การประเมินผลเครื่องเขย่าผสมเลือดในถุงบรรจุเลือดบริจาคที่ผลิตขึ้นเองเพื่อใช้ในงานรับบริจาคโลหิต
Keywords:
Donor blood collection, Blood mixer, Total blood volumeAbstract
บทคัดย่อ
การรับบริจาคโลหิตจะต้องมีการผสมเลือดเข้ากับสารกันเลือดแข็งในถุงบรรจุเลือด และปริมาตรเลือดที่เจาะเก็บจะต้องมีอัตราส่วนที่เหมาะสมกับสารกันเลือดแข็ง การผสมเลือดเข้ากับสารกันเลือดแข็งและหยุดเลือดไม่ให้ไหลเข้าถุงบรรจุเลือดพร้อมกับมีสัญญาณเตือนเมื่อได้ปริมาตรตามที่กำหนด สามารถทำได้ด้วย เครื่องเขย่าผสมเลือดในถุงอัตโนมัติ แต่เครื่องดังกล่าวมีราคาแพงมากไม่สามารถจัดหามาให้เพียงพอได้ การไม่มีเครื่องเขย่าผสมเลือดในถุงอัตโนมัติใช้ จะใช้เจ้าหน้าที่ผู้รับบริจาคเลือดเขย่าถุงเลือดเป็นระยะๆ บางครั้งการเขย่าของเจ้าหน้าที่ไม่สม่ำเสมอทำให้เกิดก้อนลิ่มเลือดในถุงเลือด และการที่ไม่สามารถบอกปริมาตรเลือดที่เจาะทำให้เลือดแต่ละถุงมีปริมาตรที่แตกต่างกันมาก วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินผลเครื่องเขย่าผสมเลือดในถุงที่พัฒนาขึ้นใช้เองโดยใช้การพองตัวของถุงเลือดเป็นตัวกำหนดปริมาตรเลือด วัสดุและวิธีการ ตัวเครื่องทำจากวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่นและให้มีการเขย่าผสมเลือดในถุงได้ 3 วิธี คือใช้ไฟฟ้ากระแสสลับผ่านใช้ไฟฟ้ากระแสตรงจากแบตเตอรี่ หรือ แบบไม่ใช้ไฟฟ้า ซึ่งทั้ง 3 วิธีจะทำให้ปลายกล่องรองรับถุงเลือดยกขึ้น-ลงมีการผสมเข้ากันระหว่างเลือดกับสารกันเลือดแข็ง เมื่อถุงเลือดพองตัวได้ขนาดตามที่กำหนดจะไปดันสวิทซ์ไฟชุดสัญญาณเสียงให้ครบวงจรจะเกิดเสียงเตือนขึ้น ผลการศึกษา จากการทดสอบการใช้งานเครื่องเขย่าผสมเลือดในถุงที่พัฒนาได้ พบว่าเครื่องมีการเขย่าผสมเลือดในถุงโดยปลายกล่องรองรับถุงเลือดยกขึ้นประมาณ 15 องศา และเอียงลงประมาณ 10 องศา ในอัตราเร็วประมาณ 20 รอบ/นาที เมื่อนำไปทดสอบใช้งานจริงกับถุงบรรจุเลือดขนาด 350 มิลลิลิตรและ 450 มิลลิลิตรอย่างละ 100 ถุง พบว่าได้ปริมาตรเลือดอยู่ในช่วงยอมรับได้ตามเกณฑ์มาตรฐานของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย จากการดูสีพลาสมาไม่พบการแตกทำลายของเม็ดเลือดแดงและไม่พบข้อร้องเรียนว่ามีก้อนลิ่มเลือดในถุงเลือดในระหว่างการให้เลือดแก่ผู้ป่วย จากการคำนวณค่าใช้จ่ายพบว่าใช้งบประมาณเพียง 7,500 บาท ซึ่งสามารถลดค่าใช้จ่ายในการซื้อเครื่องมือจากต่างประเทศประมาณ 15 เท่า สรุป เครื่องเขย่าผสมเลือดและควบคุมปริมาตรเลือดในถุงที่พัฒนาขึ้นครั้งนี้ สามารถนำไปใช้ในงานรับบริจาคโลหิตได้จริง สามารถเก็บโลหิตได้ตามมาตรฐานเกณฑ์กำหนด แต่อย่างไรก็ตามควรมีการทดสอบเพิ่มเติมถ้าจะนำไปใช้กับถุงบรรจุโลหิตของบริษัทอื่น
Abstract:
During the collection of donor blood, the blood from donor vein must be adequately mixed with the anticoagulant in blood bag. Mixing blood can be done by automatic mixing apparatus which includes final volume stopping blood flow and alarming function. However, the cost of commercial automatic apparatus is too expensive to purchase, so manually mixing is applied widely. When manual mixing by staff is not property done, small blood clot occurs. Moreover, not being able to measure the blood volume results in different volumn in each bag. Objective: This study aimed to evaluate an in-house blood mixing apparatus with the volume of blood in each bags. Materials and Methods: The apparatus is made from local materials and provides three mechanisms to mix the blood. The machanisms utlize electric power from alternating current (AC), direct current from a battery (DC), and without electric power. All of the mechanisms allow the bag container to lift the bag up and down to mix the blood with the anticoagulant. When the bag expands to the certain size, it pushes the switch to set off the alarm. Results: All of the three mechanisms operate to move the blood bag container up for 15° and down 10° at 20 rpm. When applying to 350 ml. and 450 ml.bags, 100 each, of Terumo Thailand brand, it was found that the collected blood volume was in an acceptable range, according to the National Blood Centre standard (Thai Red Cross). There was no hemolysis and no complaining of blood clot following transfusion to recipient. The calculated cost of these mechanisms was only 7,500 THB which was 15 times less expensive. Conclusion: The developed in-house blood bag mixer is practical and provides standard blood collection. However, more testing should be conducted when applying the mixer to bags of other brands.