การประเมินคุณภาพของ Pooled Leukocyte Poor Platelet Concentrates ใน Platelet Additive Solution

Authors

  • พิมพ์ลดา จังคพานิชย์ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
  • ปิยวดี วิทยาวิวัฒน์ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
  • สุเพ็ญวรรณ กิติทรัพย์กาญจนา ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
  • จรรญา ปรุงชัยภูมิ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
  • จิราภรณ์ จันทอักษร ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย

Keywords:

Pooled Leukocyte Poor Platelet Concentrates, Platelet additive solution, Quality control

Abstract

บทคัดย่อ

       ความต้องการใช้เกล็ดเลือด เช่น platelet concentrates (PC), pooled leukocyte poor platelet concentrates (LPPC) และ single donor plateletpheresis (SDP) มีปริมาณเพิ่มขึ้นทุกปี การขาดแคลนเกล็ดเลือดทำให้ผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาด้วยเกล็ดเลือดตามเวลาที่สมควรและจำนวนที่เหมาะสม ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย มีความพยายามที่จะเพิ่มจำนวนผู้บริจาคเกล็ดเลือดให้มากขึ้น แต่บางครั้งยังมีการขาดแคลน เพราะเกล็ดเลือดมีอายุสั้น และต้องเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 22-24 องศาเซลเซียส โดยมีการเขย่าเบาๆ ตลอดเวลา ดั้งนั้นเพื่อที่จะแก้ปัญหานี้จึงทำการศึกษาโด ยใช้ platelet additive solution (PAS) ในการเตรียม LPPC วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินคุณภาพการผลิต LPPCโดยใช้ PAS ของบริษัทต่างประเทศ (T-PAS+) วัสดุและวิธีการ เตรียม LPPCจาก เลือดหมู่โอ จำนวน 180 ถุง โดยวิธี buffy coat method นำ buffy coat 4 units pool รวมกับ T-PAS+ ในอัตราส่วน พลาสมา 40 ส่วนต่อ T-PAS+ 60 ส่วน นำไปปั่นและบีบแยกด้วยเครื่อง plasma extractor จะได้ LPPC in T-PAS+ เก็บที่อุณหภูมิ 22-24 ºC ใน platelet incubator ที่มีการเขย่าเบาๆ ตลอดเวลา นำไปตรวจคุณภาพในวันที่ 2, 5 และ 7 ของการเตรียม โดยวัด volume, platelet count, leukocyte content, pH และ swirling phenomenon รวมทั้งหาความแรงของ anti-A และ anti-B ก่อนและภายหลังการเติม PAS ผลการศึกษา การทดสอบ ในวันที่ 2 พบว่าใน LPPC 1 ถุง มีปริมาตร307.34 ± 14.36 มิลลิลิตร ปริมาณเกล็ดเลือด 324.80 ± 73.60 × 109 เซลล์ ปริมาณเม็ดเลือดขาว 0.04 ± 0.02 × 109 เซลล์ ค่า pH 7.15 ± 0.04 และ swirling 5+ การทดสอบ ในวันที่ 5 พบว่าใน LPPC 1 ถุง มีปริมาตร 307.34 ± 14.36 มิลลิลิตร ปริมาณเกล็ดเลือด 320.82 ± 60.66 × 109 เซลล์ ปริมาณเม็ดเลือดขาว 0.04 ± 0.03 × 109 เซลล์ ค่า pH 7.25 ± 0.15 และ swirling 5+ และการทดสอบในวันที่ 7 พบว่าใน LPPC 1 ถุง มีปริมาตร 307.34 ± 14.36 มิลลิลิตร ปริมาณเกล็ดเลือด 299.17 ± 54.38 × 109 เซลล์ ปริมาณเม็ดเลือดขาว 0.03 ± 0.01 × 109 เซลล์ ค่า pH 7.26 ± 0.1 และ swirling 5+ สำหรับความแรงของ anti-A และ anti-B ใน LPPC ภายหลังการเติม T-PAS+ พบว่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤ 0.05) สรุป การประเมินคุณภาพของ LPPC in T-PAS+ พบว่าปริมาณเกล็ดเลือด ปริมาณเม็ดเลือดขาว ค่า pH และ swirling อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติตลอดระยะเวลา 7 วัน ที่ทำการศึกษา ดังนั้น T-PAS+ สามารถนำมาใช้ในการเตรียม LPPC ได้

Abstract:
            The demand of platelets included platelet concentrates (PC), pooled leukocyte poor platelet concentrates (LPPC) and single donor plateletpheresis (SDP) increases every year. The platelet shortage causes ineffective suitable time and dosage for patient treatment. National Blood Centre, Thai Red Cross Society tries to increase platelet donors but still shortage occurs because the limited shelf life of platelet storage and its need to preserve at 22-24 ºC with constant agitation. To solve this problem, the implementation of platelet additive solution (PAS) to replace plasma in Pooled Leukocyte Poor Platelet Concentrates (LPPC) to extend shelf life is needed. Objective: To evaluate the quality of LPPC in imported commercial PAS. Materials and Methods: One hundred and eighty units of LPPC prepared from buffy coat method were studied. Buffy coat from 4 units were pooled, added with 40:60 ratio of fresh plasma and T-PAS+, centrifuged and pressed by plasma extractor. LPPC in T-PAS+ were preserved at 22-24 ºC with constant agitation in platelet incubator. At day 2, 5 and 7 of preparation, the tests for volume, platelet count, leukocyte content, pH, swirling phenomenon were performed. Anti-A and anti-B titration of LPPC were preformed before and after adding T-PAS+. Results: The testing results at day 2 were volume 307.34 ± 14.36 mL, platelet count 324.80 ± 73.60 × 109per bag, leukocyte count 0.04 ± 0.02 × 109 per bag, pH 7.15 ± 0.04 and swirling phenomenon 5+.The testing results at day 5 were volume 307.34 ± 14.36 mL, platelet count 320.82 ± 60.66 × 109 per bag, leukocyte count 0.04 ± 0.03 × 109 per bag, pH 7.25 ± 0.15 and swirling phenomenon 5+. The testing results at day 7 were volume 307.34 ± 14.36 mL, platelet count 299.17 ± 54.38 × 109 per bag, leukocyte count 0.03 ± 0.01 × 109 per bag, pH 7.26 ± 0.01 and swirling phenomenon 5+. Anti-A and anti-B titer of LPPC after added T-PAS+ were significantly decreased (p<0.05). Conclusion: The testing results of LPPC in T-PAS + showed that platelet count, leukocyte count, pH, and swirling phenomena were within standard range throughout the 7-day study period. Therefore, T-PAS + could be used in the preparation of LPPC.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2018-03-16

Issue

Section

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original article)