การพัฒนาคุณภาพการเขียนบันทึกทางการพยาบาลผู้ป่วยยาเสพติด สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การเขียนบันทึกทางการพยาบาลมีความสำคัญ พยาบาลวิชาชีพจะต้องบันทึกการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลอย่างถูกต้อง สมบูรณ์ มีคุณภาพ สะท้อนถึงกระบวนการพยาบาลที่มีลักษณะเฉพาะของกิจกรรม เป็นประโยชน์ต่อการดูแลรักษาพยาบาลอย่างแท้จริง การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองวัดผลก่อน หลังการพัฒนา และระยะติดตามผล มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนาคุณภาพการเขียนบันทึกทางการพยาบาลผู้ป่วยยาเสพติด กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยพยาบาลวิชาชีพประจำหอผู้ป่วยจำนวน 85 คน และเวชระเบียนผู้ป่วยยาเสพติดที่จำหน่ายแล้ว 468 แฟ้ม โดยแบ่งเก็บข้อมูลครั้งละ 156 แฟ้มในแต่ละระยะ กิจกรรมพัฒนาคุณภาพประกอบด้วย อบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาคุณภาพการเขียนบันทึกทางการพยาบาลผู้ป่วยยาเสพติด พัฒนาแบบฟอร์มรับผู้ป่วยใหม่ คู่มือบันทึกทางการพยาบาลผู้ป่วยยาเสพติด ทบทวนการเขียนบันทึกทางการพยาบาล แจ้งผลการตรวจประเมินบันทึกทางการพยาบาลและคุณภาพบันทึกทางการพยาบาลพร้อมข้อเสนอแนะการปรับปรุงการเขียนบันทึกทางการพยาบาล รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามการรับรู้ความสามารถตนเองในการเขียนบันทึกทางการพยาบาลผู้ป่วยยาเสพติดจากพยาบาลวิชาชีพ แบบตรวจประเมินบันทึกทางการพยาบาล และแบบวิเคราะห์คุณภาพบันทึกทางการพยาบาลจากเวชระเบียนผู้ป่วยยาเสพติดที่จำหน่ายแล้ว วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การทดสอบที และการทดสอบความแปรปรวนสำหรับการวัดซ้ำ ผลการวิจัยพบว่า 1) คะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถตนเองในการเขียนบันทึกทางการพยาบาลสูงกว่าก่อนการพัฒนาในทุกประเด็นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ P-value<.001 2)คะแนนเฉลี่ยการตรวจประเมินบันทึกทางการพยาบาล หลังการพัฒนาและระยะติดตามผล สูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ P-value<.001 ส่วนคะแนนเฉลี่ยหลังการพัฒนาและระยะติดตามผลแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ P-value =.490 3) คะแนนเฉลี่ยวิเคราะห์คุณภาพบันทึกทางการพยาบาล หลังการพัฒนาและระยะติดตามผล สูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ P-value<.001 ส่วนคะแนนเฉลี่ยหลังการพัฒนาและติดตามผลแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ P-value =.589
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
วรรณี ตปนียากร,งามนิตย์ รัตนานุกูล. การวางแผนและบันทึกทางการพยาบาล. กรุงเทพมหานคร: ไอกรุ๊ปเพรส; 2552.
ฤดี ฉ่าสูงเนิน.การพัฒนารูปแบบการบันทึกทางการพยาบาลของโรงพยาบาลปักธงชัย [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการพยาบาล]. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2552.
Iyer PW, Camp NH. Nursing documentation: A nursing process approach. 2nd ed. St. Louis:
Mosby; 1995.
เพ็ญจันทร์ แสนประสาน. กระบวนการพยาบาลและการบันทึกทางการพยาบาล. กรุงเทพฯ: สุขุมวิทการพิมพ์; 2560.
อารีย์ วิรานันท์, กุลรัตน์ บริรักษ์วาณิชย์. การศึกษาคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาลของกลุ่มการพยาบาลในโรงพยาบาลเพชรบูรณ์. วารสารกองการพยาบาล 2542; 26(2): 58-65.
วิไลรัตน์ จตุสุวรรณศรี. การตรวจสอบความครบถ้วนของการบันทึกข้อมูลในเวชระเบียนศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2546; 11(1): 20-30.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. แนวทางการบันทึกและตรวจประเมินคุณภาพการบันทึกเวชระเบียน.พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพมหานคร: ยูเนียนอุลตร้าไวโอเร็ต; 2553.
กองการพยาบาล. คู่มือการจัดบริการพยาบาลจากหลักการสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์;2539.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.สำนักตรวจสอบการชดเชยและคุณภาพบริการสำนักงานหลักประกันสุขภาพ. คู่มือแนวทางปฏิบัติในการตรวจสอบเอกสารหลักฐานการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ปี 2562. นนทบุรี: สหมิตรพริ้นติ้ง แอนด์ พับลิสชิ่ง; 2561.
ยุทธ ไกยวรรณ์. การสร้างเครื่องมือวิจัย. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี; 2550.
ประภาภรณ์ บุญสม, จินต์จุฑา รอดพาล, พรพิมล ผดุงสงฆ์, สมคิด ตรีราภี, สมทรง บุตรชีวัน. การพัฒนาคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาลงานผู้ป่วยใน กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา. รายงานการวิจัยโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา, พระนครศรีอยุธยา; 2555.
วิภาวดี วโรรส.การพัฒนาการบันทึกทางการพยาบาล ของกลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลร้อยเอ็ด [รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2550.
อุดมพร คำล้ำเลิศ, อารี ชีวเกษมสุข, วิไล กุศลวิศิษฎ์กุล. การพัฒนารูปแบบการบันทึกทางการพยาบาลในหออภิบาลทารกแรกเกิด โรงพยาบาลสมุทรสาคร. วารสารพยาบาลทหารบก 2560; 18(2): 326 – 334.
วิทวดี สุวรรณศรวล.การพัฒนาคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาลในหอผู้ป่วยกระดูกหญิงโรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ [รายงานการค้นคว้าแบบอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล].เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2557.