ความเชื่อถือได้และความแม่นตรงของแบบประเมินอาการวิตกกังวลในเด็กและวัยรุ่น Pediatric Anxiety Rating Scale (PARS) ฉบับภาษาไทย
Main Article Content
Abstract
วัตถุประสงค์ ศึกษาความเชื่อถือได้ (reliability) และความแม่นตรง (validity) ของแบบประเมิน Pediatric Anxiety Rating Scale (PARS) ฉบับภาษาไทย
วิธีการศึกษา ผู้วิจัยได้แปลแบบประเมิน PARS ซึ่งเป็นแบบประเมินอาการและความรุนแรงของโรควิตกกังวลฉบับภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยและได้มีการตรวจสอบความแม่นตรงด้านเนื้อหา (content validity) ด้วยการหาค่า content validation index (CVI) หลังจากนั้นได้นำแบบประเมิน PARS ฉบับภาษาไทยไปทดลองใช้กับประชากรกลุ่มเฉพาะ (focus group) เพื่อตรวจสอบความเข้าใจภาษาแล้วจึงทำการแปลกลับ (back translation) โดยเจ้าของลิขสิทธิ์ได้ตรวจสอบและให้ความเห็นชอบก่อนนำไปใช้เก็บข้อมูลจริง ผู้วิจัยประเมินความเชื่อถือได้และความแม่นตรงของแบบประเมิน PARS ฉบับภาษาไทย โดยหาความเชื่อถือได้จากการคำนวณค่าความสอดคล้องภายใน (internal consistency; Cronbach’s alpha) ส่วนความแม่นตรงได้จากการคำนวณค่าความสัมพันธ์ของแบบประเมิน PARS ฉบับภาษาไทยเทียบกับ Clinical Global Impression - Severity Scale (CGI-S) โดยการหาค่า Pearson’s correlation coefficient (r)
ผลการศึกษา ผู้ป่วยโรควิตกกังวลและโรคกลัวจำนวน 43 คน และผู้ปกครองจำนวน 45 คน ได้ร่วมในการสัมภาษณ์เพื่อทำแบบประเมิน PARS ฉบับภาษาไทย ค่า CVI ของแบบประเมิน PARS ฉบับผู้ปกครองและเด็กโต และฉบับเด็กเล็กในแบบประเมิน PARS ภาษาไทยมีค่าเฉลี่ยรวมทุกด้านระหว่าง 0.97 – 0.99 ส่วนค่า Cronbach’s alpha ของแบบประเมิน PARS ฉบับผู้ปกครอง ฉบับเด็กและฉบับผู้ประเมินเท่ากับ 0.867, 0.786 และ0.830 ตามลำดับ ค่าสหสัมพันธ์ (r) ระหว่างส่วนประเมินความรุนแรงของแบบประเมิน PARS ฉบับภาษาไทยและ CGI-S เท่ากับ 0.514
สรุป แบบประเมินอาการและความรุนแรงของโรควิตกกังวลในเด็กและวัยรุ่น (PARS) ฉบับภาษาไทย มีความเชื่อถือได้และความแม่นตรงอยู่ในเกณฑ์ดี สามารถนำไปใช้ประเมินความรุนแรงของอาการวิตกกังวล เพื่อนำไปใช้ในการติดตามผลการรักษาในทางคลินิกและในการวิจัยเกี่ยวกับโรควิตกกังวลในเด็กและวัยรุ่นต่อไป
Downloads
Article Details
บทความที่ส่งมาลงตีพิมพ์ในวารสารสมาคมจิตแพทย์ ต้องไม่เคยตีพิมพ์หรือได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่น และต้องไม่อยู่ระหว่างการส่งไปตีพิมพ์ในวารสารอื่น