ความสัมพันธ์ระหว่างการติดเฟสบุ๊คกับทัศนคติและพฤติกรรมการกินที่ผิดปกติของนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดปทุมธานี, The Relationship between Facebook Addiction and Abnormal Eating Attitudes and Behaviors among Female Adolescents in Patumthani Province, Thailand

Main Article Content

Sirada Chittiwan

Abstract

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการติดเฟสบุ๊คกับทัศนคติและพฤติกรรมการกินที่ผิดปกติของนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดปทุมธานี

วิธีการศึกษา 

เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบสำรวจภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย อายุ 15-18 ปี จากโรงเรียนมัธยมศึกษา 2 แห่งในจังหวัดปทุมธานีจำนวน 400 ราย โดยกรอกแบบสอบถาม ข้อมูลพื้นฐานทั่วไปและพฤติกรรมการใช้เฟสบุ๊ค ศึกษาความชุกของการติดเฟสบุ๊คโดยใช้แบบสอบถาม Thai-BFAS และ EAT - 26 สำหรับการประเมินทัศนคติและพฤติกรรมการกิน การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ทั่วไปใช้สถิติเชิงพรรณนาใช้ chi-square test และ t-test ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆกับการติด เฟสบุ๊คและการมีทัศนคติและพฤติกรรมการกินที่ผิดปกติ จากนั้นนำไปศึกษาปัจจัยที่ทำนายโอกาสในการ เกิดทัศนคติและพฤติกรรมการกินที่ผิดปกติโดยใช้ multiple logistic regression

ผลการศึกษา

มีผู้เข้าร่วมการศึกษาและตอบแบบสอบถามจำนวนทั้งหมด 400 คน อายุเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 16.83 ปี (ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.99) ส่วนใหญ่มีดัชนีมวลกายอยู่ในระดับปกติ BMI (เฉลี่ย 21.04±4.33) พบว่ามี นักเรียนที่มีภาวะติดเฟสบุ๊ค (Thai-BFAS ≥12) จำนวน 111 ราย คิดเป็นร้อยละ 28.1 และมีทัศนคติและ พฤติกรรมการกินที่ผิดปกติ (EAT-26 ≥12) จำนวน 56 ราย คิดเป็นร้อยละ 14.2 โดยพบว่าความสัมพันธ์ ระหว่างภาวะติดเฟสบุ๊คกับการมีทัศนคติและพฤติกรรมการกินที่ผิดปกติมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (P value 0.001, Odd ratio 2.54, 95%CI 1.41- 4.56) และเมื่อคำนวณด้วย logistic regression พบว่า การมีภาวะติดเฟสบุ๊คเพิ่มโอกาสการมีทัศนคติและพฤติกรรมการกินที่ผิดปกติคิดเป็น 2.567 เท่าเทียบกับ กลุ่มที่ไม่มีภาวะติดเฟสบุ๊คและปัจจัยอื่นที่ทำนายโอกาสในการเกิดทัศนคติและพฤติกรรมการกินผิดปกติ ที่มีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ BMI (p value 0.038, ORadj 1.068, 95%CI 1.004-1.136) และการเปรียบเทียบ ภาพถ่ายตัวเองกับภาพของเพื่อนเป็นประจำ (p value 0.022, ORadj 5.748, 95%CI 1.294-25.533) แต่ไม่พบ ความสัมพันธ์นี้กับอายุและความถี่ในการเปลี่ยนรูปประจำตัว

สรุป

การศึกษานี้พบว่าภาวะติดเฟสบุ๊คเพิ่มโอกาสการมีทัศนคติและพฤติกรรมการกินผิดปกติอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ 2.57 เท่า ปัจจัยอื่นที่มีอิทธิพลได้แก่ BMI (1.068 เท่า) และการเปรียบเทียบภาพถ่ายตัวเองกับภาพ ของเพื่อนเป็นประจำ (5.748 เท่า) ข้อมูลที่ได้จะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาผลกระทบจากการใช้เครือข่าย สังคมออนไลน์ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคการกินผิดปกติของนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอน ปลาย อันอาจนำไปสู่การค้นหาวิธีป้องกันและควบคุมการใช้สื่อออนไลน์อย่างเหมาะสมต่อไป

ABSTRACT

Objectives : To determine the relationship between Facebook addiction and abnormal eating attitudes and behaviors among female adolescents in Pathumthani

Method : This cross-sectional descriptive study was obtained data from 400 female high school students aged 15-18 years from two schools in Pathumthani. The research instruments consisted of the self-administered questionnaires regarding demographic characteristics, Facebook usage, the Thai version of Bergen Facebook Addiction Scale (Thai-BFAS) and the Thai version of Eating Attitudes Test (EAT-26). The data was analyzed by using percentage, mean, chi-square, t-test and multiple logistic regression.

Results :

Four hundred students were sampled and the mean age was 16.83 years (standard deviation 0.99). Most of the subjects had normal body mass index (mean 21.04 ± 4.33). The results showed that 111 students (28.1%) were addicted to Facebook (Thai-BFAS ≥12) and 56 students (14.2%) had scores above the cut-off (≥12) for abnormal eating attitudes and behaviors on the EAT-26. Statistically significant association was found between Facebook addiction and abnormal eating attitudes (P value 0.001, Odd ratio 2.54, 95% CI 1.41- 4.56). Through logistic regression, having Facebook addiction was discovered to be at a higher risk of developing abnormal eating attitudes and behaviors 2.567 times as compared to the group without addiction. Other factors associated with predicting abnormal eating attitudes and behaviors were BMI (ORadj 1.068) and constantly comparing their own photos to photos of their friends (ORadj 5.748). No association were found with age and frequency of changing their profile picture.

Conclusion :

The present study found that abnormal eating attitudes and behaviors among female high school students could be associated with Facebook addiction, BMI and constantly comparing their own photos to photos of friends. Therefore, preventive interventions should be implemented to diminish the impact of social networks sites usage which may increase the risk of eating disorders. 

Article Details

How to Cite
Chittiwan, S. (2017). ความสัมพันธ์ระหว่างการติดเฟสบุ๊คกับทัศนคติและพฤติกรรมการกินที่ผิดปกติของนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดปทุมธานี, The Relationship between Facebook Addiction and Abnormal Eating Attitudes and Behaviors among Female Adolescents in Patumthani Province, Thailand. Journal of the Psychiatric Association of Thailand, 62(2). Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JPAT/article/view/73486
Section
Original Articles
Author Biography

Sirada Chittiwan, Department of Psychiatry, Faculty of Medicine Ramathibodi hospital Mahidol University

4th year Resident, Division of Child and Adolescent Psychiatry, Department of Psychiatry