ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับตะกั่วในเลือดเด็กที่สูงกว่าปกติ ใน 2 หมู่บ้านเหนือเขื่อนภูมิพล อำเภอสามเงา จังหวัดตาก ปี 2562
Main Article Content
บทคัดย่อ
ระดับตะกั่วในเลือดสามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้การได้รับตะกั่วเข้าสู่ร่างกาย รายงานนี้ได้นำเสนอระดับตะกั่วในเลือดเด็กอายุ 1-14 ปี และปัจจัยที่มีผลต่อระดับตะกั่วในเลือดที่สูงกว่าปกติ (> 10 ไมโครกรัม/เดซิลิตร) ใน 2 หมู่บ้านเหนือเขื่อนภูมิพล อำเภอสามเงา จังหวัดตาก ในปี 2562 การดำเนินงานประกอบด้วย การสอบถามข้อมูลทั่วไป และข้อมูลถึงโอกาสสัมผัสและได้รับตะกั่วเข้าสู่ร่างกายเด็ก การชั่งน้ำหนักและเปรียบเทียบตามเกณฑ์อายุ การเก็บตัวอย่างเลือดจากหลอดเลือดดำเพื่อตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์ และระดับตะกั่วในเลือด และการสอบสวนเฉพาะราย ในกลุ่มเด็กที่มีระดับตะกั่วสูงสุด ผลการศึกษาได้สำรวจเด็กรวม 101 ราย โดยมีอายุเฉลี่ยประมาณ 8.6 ปี เพศชายและเพศหญิงใกล้เคียงกัน ค่าเฉลี่ยของระดับตะกั่วในเลือดเด็กที่สำรวจเท่ากับ 6.1 ไมโครกรัม/เดซิลิตร โดยร้อยละ 39.6 มีระดับตะกั่วในเลือด 5-9.9 ไมโครกรัม/เดซิลิตร และร้อยละ 14.9 มีระดับตะกั่วในเลือด ≥ 10 ไมโครกรัม/เดซิลิตร ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กับระดับตะกั่วในเลือดเด็ก ได้แก่ การเป็นเด็กชาย อายุเด็กที่สูงขึ้น และประวัติการเคยหลอมตะกั่วเองหรือช่วยบิดา/ผู้อื่นหลอมตะกั่ว ซึ่งเด็กที่มีประวัติการเคยหลอมตะกั่วเองหรือช่วยบิดา/ผู้อื่นหลอมตะกั่วทั้งหมดเป็นเด็กชายและเป็นเด็กโต สำหรับเด็กที่มีน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ พบมีระดับตะกั่วในเลือดสูงกว่าอยู่บ้างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบกับเด็กที่มีน้ำหนักตัวปกติ/มากกว่าเกณฑ์ ส่วนเด็กที่มีภาวะโลหิตจาง พบมีระดับตะกั่วในเลือดสูงกว่าอยู่บ้างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบกับเด็กที่ไม่มีภาวะโลหิตจาง ดังนั้นจึงควรเสริมสร้างความรู้เรื่องพิษของตะกั่ว และโอกาสการได้รับพิษ โดยเฉพาะจากการหลอมตะกั่ว รวมทั้งการป้องกัน ให้แก่ประชาชนทั่วไปและเด็กวัยเรียนโดยเฉพาะเด็กชายในพื้นที่ รวมทั้งควรตรวจติดตามอย่างสม่ำเสมอในเด็กที่มีระดับตะกั่วสูง และแก้ไขปัญหาน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ และภาวะโลหิตจาง
Article Details
References
2. WHO. Exposure to lead: a major public health concern. Geneva: World Health Organization; 2010.
3. Mahaffey KR. Nutrition and lead: strategies for public health. Environ Health Perspect 1995;103 (Suppl 6):191-6.
4. Bellinger DC. Lead. Pediatrics 2004;113 (Suppl 4):1016-22.
5. CDC. Preventing lead poisoning in young children. Atlanta: US Department of Health and Human Services, Public Health Service, Centers for Disease Control and Prevention; 1991.
6. American Academy of Pediatrics. Lead exposure in children: prevention, detection, and management. Pediatrics 2005;116:1036-46.
7. Advisory Committee on Childhood Lead Poisoning Prevention. Low level lead exposure harms children: a renewed call for primary prevention. Atlanta: US Department of Health and Human Services, Public Health Service, Centers for Disease Control and Prevention; 2012.
8. Swaddiwudhipong W, Tontiwattanasap W, Khunyotying W, Sanreun C. Blood lead levels among rural Thai children exposed to lead-acid batteries from solar energy conversion systems. Southeast Asian J Trop Med Public Health 2013;44:1079-87.
9. Swaddiwudhipong W, Kavinum S, Papwijitsil R, Tontiwattanasap W, Khunyotying W, Umpan J, et al. Personal and environmental risk factors significantly associated with elevated blood lead levels in rural Thai children. Southeast Asian J Trop Med Public Health 2014;45:1492-502.
10. Department of Health, Thailand Ministry of Public Health. Maternal and child health records: growth standards for weight and height for Thai children. Nonthaburi: Ministry of Public Health; 2011.
11. WHO. Worldwide prevalence of anemia, 1993-2005. Geneva: World Health Organization; 2008.
12. WHO. Guidelines for drinking-water quality, 4th ed. Geneva: World Health Organization; 2017.
13. Neesanan N, Kasemsup R, Ratanachuaeg S, Kojaranjit P, Sakulnoom K, Padungtod C. Preliminary study on assessment of lead exposure in Thai children aged between 3-7 years old who live in Umphang district, Tak Province. J Med Assoc Thai 2011;94 (suppl):113-20.
14. Wang JD, Jang CS, Hwang,YH, Chen ZS. Lead contamination around a kindergarten near a battery recycling plant. Bull Environ Contam Toxicol 1992;49:23-30.
15. Ruangkanchanasetr S, Suepiantham J. Risk factors of high lead level in Bangkok children. J Med Assoc Thai 2002;85 (suppl):1049-58.
16. Iriani DU, Matsukawa T, Tadjudin MK, Itoh H, Yokoyama K. Cross-sectional study on the effects of socioeconomic factors on lead exposure in children by gender in Serpong, Indonesia. Int J Environ Res Public Health 2012;9:4135-49.
17. Naicker N, Richter L, Mathee A, Becker P, Norris SA. Environmental lead exposure and socio-behavioural adjustment in the early teens: the birth to twenty cohort. Sci Total Environ 2012;414:120-5.
18. Gao Z, Cao J, Yan J, Wang J, Cai S, Yan C. Blood lead levels and risk factors among preschool children in a lead polluted area in Taizhou, China. Biomed Res Int 2017;2017:4934198.
19. Shakya S, Bhatta MP. Elevated blood lead levels among resettled refugee children in Ohio, 2009-2016. Am J Public Health 2019;109:912-20.