ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบาย อสม. หมอประจำบ้านไปปฏิบัติในพื้นที่จังหวัดนครนายก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความสำเร็จและปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบาย อสม. หมอประจำบ้านไปปฏิบัติ จังหวัดนครนายก ทำการศึกษาระหว่างเดือนกันยายนถึงพฤศจิกายน พ.ศ.2565 กลุ่มตัวอย่าง คือ อสม. หมอประจำบ้าน 204 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามระดับความสำเร็จและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง 6 ด้าน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ความสำเร็จในการนำนโยบายไปปฏิบัติอยู่ในระดับมาก สูงสุด 3 อันดับแรก คือ ด้านการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมไม่ให้เกิดโรคในพื้นที่ ( = 4.03,S.D. = 0.55) รองลงมา คือ ด้านการส่งเสริมสุขภาพและแก้ไขปัญหาสุขภาพที่สำคัญ (
= 3.89,S.D. = 0.56) และด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (
= 3.86 , S.D. = 0.65) ตามลำดับ ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความสำเร็จของการนำนโยบายไปปฏิบัติจำแนกรายด้านอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.001) พบว่า ด้าน 1 ได้แก่ ปัจจัยความชัดเจนในวัตถุประสงค์ของนโยบาย คุณสมบัติของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และบุคคลผู้ปฏิบัติหน้าที่ ด้าน 2 ได้แก่ ปัจจัยคุณสมบัติของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และบุคคลผู้ปฏิบัติหน้าที่ ด้าน 3 ได้แก่ ปัจจัยคุณสมบัติของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และบุคคลผู้ปฏิบัติหน้าที่ ด้าน 4 ได้แก่ ปัจจัยทรัพยากรนโยบาย และบุคคลผู้ปฏิบัติหน้าที่ ด้าน 5 ได้แก่ ปัจจัยทรัพยากรนโยบาย และบุคคลผู้ปฏิบัติหน้าที่ และด้าน 6 ได้แก่ ปัจจัยด้านทรัพยากรนโยบาย และบุคคลผู้ปฏิบัติหน้าที่เห็นได้ว่าปัจจัยด้านบุคคลผู้ปฏิบัติหน้าที่มีความสัมพันธ์ต่อระดับความสำเร็จในทุกด้าน ดังนั้นสามารถนำปัจจัยนี้ประยุกต์ใช้ในการนำนโยบายสาธารณสุขอื่นไปปฏิบัติได้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Department of Health Service Support. Manual of village health volunteers. [internet]. 2020 [cited 2023 May 26]; Available from: http://phc.moph.go.th/www_hss/data_center/dyn_mod/OSM_Doctor.pdf. (in Thai)
Department of Health Service Support. A manual for staff to raise the level of village health volunteers to become village health volunteers. [internet]. 2020 [cited 2023 May 26]. Available from: http://phc.moph.go.th/www_hss/data_center/dyn_mod/Manual_official.pdf. (in Thai)
Strategy and Planning of Division. Ministry of Public Health. Ministry of Public Health plan. [internet]. 2020 [cited 2023 May 26]; Available from: http://phc.moph.go.th/www_hss/data_center/dyn_mod/Manual_official.pdf. (in Thai)
Department of Health Service Support. Guidelines for public health implementation in fiscal year 2020. Ministry of Public Health. Public Health Support Division: Nonthaburi; 2019. (in Thai)
Office of Policy and Strategy Ministry of Public Health. MOPH Policy focus and operational plan of the Ministry of Public Health. [internet]. 2022. [cited 2023 May 26]. Available from: http://sms.moph.go.th/rbudget/policy_focus_new.php. (in Thai)
Van Meter, Van Horn. The policy implementation process: A conceptual framework. Administration and society. 1975: 6(5); 445 - 86.
Krejcie, R.V., D.W. Morgan. Determining Sample Size for Research Activities”. Educational and Psychological Measurement. 1970; 30(3); 607 - 10.
Best, John W. Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliffs, New Jersey : Prentice Hall, Inc.1977.
Sukanya Chan-Uan. Opportunity to Come and support the volunteers home doctors, health district 4. [internet]. 2022. [cited 2023 May 26]; Available from https://do4.hss.moph.go.th/images/NEWS/thResearch. 2020. (in Thai)
Yaebkhai Y. A model for developing the performance of village health volunteers. [Graduate School]. Naresuan University. 2019. (in Thai)
Van Meter D.S., Van Horn C.E. The policy implementation process: A conceptual framework. Administrative and Society 1975: 6(4) ;445 - 88.