. (2020). Factors associated with COVID-19- related death using Open SAFELY. Nature, 584(7821), 430–436. https://doi.org/10.1038/s41586-020-2521

World Health Organization. (2023, January 6) WHO Thailand Weekly Situation Update No. 255. Retrieved September 18, 2023, from https://www.who.int/thailand/news/detail/11-04-2023-the-situation-report-on-covid19

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30