การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียน ในโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่ง อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

ศิริรัตน์ สีขุนทด
ญาดา โตอุตชนม์
กรรณิกา บัวทะเล
ฉัตรสุดา ลัดสูงเนิน

บทคัดย่อ

แนวโน้มการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้นในนักเรียนมัธยมศึกษา โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่ง อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา คำนวณขนาดตัวอย่างได้ 325 คน ให้นักเรียนทำแบบสอบถามด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานนักเรียนโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยและพฤติกรรมการดื่ม โดยใช้สถิติ binary logistic regression รายงานผลเป็นค่า Adjusted odds ratio ในช่วงความเชื่อมั่น 95% ผลการศึกษา พบว่า นักเรียนร้อยละ 71.4 เป็นนักดื่มแอลกอฮอล์ นักเรียนชายร้อยละ 75.0 ดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งสูงกว่าร้อยละ 65.9 ในนักเรียนหญิง นักเรียนส่วนใหญ่ ร้อยละ 60.3 ดื่มครั้งแรกเมื่ออายุ 13 - 16 ปี และดื่มเบียร์มากที่สุด ร้อยละ 60.8 ดื่มครั้งแรกกับเพื่อนเพื่อสังสรรค์ นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับสุราระดับต่ำ ร้อยละ 56 นักเรียนที่มีรายได้เพียงพอและเหลือเก็บมีโอกาสดื่มน้อยกว่านักเรียนที่มีรายได้ไม่เพียงพอ (AOR 0.26, 95%
CI = 0.10 - 0.64, p = 0.004) นักเรียนที่มีบ้านอยู่ในแหล่งชุมชน มีโอกาสดื่มสูงกว่านักเรียนที่มีบ้านอยู่นอกชุมชน (AOR 2.50, 95% CI = 1.09 - 5.70, p < 0.03) นักเรียนที่มีทัศนคติ (ว่าการดื่มไม่ดี) ระดับกลางหรือสูง มีโอกาสดื่มน้อยกว่านักเรียนที่มีทัศนคติระดับต่ำ (AOR 0.05 - 0.46 95% CI = 0.01 - 0.81, p < 0.01) สรุปนักเรียนที่มีรายได้เพียงพอและเหลือเก็บ บ้านอยู่นอกแหล่งชุมชน และมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการดื่มสุรา เป็นปัจจัยป้องกันไม่ให้ดื่มสุรา ดังนั้น โรงเรียนควรตระหนัก หาวิธีสร้างทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พร้อมทั้งสอดแทรกความรู้เข้าไปในการเรียนการสอน เพื่อลดนักดื่มหน้าใหม่ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต

Article Details

How to Cite
1.
สีขุนทด ศ, โตอุตชนม์ ญ, บัวทะเล ก, ลัดสูงเนิน ฉ. การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียน ในโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่ง อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา. JMPH4 [อินเทอร์เน็ต]. 6 สิงหาคม 2024 [อ้างถึง 25 เมษายน 2025];14(3):63-76. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JMPH4/article/view/264494
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (บทความวิชาการ)

References

Department of Mental Health (TH). The situation of alcohol consumption in Thailand [internet]. 2023 [cited 2023 February 20]. Available from: https://dmh.go.th/news/view.asp?id=1234.

Ausanangkornchai S, editor. Provincial alcohol report, 2017 [internet]. Bangkok: Sahamit Pattana Printing (1992); 2019 [cited 2023 February 20]. Available from: https://cas.or.th/?p=6101.

Health Data Center (HDC) (TH). The screening and treatment of alcohol drinkers [internet].2021 [cited 2023 February 5]. Available from:https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.phpcat_id=06b9ffbd9fa83f29fef3a7e7ba8119d6&id=217bf5d3be296fad9d708affeeaff6ed

Kaengkawal S. Developmental psychology of life at every stage, volume 1: theoretical perspectives - middle childhood. Bangkok: Thammasat University. 1997. (in Thai)

Angsumalin C, Sukanya L, Jutarat S. Factors and behaviors of alcohol consumption among adolescent girls in vocational institutions: a case study in Songkhla province. Academic Services Journal, Prince of Songkla University 2017;28(2):117-29. (in Thai)

Saelim S, Muphak K, Suwannarup N. Factors associated with alcohol consumption behavior among adolescents. Songklanagarind Journal of Nursing 2017;37(3):25-36. (in Thai)

Thirasilorot T. Factors influencing the intention to consume alcoholic beverages among high school [Master's Thesis in Community Health Nursing]. Nakhonpathom: Christian University of Thailand; 2011. (in Thai)

Krejcie, R. & Morgan, D. 1970. “Determining sample sizes for research activities.” Educational and Psychological Measurement 30: 607–10.

Phetcharasamran W, Ongkunna W, Sangthong S. Factors influencing alcohol consumption among high school students in Lopburi district, Uthai Thani Province. [Master's thesis in Public Health]. Phitsanulok: Naresuan University; 2009. (in Thai)

Pimathai C, Homsin P, Srisuriyawet R. Factors related to hazardous drinking among male vocational students in Sisaket province. Thai Red Cross Nursing Journal 2021;14(1):170–84. (in Thai)

Kophonrat S, Srisuriyawet R, Homsin P. Factors related to problematic drinking among male vocational students, Chon Buri province. Journal of Nursing Science Chulalongkorn University 2015;27(2):132–46. (in Thai)

Flay BR, Snyder F, Petraitis J. The theory of triadic influence. In: DiClemente RJ, Crosby RA, Kegler MC, editors. Emerging theories in health promotion practice and research. 2nd ed. New York: Jossey–Bass; 2009. p. 451–510.

Homsin P, editor. Concepts and theories for practice: smoking and alcohol drinking prevention among adolescents. Chon Buri: Chon Buri Printing House; 2015. (in Thai)

Hemchaya A, Yodnil S. Factors related to alcohol drinking among female high school students in amphur Khowkitchakoot, Chanthaburi province. Journal of Education and Social Development 2012;8(1):115–28. (in Thai)

Sukhadecha R. Child–rearing of Thai families: a systematic integrated literature review. Journal of Nursing Science and Health 2020;43(1):1–9. (in Thai)