Long-term follow up in chidhood attention-deficit/hyperactivity disorder in Songklanagarind hospital

Main Article Content

Jaturaporn Sangkool
Warut Aunjitsakul

Abstract

วัตถุประสงค์: เพื่อติดตามปัญหาของผู้ป่วยเด็กโรคสมาธิสั้นในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ในด้านการศึกษา การประกอบอาชีพ ปัญหาพฤติกรรมในครอบครัวและสังคม และความประพฤติเกเร

วิธีการศึกษา: ศึกษาแบบ retrospective cohort study เก็บข้อมูลผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคสมาธิสั้นตั้งแต่ปีพ.ศ.2544 โดยการสุ่มด้วยระบบคอมพิวเตอร์ในฐานข้อมูลจนได้จำนวนผู้ป่วยครบ 200 คน ใช้แบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้ปกครองของผู้ป่วยที่โรงพยาบาล หรือทางโทรศัพท์ หรือทางจดหมาย ใช้เกณฑ์ตาม DSM-IV-TR เป็นเกณฑ์การวินิจฉัย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา โดยใช้โปรแกรม R หาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ วิเคราะห์ค่าความแตกต่างระหว่างกลุ่มโดยใช้ Chi-square กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.05

ผลการศึกษา : ข้อมูลส่วนใหญ่ได้จากการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์(ร้อยละ65) ผู้ป่วยร้อยละ 80 เป็นเพศชาย อายุ 9-25 ปี อายุเฉลี่ย 16.02 ปี ผู้ป่วยร้อยละ 64.5 เรียนอยู่ในระดับมัธยมศึกษาขึ้นไป ร้อยละ 47.2 ยังเรียนผ่านเกณฑ์โดยมีเกรดเฉลี่ย 2 ขึ้นไปและไม่เคยซ้ำชั้น ผู้ป่วยร้อยละ 4.5 กำลังประกอบอาชีพ ร้อยละ44.4รับผิดชอบงานอยู่ในเกณฑ์พอใช้ ผู้ป่วยทั้งหมดอยู่ในสถานะโสด พบปัญหาพฤติกรรมรุนแรงในครอบครัวร้อยละ 40.7 พฤติกรรมที่พบบ่อย คือ การข่มขู่ทางวาจา พบผู้ป่วยที่มีภาวะโรคร่วมร้อยละ 55.8 เป็น mental retardationร้อยละ 11.1  epilepsyร้อยละ 7.5 และพบ conduct disorder ร้อยละ 5.0

สรุป : จากการติดตามผู้ป่วยเด็กโรคสมาธิสั้นกลุ่มนี้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่เข้าสู่ช่วงวัยรุ่นตอนกลางและบางส่วนเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ตอนต้นแล้ว แต่การใช้ชีวิตส่วนใหญ่ยังเหมือนวัยเด็ก คือ ยังอยู่กับพ่อแม่ ใช้เวลากับการเรียนและยังไม่ได้ประกอบอาชีพ ปัญหาส่วนใหญ่ที่พบจึงเกี่ยวข้องกับเรื่องการเรียนและพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่อบุคคลในครอบครัวมากกว่าต่อบุคคลภายนอก พบปัญหา conduct disorder ร้อยละ 5.0 ซึ่งน้อยกว่าที่พบในงานวิจัยในต่างประเทศ  ซึ่งอาจเกิดจากลักษณะการใช้ชีวิตและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันของครอบครัวไทยกับต่างประเทศ  ยังไม่สามารถสรุปปัญหาในด้านการประกอบอาชีพในผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้ เนื่องจากจำนวนผู้ป่วยที่เคยประกอบอาชีพมีน้อย ไม่สามารถนำข้อมูลมาเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มได้  จึงควรศึกษาในจำนวนผู้ป่วยที่มากขึ้นหรือติดตามผู้ป่วยในระยะเวลาที่นานขึ้นเพื่อให้ผู้ป่วยเข้าสู่วัยทำงานมากขึ้น

คำสำคัญ : การติดตาม ระยะยาว โรคสมาธิสั้น เด็ก  

Long-term follow up in childhood attention-deficit/hyperactivity disorder in

Objective: To perform a follow-up on the current clinical conditions of patients with attention-deficit/ hyperactivity disorder (ADHD) in four outcomes: academic achievement, occupational performance, behavioral problems related to family and society and conduct disorder.

Materials and methods: This was a retrospective cohort study. We collected data in patients who were diagnosed as ADHD since 2001 by interviewing the parents by direct interview, telephone and a request to respond to a questionnaire letter. Participants were randomized and data were collected from 200 subjects. The questionnaire followed our objective, used diagnostic criteria of conduct disorder following DSM-IV-TR. Data were calculated using descriptive data and presented as percentages.

Results: Most of the participants were still studying (83.4%) and more than half (63.3%) had a grade point average above 2.00. From the academic achievement criteria, 47.2% passed. 4.5% of the participants were working. All of the participants were single. The common violence behavior was verbal violence in family (29.5%). Ten subjects (5.0%) had conduct disorder. Mental retardation is the most common comorbidity.

Conclusion: The ADHD patients are still studying and tend to have middle to high scores in academics. Conduct disorder patients are fewer than in previous studies reviewed. The lifestyle and culture may affect the results. Further study should be done in a longer period or larger population.

Key words: long-term, follow-up, ADHD, childhood,  Songklanagarind hospital


Article Details

How to Cite
Sangkool, J., & Aunjitsakul, W. (2016). Long-term follow up in chidhood attention-deficit/hyperactivity disorder in Songklanagarind hospital. Journal of the Psychiatric Association of Thailand, 61(2), 109–120. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JPAT/article/view/45657
Section
Original Articles