การนำวิธี Real-time PCR มาใช้สำหรับการตรวจชนิดเอชแอลเอในผู้บริจาคอวัยวะสมองตาย

Authors

  • ธมลวรรณ ทัพมงคล ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย
  • ศรีประไพ ขนุนทอง ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
  • พัชรินทร์ บุญปกครอง ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
  • อารยา ตัตวธร ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
  • อ้อยทิพย์ ณ ถลาง บัณฑิตศึกษา คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ยุวดี อรรถจารุสิทธิ์ ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย
  • วิศิษฏ์ ฐิตวัฒน์ ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย

Keywords:

HLA, Real-time PCR, Deceased donors, Kidney transplant

Abstract

บทคัดย่อ

         ความเป็นมา การตรวจหาแอนติเจนเม็ดโลหิตขาว (human leukocyte antigen, HLA) ในผู้บริจาคไตสมองตายนิยมใช้วีธีพีซีอาร์ (polymerase chain reaction, PCR) เช่น PCR-sequence specific primers (PCR-SSP) ซึ่งมีขั้นตอนและใช้เวลาในการเตรียมน้ำยา และอุปกรณ์ในขั้นตอนหลังปฏิกิริยา PCR (post PCR) ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาการตรวจด้วยวิธี real-time PCR ในการทดสอบ HLA typing ซึ่งมีข้อดีคือ ได้ผลการตรวจวิเคราะห์รวดเร็วกว่าวิธี conventional PCR วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินการทดสอบ commercial real-time PCR สำหรับการตรวจ HLA typing ในผู้บริจาคไตสมองตาย วัสดุและวิธีการ ใช้ตัวอย่างจำนวน 47  รายที่ได้จากการทดสอบความชำนาญซึ่งทราบผลการตรวจอัลลีล HLA แต่ละ locus ด้วยวิธี PCR-SSP, PCR-sequence specific oligonucleotide probe (PCR-SSO) และ/หรือ sequence-based typing (SBT) เปรียบเทียบกับผลการตรวจ HLA-A, -B, -C, -DRB1, -DRB3/4/5, -DQB1 และ HLA-DPB1 ด้วยวิธี real-time PCR โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษา จากการเปรียบเทียบผล HLA typing พบว่า ผล HLA typing ทั้ง HLA-A, -B, -C, -DRB1, -DRB3/4/5, -DQB1 และ -DPB1 ด้วยวิธี real-time PCR กับ PCR-SSP, PCR-SSO และ/หรือ SBT มีความสอดคล้องกัน 97.9% โดยพบปัญหาการแยกชนิดระหว่าง HLA-B*15:02 และ HLA-B*15:25 ใน 1 ตัวอย่าง ซึ่งเมื่อตรวจด้วยวิธี PCR-SSO พบว่าเป็น B*15:02 ซึ่งตรงกับวิธี PCR-SSP แต่วิธี real-time PCR ใช้เวลาในการตรวจน้อยกว่าวิธี PCR-SSP ถึง 2 เท่า และขั้นตอนการแปลผลใช้โปรแกรมสำเร็จรูปจึงสะดวกในการสรุปผล  สรุป การศึกษานี้ได้ตรวจอัลลีล HLA ด้วยวิธี real-time PCR ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบผลกับวิธีพีซีอาร์ชนิดอื่น สามารถรายงานผลการตรวจได้ถูกต้อง แม่นยำ แต่อาจมีข้อจำกัดที่ไม่สามารถแยกอัลลีลของ HLA-B*15 บางชนิด ดังนั้นการใช้วิธี real-time PCR จะช่วยลดขั้นตอน และเวลาในการทดสอบจึงประยุกต์ใช้กับการตรวจ HLA typing ในผู้บริจาคไตสมองตายได้ต่อไป

Abstract:

          Background: The polymerase chain reaction-sequence specific primers (PCR-SSP) is currently used to type human leukocyte antigen (HLA) in deceased donors. This technique requires multiple steps and is time consuming due to post PCR process. Currently, the real-time PCR technique which has faster turn-around time has been applied for HLA typing. Objective: To evaluate the use of commercial real-time PCR assay for HLA typing in deceased donors. Material and Methods: Altogether, 47 samples from proficiency testing that had previously been HLA typed for each locus by PCR-SSP, PCR-sequence specific oligonucleotide probe (PCR-SSO) and/or sequence-based typing (SBT) techniques were included. Previous HLA results (HLA-A, -B, -C, -DRB1, -DRB3/4/5, -DQB1 and -DPB1) were compared with real-time PCR assay by descriptive statistics. Results: The comparison of HLA typing results (HLA-A, -B, -C, -DRB1, -DRB3/4/5, -DQB1 and -DPB1) from real-time PCR versus PCR-SSP, PCR-SSO and/or SBT showed 97.9% concordance. The inability to differentiate between HLA-B*15:02 (75) and HLA-B*15:25 (62) by real-time PCR assay was detected in one example and the confirmation result by PCR-SSO was B*15:02, identical to the PCR-SSP result. Interestingly, test time of the real-time PCR was 2 times less than PCR-SSP. The software program was used to analyze HLA typing results. Conclusion: HLA typing using real-time PCR could provide accurate results compared with other PCR techniques. The limitation of differential detection in some HLA-B*15 was found. Therefore, the real-time PCR for HLA typing could provide less test steps and time consuming, which can be implemented in deceased kidney donor typing.

 

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2017-09-29

Issue

Section

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original article)