การพยาบาลผู้ป่วยเอดส์ที่เป็นวัณโรคร่วมในระยะรุนแรงต่อเนื่องที่บ้าน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การป่วยด้วยโรคเอดส์จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายถูกทำลาย ติดเชื้อฉวยโอกาสและเสียชีวิตเร็วขึ้น หลังจากรับเชื้อเอชไอวี มีความเสี่ยงในการเกิดโรควัณโรคได้สูงถึง 113 - 170 เท่า บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการพยาบาลผู้ป่วยเอดส์ร่วมกับวัณโรคระยะรุนแรงต่อเนื่องที่บ้าน โดยการประยุกต์ใช้กรอบแนวคิดทฤษฎีส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์และกระบวนการพยาบาลผู้ป่วยต่อเนื่องที่บ้าน (Home health care) เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาที่ต่อเนื่อง รับประทานยาสม่ำเสมอ ไม่มีภาวะดื้อยาต้านไวรัสเอดส์และวัณโรค มีความรู้ด้านพฤติกรรมการเสริมสร้างสุขภาพและสามารถดูแลตนเองหายขาดจากภาวะแทรกซ้อนต่างๆ และลดการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคในครอบครัวและในชุมชน มีการประเมินภาวะสุขภาพของผู้ป่วย การวางแผนการพยาบาลอย่างเป็นองค์รวม ครอบคลุมมิติ กาย จิตใจ จิตสังคม และจิตวิญญาณ โดยใช้กระบวนการพยาบาลเป็นหลัก ประกอบด้วย การประเมินปัญหา วินิจฉัยการพยาบาลสู่การวางแผนการพยาบาล การปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลและการประเมินผลที่สอดคล้องกับปัญหาของผู้ป่วย และนำนวัตกรรมการบันทึกการรับประทานยาเข้ามาร่วมด้วย ผลการศึกษา พบว่า การให้การพยาบาลอย่างครอบคลุมและต่อเนื่องโดยยึดผู้ป่วยและครอบครัวเป็นศูนย์กลางและมีชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม มีการส่งต่อข้อมูลกับทีมสหสาขาวิชาชีพและหน่วยงานอื่นเข้ามาช่วยเหลือปัญหาด้านต่าง ๆ จึงมีความสำคัญในการดูแลผู้ป่วยและครอบครัวที่มีความซับซ้อนหลายมิติ บางครั้งเกินขีดจำกัดของพยาบาล เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ศูนย์รวมข้อมูลสารสนเทศด้านเอชไอวีของประเทศไทย. คาดประมาณผู้ติดเชื้อเอชไอวี ปี 2563 [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 16 ตุลาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://hivhub.ddc.moph.go.th/epidemic.php.
ลัดดา พลพุทธา. การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี.วารสารโรงพยาบาลสกลนคร 2560; 21: 136-150.
กรมควบคุมโรค. สถานการณ์วัณโรค global tuberculosis report [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 16 ตุลาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hfocus.org/content/2019/09/17640.
จุฬาวรรณ จิตดอน. บทบาทของพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนเพื่อส่งเสริมการดูแลผู้ป่วย วัณโรคปอดที่บ้านโดยเน้นครอบครัวเป็นศูนย์กลาง.วารสารมหาวิทยาลัยหัวเฉียว 2561; 22: 180-192.
ณัฏฐนันท์ ภูวิภิรมย์. การศึกษาสาเหตุของการเสียชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสมุทรสาคร.วารสารแพทย์เขต 4-5 2559; 35: 2-12.
คณิสร แก้วแดง, สุมาลี ราชนิยม. พยาบาลกับการดูแลผู้ป่วยเอดส์แบบองค์รวม. วารสารวิทยาลัยพระปกเกล้า 2558; 26: 128-134.
ประเทือง ธราธรรุ่งเรือง. การพยาบาลผู้ป่วยวัณโรคในงานบริการผู้ป่วยนอก.วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า 2561; 1: 77-95.
พนารัตน์ วิศวเทพนิมิต,กมลรัตน์ เทอร์เนอร์. การดูแลแบบองค์รวมและการบริการสุขภาพด้วยหัวใจ ความเป็นมนุษย์: กรณีศึกษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ที่สถาบันบำราศนราดูร.วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2560; 11: 401-412.
ชุลีกร ด่านยุทธศิลป์. แบบจำลองการส่งเสริมสุขภาพเพนเดอร์และการประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพทางการพยาบาล. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2561; 38: 132-141.
Pender NJ, Murdaugh CL, Parsons MA. Health promotion in nursing practice. 6th ed. Boston: Pearson; 2011.
Alkhalaileh MA, Khaled MHB, Baker OG, et al. Pender’s health promotion model: An integrative literature review. ME-JN. 2011; 5(5): 12-22. doi: 10.5742/MEJN.2011.55104
สุรีย์ ธรรมิกบวร. ทฤษฎีการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 10 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก :https://www.nurse.ubu.ac.th/sub/knowledgedetail/PD.pdf
วรณัน ประสารอธิคม. แนวคิดการดูแลสุขภาพที่บ้าน (Concept of home care) [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 10 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก https://med .mahidol.ac.th/um/sites/default/files/public/pdf.